เรียนรู้การทำขนมเทียนแก้ว จังหวัดมหาสารคาม
น้อง ๆ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จะพาเราไปรู้จักขนมเทียนแก้วขนมขึ้นชื่อและเป็นของดีของเด่นของ จ.มหาสารคาม ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สร้างสรรค์ของเครือข่ายอีสานตุ้มโฮม โดยน้อง ๆ จะพาเราไปพูดคุย ฝึกทำขนมเทียนแสนอร่อยกันที่ร้านขนมเทียนแก้ว แม่พูลศรี เป็นการเรียนรู้และสร้างสรรค์พื้นที่ดี ๆ สืบต่อภูมิปัญญาชุมชนไม่ให้หายไปกับกาลเวลา
พื้นที่สร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี-จังหวัดอุดรธานี
น้อง ๆ เยาวชนคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี เดินหน้าสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับน้องๆ ในพื้นที่ ตัวอย่างเช่นในตอนนี้ เราจะไปดูน้อง ๆ ไปทำกิจกรรมกับน้อง ๆ โรงเรียนชุมชนวังทอง เน้นประเด็นการรู้เท่าทันสื่อ ผ่านการลงพื้นที่ชุมชน เรียนรู้การทำสื่อด้วยตนเอง ทำให้น้อง ๆ ได้รู้วิธี กระบวนการผลิตสื่อ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้วิถีชุมชนวัฒนธรรมไปพร้อมกัน
ลดวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โรงเรียนอนุบาลห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
ไปดูกิจกรรมสนุก ๆ ตามแนวคิด ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่โรงเรียนอนุบาลบ้านห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ เด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรมเป็นฐาน มีการบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ ไว้ด้วยกันทั้งการทำขนมและอาหารพื้นบ้าน เพื่อเรียนรู้การทำอาชีพต่าง ๆ เด็กได้มีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างสรรค์ ทำให้เด็ก ๆ พัฒนา ลดปัญหาเรื่องการไม่กล้าแสดงออก มีความสุขกับการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
ศรีสะเกษติดยิ้ม ปี3 ตอน เรื่องกินเรื่องใหญ่
คลิปวิดีโอประมวลภาพ สรุปเรื่องราวของงานโครงการศรีสะเกษติดยิ้ม ปี 3 ตอนเรื่องกินเรื่องใหญ่ ถอดบทเรียนศรีสะเกษติดยิ้ม 3 ปี ขยายผลสู่ 8 จังหวัดเครือข่ายอีสานตุ้มโฮมในปี 2560 นอกจากจะเห็นบรรยากาศงานแล้ว ในคลิปยังมีบทสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในโครงการตั้งแต่ผู้ดูแลไปจนถึงเด็ก ๆ เยาวชนที่เป็นหัวใจหลักของโครงการ ที่มาช่วยกันสร้างสรรค์หยิบเรื่องกินให้กลายเป็นมาสื่อสร้างสรรค์ส่งต่อเรื่องดี ๆ ในชุมชน
ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน ข้าวโป่ง จังหวัด ยโสธร
เด็ก ๆ กลุ่มอีสานตุ้มโฮม จ.ยโสธร จะพาเราไปรู้จักกับ 'ข้าวโป่ง' หรือข้าวเกรียบซึ่งเป็นอาหารพื้นถิ่นของคนอีสาน เพราะคนอีสานมีอาชีพหลักคือการปลูกข้าว ในทุกฤดูหนาวข้าวจะถูกนำมาแปรรูปเป็น 'ข้าวโป่ง' แล้วเก็บไว้รับประทานได้ตลอดทั้งปี ข้าวโป่งยังทำให้ชาวบ้านมีรายได้เสริม เด็ก ๆ ได้ทานอาหารอร่อย ปลอดภัย มีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย
รายงานการวิจัย ถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนดีจังอีสานตุ้มโฮม อุดรธานี
รายงานวิจัยเชิงคุณภาพ โครงการเด็กอุดรรักษ์บ้าน เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและอุปสรรคปัญหา ที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนเครือข่าย ดีจังอีสานตุ้มโฮม ในพื้นที่เมืองอุดรธานี ภายใต้แนวคิด ๓ ดี วิถีพลเมือง ผ่านกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผลิตสื่อสร้างสรรค์และมหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ให้แก่เยาวชนและชุมชน เพื่อให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ รู้เท่าทันในการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม สร้างสรรค์สื่อให้มีประโยชน์และมีความรับผิดชอบร่วมกัน โดยใช้ภูมิปัญญาของทุกฝ่ายในชุมชน สร้างความตระหนักรักในศิลปวัฒนธรรมและคุณค่าในภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งยังส่งเสริมให้แกนนำเยาวชนนักสื่อสาร มีจิตอาสาเพื่อชุมชนอีสาน มีความรับผิดชอบและความเข้าใจในงานที่ทำ เพื่อพัฒนาเป็นนักสื่อสารมวลชนที่มีคุณภาพต่อไป
รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย
รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย เป็นการศึกษาในโครงการอีสานตุ้มโฮม เพื่ออธิบายถึงกลไก กระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ที่ได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็กและ เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย มีองค์ประกอบสำคัญคือ ต้นแบบแนวคิด 3 ดี : สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยใช้แนวคิดพลเมืองประชาธิปไตยและแนวคิดการสื่อสารสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน ครอบครัว คนในชุมชน รวมทั้งเครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งมีเยาวชนเป็นแกนหลักสำคัญในการดำเนินการ เพื่อนำสู่การการเปลี่ยนแปลงภายในในชุมชนที่ดีขึ้น สามารถขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียงต่อไป
สื่อศิลปวัฒนธรรมสู่มหาลัยภูมิปัญญาแห่งอีสาน
“คู่มือการใช้สื่อศิลปวัฒนธรรม สร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน” โดย เครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน เป็นการถอดแบบบทเรียนกระบวนการการทำงานของ 9 เครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน ที่ได้ดำเนินการแบบแยกส่วนอยู่ในหลายพื้นที่ในภาคอีสาน ทั้งจังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม นครราชสีมา เลย สุรินทร์ และศรีสะเกษ ซึ่งทั้ง 9 เครือข่ายนี้ ได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ โดยการนำสื่อศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าสู่ชุมชน ทั้งละคร หมอลำ หนังประโมทัย การทอผ้า ดนตรี กันตรึม ผญา และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเป็นการฟื้นฟู เยียวยา กล่อมเกลา สร้างสรรค์และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในภาคอีสาน อีกทั้งสร้างสำนึกรักภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์ความรู้สำคัญให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ เพื่อนำมาปรับใช้พัฒนาบ้านเกิดของตนเองต่อไป
สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ขอนแก่น
สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ต.ท่าพระ จ.ขอนแก่น สนับสนุนให้น้องๆ ผลิตสื่อสร้างสรรค์ที่หลากหลาย เพื่อให้น้องๆ เกิดความรัก และความผูกพันกับชุมชน