คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2562
ผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชนกว่า 15,000 คน เมื่อต้นปี 2562 โดย สสส. ร่วมกับศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ พบว่าเด็กส่วนใหญ่ยอมรับในประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต โดยมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บแล็ตเป็นส่วนใหญ่ในอัตรา 83% ซึ่งใช้เพื่อความบันเทิงและพักผ่อน เป็นเวลา 6-7 ชั่วโมงต่อวัน และ 3 ชั่วโมงต่อวันในการเล่นเกม โดยมีเด็กเชื่อว่าตนเองสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เมื่อประสบภัยออนไลน์ได้ 54% รวมถึงสามารถช่วยเหลือเพื่อนได้ 86% อย่างไรก็ตามในโลกยุคดิจิทัลภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ตและมิจฉาชีพมีมาอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนารูปแบบที่น่ากลัวขึ้นอยู่เสมอ เด็ก ๆ จึงต้องรู้เท่าทันภัยบนโลกออนไลน์ พ่อแม่จึงเป็นส่วนสำคัญในการมีบทบาทเลี้ยงลูกด้วยความรัก รับฟังลูกให้มากขึ้น หากิจกรรมใหม่ๆ ที่เพิ่มทักษะชีวิตให้เด็กทดแทนการติดเกม เล่นมือถือ และไม่ถ่ายรูปลูก แชร์ทางอินเทอร์เน็ต เพราะนั้นนับเป็นการละเมิดสิทธิ์เด็กและยังทำให้เด็กไม่ปลอดภัย หนังสือ “แนวทางการปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์” จึงเป็นคู่มือเลี้ยงลูกฉบับยุคดิจิทัลที่พ่อแม่ และผู้ปกครองควรมีไว้ประจำกาย
GIVE MORE (กระเป๋าผ้าห่ม) เกมบันไดความดี โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
เกมบันไดงูที่ถูกพัฒนามาให้กลุ่มเด็กเร่ร่อนได้เล่น ตามเส้นทางการเล่นจะมีข้อเตือนใจเด็กๆได้ฉุกคิด
Mongi Day Challenge แคมเปญท้าขยับ กับมิชชันเพื่อสุขภาพ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร
จากพฤติกรรมของนักเรียนที่เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันใช้ไปกับเทคโนโลยี หรือสื่อ Social ต่างๆ จนเกิดเป็นพฤติกรรมเฉื่อยนิ่ง ไม่ค่อยออกไปทำกิจกรรมที่ได้ขยับร่างกาย จึงคิดออกมาเป็นเกมบน Mobile website ที่ทำให้เด็กได้ทำกิจกรรมขยับร่างกาย หรือออกไปทำกิจกรรมต่างๆในแต่ละวัน เพื่อแลกกับของรางวัล
บอร์ดเกม เกมสิทธิ - เกมชุมชน โดย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept : ปัญหาที่ดิน ที่มีมาเนิ่นนานในสังคมไทย ไม่ได้เกิดขึ้นจากนักการเมืองหรือนายทุนอย่างที่เราๆ เข้าใจกันเพียงเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องไปถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในระบบการจัดการ และกระจายทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ในที่สุดการบังคับใช้กฏหมายจึงอาจจะไม่ใช่ทางออกสุดท้ายของปัญหานี้ “เกมสิทธิ์/เกมชุมชน” จึงต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบของปัญหาที่ดินในวงกว้างผ่านการใช้ “เกมกระดาน” จะเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด และเชื้อเชิญให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้ต่อปัญหาดังกล่าวมากขึ้น อีกทั้งยกระดับความรู้ให้ผู้ชมได้ตระหนักถึงแนวทางการป้องกันชุมชนและทรัพยากรของตน ผ่านการเรียนรู้สิทธิชุมชน ซึ่งเป็นสิทธิที่ประชาชนชาวไทยทุกคนพึงมี เพราะเราไม่รู้ว่า เมื่อใดความไม่เป็นธรรมจะเกิดขึ้นกับเราหรือชุมชนของเรา
ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องต่อมาตรการในการกำกับดูแล ป้องกัน เด็กและเยาวชน ที่เข้าร่วมแข่งขัน เล่นวิดีโอเกม เกมออนไลน์เพื่อแข่งขันชิงเงินรางวัล eSports อย่างปลอดภัยและรู้เท่าทัน
