สุขภาพคนไทย 2565
รายงานสุขภาพคนไทยปี 2565 ในวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมสุขภาพกาย สุขภาพจิต การศึกษา ชีวิตการทำงาน เศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำในสังคมชุมชนและครอบครัวในแง่มุมต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยในระยะสั้นและระยะยาว นอกเหนือจากรายงานผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตโควิด-19 แล้วก็ยังมีอีก 10 สถานการณ์เด่นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตสุขภาพกายของคนไทยที่เป็นทั้งเรื่องใหม่และที่ยังรอการแก้ไข เช่น การปลดล็อกกัญชา กัญชงและพืชกระท่อม การโฆษณาอาหารเสริมเกินจริง โรงงานหมิงตี้ระเบิดบทเรียนภัยพิบัติจากโรงงานสารเคมี ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากและการปรับตัว อนาคตเกษตรไทยกับเกษตรอัจฉริยะ ไทยกับ RECP และ CPTPP ข้อดีและสิ่งที่ต้องระวังและสุดท้ายเรื่องการเมืองบนท้องถนนกับทางออก ซึ่งรายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นต่อไป
เที่ยวนี้ดี
เปลี่ยนวิถีการเที่ยวครั้งใหม่ ให้ดีต่อใจ ดีต่อกาย และดีต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการเที่ยววิถีอินทรีย์ที่เชื่อมโยงอย่างผู้คนในระบบการท่องเที่ยว ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้คุณค่าของเกษตรอินทรีย์ ที่ไม่ได้ให้แค่สุขภาพดีอย่างเดียว แต่ช่วยยกระดับคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้นด้วย
มีใบไหม รู้จัก PGS ระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
ทำไมต้องมี PGS เพราะระบบการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานอิสระจากภายนอก เช่น IFOAM หรือ มกอช. (มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ Organic Thailand) นั้น มักจะมีระเบียบข้อกำหนดที่ค่อนข้างเข้มงวด สลับซับซ้อน และอาจไม่เหมาะกับเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์เพื่อขายในท้องถิ่นหรือเกษตรกรรายย่อย ทาง IFOAM จึงได้มีการพัฒนาระบบการรับรอง Participatory Guarantee System (PGS) ที่สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตและชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดข้อตกลงที่เหมาะสมกับเกษตรกรในพื้นที่ แต่ก็ยังมีตรวจสอบกระบวนการผลิตเป็นประจำ ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ถึงความปลอดภัย ขณะที่เกษตรกรรายย่อยก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอินทรีย์ได้เช่นกัน
ข้าวin3 ดียังไง โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สะท้อนให้สังคมเห็นคุณค่าของการรับประทานข้าวอินทรีย์ที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อร่างกาย
ต่างปลูก ต่างแปลง
ผลงานการสะท้อนคิดผ่านงานออกแบบชิ้นงานรูปแบบต่าง ๆ โดยนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ จุฬาลงกรณ์ นำเสนอการให้ความรู้เรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร ที่ผู้บริโภคต้องมีความรู้เกี่ยวกับอาหารที่เราบริโภคเข้าไปว่ามีวัตถุดิบประกอบด้วยอะไร การผลิตด้วยวิธีใด มีสารตกค้างหรือไม่ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค และนำเสนอทางเลือกให้กับผู้บริโภคด้วยเกษตรอินทรีย์ที่มีกระบวนการทางธรรมชาติ ปลูกด้วยธรรมชาติ ไม่ปนเปื้อนสารเคมี
ซุปเปอร์มาเก็ต
เพราะเชื่อว่าเกษตรอินทรีย์เป็นคำตอบของความสุขที่ยั่งยืน ดังนั้นการให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์แก่ผู้บริโภค และการปลูกกับการผลิตที่ปราศจากสารเคมีนั้น จะทำให้ผู้บริโภคไม่เจ็บป่วย มีอาหารและสุขภาพที่ดี นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้สะท้อนความคิดประเด็นนี้ออกมาเป็นงานนิทรรศการชื่อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต กระตุ้นเตือนให้คนได้เห็นว่า สิ่งที่แฝงมากับอาหาร บางอย่างเราไม่เห็น จึงคิดว่าไม่มี
ข้าวคร่าว
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept : “ข้าว” เป็นอาหารหลักของคนไทย แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้าวที่เราบริโภคนั้นปลอดภัย “มอดในข้าว” ที่มักถูกผู้คนรังเกียจจะให้คำตอบกับเราได้ นิทรรศการหัวข้อเรื่อง “ข้าวคร่าว” จะนำผลการทดลองมาจัดแสดง เพื่อให้ผู้ชมรู้ว่ามอดมาจากไหน มีอันตรายหรือไม่ และมอดมีความเชื่อมโยงอย่างไรกับข้าวอินทรีย์ หรือข้าวเจือปนสารเคมี ซึ่งจะทำให้ผู้ชมรับรู้ เข้าใจและตระหนักถึงที่มาของข้าวที่รับประทานอยู่ทุกวัน เห็นคุณค่าของวิถีการเกษตรแบบดั้งเดิม รวมถึงส่งต่อความสนใจและตั้งคำถามต่อข้อมูลที่ได้รับไปค้นคว้าต่อไป
การร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาโรงเรียนบ้านเค็ง จังหวัดศรีสะเกษ
พาไปเรียนรู้การร่วมมือของชุมชนจากกรณีตัวอย่างโรงเรียนบ้านเค็ง จ.ศรีสะเกษ เป็นโรงเรียนที่อยู่พื้นที่แห้งแล้ง ห่างไกลความเจริญ ทางโรงเรียนและชุมชนจึงได้ร่วมมือกันโดยนำเกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียงมาพัฒนาการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ในโรงเรียน การเชื่อมโยงความช่วยเหลือจากนักศึกษา ม.ราชภัฏศรีสะเกษ และชุมชน จนทำให้โรงเรียนทำได้สำเร็จและขยายต่อเป็นองค์ความรู้ไปยังหมู่บ้านข้างเคียงต่อไปด้วย