อ่านฉลาก อย่างฉลาด
หนึ่งในหนทางสู่การเลือกกินดี คือการรู้จักพลิกอ่านฉลากโภชนาการที่อยู่หลังซองหรือกล่องก่อนซื้อทุกครั้ง Greenery ลองถอดสูตรวิธีการอ่านตัวเลขแบบง่ายๆ ให้เอาไปใช้กันได้จริง เพื่อการเลือกกินอย่างฉลาด
คู่มือบริโภคศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
คู่มือบริโภคศึกษา ฉบับมัธยมศึกษาตอนต้น เล่มนี้ถูกออกแบบมาสำหรับผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้งานง่ายแม้เป็นผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะมีคำอธิบายขั้นตอนการสอนอย่างชัดเจน มีใบงานพร้อมใช้งาน อีกทั้งมีข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับผู้สนใจได้ทำการสอน รวมทั้งมีแบบฝึกหัดเพื่อให้ผู้สอนได้ใช้ประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละกิจกรรม การจัดทำคู่มือชุดนี้ได้มีการพัฒนาและตรวจสอบการใช้ในบริบทของการเรียนการสอนจริงมา 3 ขั้นตอน เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหาและการนำไปใช้งานจริง
เรียนรู้ทันคำโตๆของโฆษณา
ในฉลากอาหารมักมีคำโฆษณาแสดงปริมาณสารอาหาร เพื่อจูงใจการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ถ้าพบคำว่า “ปราศจากไขมัน, ปราศจากน้ำตาล” ไม่ได้แปลว่าไม่มีเลย หรือเป็น 0 แต่ยังมีอยู่น้อยกว่า 0.5 กรัม ถ้าพบคำว่า “มีคอลลาเจน หรือ ใยอาหารสูง” แสดงว่าต้องมีสารอาหารที่มีประโชยน์ต่อร่างกายไม่น้อยกว่าร้อยละ10 หรือร้อยละ 20 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน (Thai RDI)