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ว่าด้วยประเด็นเรื่องนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล ป้องกันเด็กและเยาวชนจาก eSports หรือการแข่งขันเล่นวิดีโอเกมผ่านเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งกำลังเป็นกระแสนิยมในกลุ่มเด็กและเยาวชนยุคดิจิทัล โดยให้คุณค่าเทียบเท่ากับการเล่นกีฬา ในขณะที่ความจริงอีกด้านกระแสดังกล่าวอาจกำลังผลักให้เด็กที่ไม่รู้เท่าทันกลายเป็นเด็กติดเกม ที่มีปัญหาด้านสุขภาพต่อไปในอนาคต งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้ทำการศึกษาประเด็นกังวลเหล่านี้ ผ่านการสำรวจจากเอกสาร งานวิจัย รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับ eSports ในหลายหลายมิติ ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายให้ได้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการกำกับดูแลเยาวชนให้ปลอดภัยและรู้เท่าทัน
ตลาดเด็กในยุคดิจิตอล
การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีเคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ของเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี ในสหรัฐอเมริกา พบว่าเด็กอายุเฉลี่ยระหว่าง 5 - 8 ปี เป็นกลุ่มที่ใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ถึงร้อยละ 54 ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เพื่อเล่นเกมมากที่สุด ถึงร้อยละ 77 รองมาเป็นการศึกษา และหาข้อมูลท่องเที่ยว ร้านอาหาร และแชทกับเพื่อน
10 วิธีดูแลลูกยุคไซเบอร์
การเลี้ยงลูกในยุคไซเบอร์ ต้องเริ่มต้นที่พ่อแม่ จัดสรรหาเวลาให้ลูก ทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว เพื่อลดทอนเวลาในการติดเกมและอินเทอร์เน็ต ปลูกฝังวินัยและความรับผิดชอบให้ลูก ที่สำคัญอย่าลืมชื่นชมเมื่อลูกทำสิ่งที่ดีงาม
ลูกติดเกม เกมที่ครอบครัวต้องช่วยกันแก้
ผลสำรวจเด็กไทย “ติดเกม เล่นออนไลน์” ปี 2556 สูงถึง 2.7 ล้านคน จากเยาวชน 18 ล้านคน พบอาการเด็กติดเกม 4 ระดับ คือ แสวงหาการเล่น ชินชาการเล่น ขาดการเล่นไม่ได้ และเล่นจนเสียการทำหน้าที่หลัก ทว่าพ่อแม่สามารถแก้ไขได้ เพียงหาเวลาและกิจกรรมดี ๆ ทำร่วมกันกับลูก
แผ่นพับสำรวจตัวเองว่าติดเกมหรือไม่
หลายคนเล่นเกม เล่นเยอะ เล่นจนไม่รู้ว่าตัวเองเข้าข่ายติดเกมหรือเปล่า? ถ้าอยากได้คำตอบ ลองมาสำรวจตัวเองง่าย ๆ ด้วยแผ่นพับสำรวจตัวเองว่าเข้าข่ายติดเกมหรือไม่? ถ้าสำรวจแล้วพบว่าเข้าข่ายเป็นคนติดเกมก็อย่าเพิ่งเสียกำลังใจ มีวิธีช่วยเหลือแก้ไขอาการติดเกมเบื้องต้นมาให้ศึกษาพร้อมกันด้วยในสื่อเดียว
การ์ตูน ไซเบอร์แลนด์ แดนมหัศจรรย์
'ไซเบอร์แลนด์ แดนมหัศจรรย์' เป็น 1 ในชุดนิทานภาพและการ์ตูนชุด 'ฉลาดรู้ทันสื่อดิจิทัล' เรื่องราวการ์ตูนสนุกๆ อ่านง่ายเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมการติดหน้าจอของเด็ก ๆ ในยุคนี้ เนื้อเรื่องเป็นโลกแห่งจินตนาการ เมื่อเด็ก ๆ ที่ติดหน้าจอต้องเข้าไปติดอยู่ในโลกไซเบอร์แลนด์ แดนมหัศจรรย์ เด็ก ๆ จะออกมาจากไซเบอร์แลนด์ได้ ก็ต่อเมื่อหาคำตอบของการรู้เท่าทันในการใช้สื่อโซเชียลได้เท่านั้น
ใจดีสู้สื่อ สื่อเกม เท่าทันได้ 3May13
ใจดีสู้สื่อ ตอน สื่อเกม เท่าทันได้ พาคนดูทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไปเปิดใจสู้สื่อเกม ที่วันนี้กำลังเข้ามายึดครองพื้นที่ชีวิตของเด็กและเยาวชนไทย เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องรู้เท่าทันถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเล่นเกมมากเกินไป ทั้งต่อสุขภาพกาย ใจ สังคม รวมถึงปัญหาความรุนแรงที่เกิดจากเกม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวคนเล่นเอง ครอบครัว รวมถึงสังคมในวงกว้างด้วย
5 ลักษณะบ่งบอกว่าลูกเรากำลังติดเกม
ปัญหาเด็กติดเกมเป็นปัญหาโลกแตกของพ่อแม่ยุคดิจิทัล เด็ก ๆ ใกล้ชิดกับเกมทั้งวันทั้งคืน แล้วอาการแบบไหนบ้างที่เข้าข่ายว่าติดเกม? มารู้จักสัญญาณที่บ่งบอกว่าเด็กกำลังติดเกม เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้รู้เท่าทัน และช่วยเหลือเด็ก ๆ ได้ทันท่วงที