ต่างปลูก ต่างแปลง
ผลงานการสะท้อนคิดผ่านงานออกแบบชิ้นงานรูปแบบต่าง ๆ โดยนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ จุฬาลงกรณ์ นำเสนอการให้ความรู้เรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร ที่ผู้บริโภคต้องมีความรู้เกี่ยวกับอาหารที่เราบริโภคเข้าไปว่ามีวัตถุดิบประกอบด้วยอะไร การผลิตด้วยวิธีใด มีสารตกค้างหรือไม่ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค และนำเสนอทางเลือกให้กับผู้บริโภคด้วยเกษตรอินทรีย์ที่มีกระบวนการทางธรรมชาติ ปลูกด้วยธรรมชาติ ไม่ปนเปื้อนสารเคมี
ซุปเปอร์มาเก็ต
เพราะเชื่อว่าเกษตรอินทรีย์เป็นคำตอบของความสุขที่ยั่งยืน ดังนั้นการให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์แก่ผู้บริโภค และการปลูกกับการผลิตที่ปราศจากสารเคมีนั้น จะทำให้ผู้บริโภคไม่เจ็บป่วย มีอาหารและสุขภาพที่ดี นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้สะท้อนความคิดประเด็นนี้ออกมาเป็นงานนิทรรศการชื่อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต กระตุ้นเตือนให้คนได้เห็นว่า สิ่งที่แฝงมากับอาหาร บางอย่างเราไม่เห็น จึงคิดว่าไม่มี
กลไกและกติกาการจัดการที่ดินภาคเกษตรกรรมของลาวในบริบทของจินตนาการใหม่
งานวิจัยศึกษาระบบการจัดการที่ดินของประเทศลาว ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ปี 1975 ที่ลาวเปลี่ยนจากระบบสังคมนิยม เข้าสู่เศรษฐกิจเสรีเต็มตัวในแนวทางที่เรียกว่า 'นโยบายจินตนาการใหม่' ส่งผลการเปลี่ยนแปลงต่อหนึ่งในทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่ายิ่งของประเทศ การศึกษานี้จะเข้าไปมุ่งศึกษาในทุกกระบวนการจัดการที่ดินของประเทศลาว ในสถานการณ์อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงนี้
สังคมไทยต้องสูญเสียอะไร หากไม่ปฏิรูปที่ดิน
งานวิจัยศึกษาเรื่องของการจัดการที่ดินกับความเป็นธรรมในสังคม ศึกษากรณีเกษตรกรในพื้นที่ภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะศึกษาระบบแนวคิดและปฏิบัติการการใช้ 'โฉนดที่ดินชุมชน' อันเป็นมาตรการที่ชุมชนร่วมพลังกันนำมาต่อรองและรักษาพื้นที่ของชุมชนเอาไว้จากภาครัฐและนายทุน
การสูญเสียที่ดินของเกษตรกรภายใต้ระบบสินเชื่อของสถาบันการเงิน
ถอดบันทึกการสัมมนาวิชาการเรื่องการสูญเสียที่ดินของชาวนาภายใต้ระบบสินเชื่อของสถาบันการเงิน ท่ามกลางสถานการณ์ที่เกษตรกรไทยกว่า 70% ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาการนำที่ดินไปกู้แปลงเป็นทุน หลังจากนั้นไม่สามารถใช้หนี้ได้ ทำให้ที่ดินจำนวนมากหลุดจำนองให้กับธนาคารซึ่งกลายเป็นเจ้าของที่ดินรายใหญ่ของประเทศ การสัมมนาครั้งนี้ สะท้อนแนวคิดจากหลากหลายมิติ ทั้งชาวนา ธนาคาร กรมบังคับคดี ตัวแทนชุมชน ฯลฯ นำสู่การแก้ไขปัญหานี้อย่างรอบคอบและเป็นธรรมสำหรับทุกฝ่าย
รายงานวิจัยภาวะหนี้สินกับการสูญเสียที่ดินของเกษตรกรรายย่อย จังหวัด อ่างทอง
ศึกษากรณีการสูญเสียที่ดินของเกษตรกรไทยที่มีที่มาจากปัญหาหนี้นอกระบบ ศึกษาจากกลุ่มเกษตรกร จ.อ่างทอง วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้มีการสะท้อนและทบทวนปัญหาและทางแก้ไขหนี้นอกระบบกับปัญหาการสูญเสียที่ดิน ซึ่งผลักดันให้เกษตรกรยากจนและกลายเป็นเพียงผู้ใช้แรงงาน ขณะเดียวกันก็เพื่อให้สังคมได้รับรู้ เรียนรู้ และช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหานี้ร่วมกันอย่างยั่งยืน
รายงานการศึกษา กระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรกรณีศึกษาสภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย
ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรไทยเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน ต้องการแนวทางการแก้ไขที่เป็นกระบวนการที่ยั่งยืน งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกาา "กระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร กรณีศึกษาสภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย" เพื่อเป็นการถอดบทเรียนความสำเร็จตัวอย่างจากเกษตรกรในเครือข่ายที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ อันจะเป็นองค์ความรู้สำคัญในการต่อยอดเพื่อสร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรที่ยั่งยืนต่อไป
รายงานการศึกษา เรื่องการสูญเสียที่ดินของเกษตรกรจากปัญหาหนี้นอกระบบ
สถานการณ์การสูญเสียที่ดินทำกินของเกษตรกรเป็นปัญหาใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ สาเหตุหนึ่งเกิดจากปัญหาหนี้สินที่รุมเร้าเกษตรกรไทย งานวิจัยชิ้นนี้ของมูลนิธิไทชีวิตไท มุ่งเน้นที่จะหาคำตอบเชิงความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นหนี้สินนอกระบบกับปัญหาการสูญเสียที่ดิน นอกจากนี้ยังเป็นการหาสาเหตุที่แท้จริงของการเป็นหนี้ของเกษตรกรพร้อมกับหาหนทางแก้ไขให้ได้ตรงจุดอย่างแท้จริง