Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "อินโฟกราฟฟิก" พบ 332 ข้อมูล

แฉยาลดความอ้วน

ยาลดความอ้วน ไม่ใช่ตัวช่วยให้ผอมสวย เพราะในยาลดความอ้วนแฝงไปด้วยสารอันตราย การที่น้ำหนักตัวลด ไม่ใช่การย่อยสลาย หรือดักไขมัน  แต่เป็นฤทธิ์ของยาขับปัสสาวะและยาดักไขมัน ที่เพียงแต่ขับน้ำ ทำให้เราถ่ายเหลว และผายลมบ่อย ส่วนการที่เราไม่อยากอาหาร เพราะฤทธิ์ไทรอยด์ฮอร์โมน และอนุพันธ์ของยาบ้า ที่กระตุ้นประสาท และยับยั้งความอยาก ถ้าได้รับปริมาณมากจะทำให้เราซึมเศร้า นอนไม่หลับ ใจสั่น กระวนกระจายใจ ร้ายแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตด้วยหัวใจวายเฉียบพลัน  

นอนดึกอ้วนแถมเตี้ย

การนอนดึก นอกจากทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอแล้ว ยังเป็นสาเหตุสำคัญในการทำให้คนเราอ้วนและเตี้ยได้ เพราะโกรทฮอร์โมน (Growth Homrmone) ที่ช่วยในการเจริญเติบโตจะลดลง ในขณะที่ฮอร์โมนเกี่ยวกับการอยากอาหารและของหวานจะเพิ่มสูงขึ้น

9 สิ่งที่ห้ามโพสต์ลงโซเชียล

ปัจจุบันโซเชียลมีเดียได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการติดต่อสื่อสารของคนส่วนใหญ่ในสังคม การที่เราคุ้นเคยกับการใช้สื่อเหล่านี้เป็นประจำอาจทำให้เราละเลยเรื่องความปลอดภัยของเราไป 9 สิ่งที่ห้ามโพสต์ลงโซเชียล เช่น บัตรประจำตัวประชาชนที่สามารถนำไปปลอมแปลงหรือใช้ทำธุรกรรมทางการเงินได้ ตั๋วเครื่องบินที่มีข้อมูลส่วนตัว ภาพวาบหวิว เช็คอินสถานที่ที่ระบุตำแหน่งที่พักอาศัย ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ภาพถ่ายบุตรหลาน ข้อความโจมตีผู้อื่นซึ่งเข้าข่ายหมิ่นประมาทและมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อีกทั้งข้อความว่ากล่าวองค์กรและข้อความดราม่า เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและป้องกันผลเสียที่อาจย้อนกลับมากระทบชีวิตของได้เราในภายหลัง

5 โรคฮิตจากโซเชียลมีเดีย

ยุคโซเชียลมีเดีย พบ 5 โรคฮิตที่ควรระวัง ทั้งโรคซึมเศร้า โรคละเมอแชท (Sleep-Texting) โรควุ้นในตาเสื่อม โรคโนโมโฟเมีย (Nomophobia) กลัวการไม่มีมือถือ และโรคสมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face) การก้มมองและจ้องจอมากเกินไป ทั้งหมดนี้บำบัดได้ ขอเพียงเปิดใจยอมรับ ควบคุมเวลาเล่น และหางานอดิเรกอื่นๆ ทำ

อันตรายจากปีศาจร้ายโลกไซเบอร์

เทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ช่วยให้การติดต่อสื่อสารและการทำธุรกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วทันใจ แต่ในข้อดีของความสะดวกรวดเร็วนั้น ก็มีข้อเสียและภัยร้ายที่สามารถเข้าถึงตัวเราได้อย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ในปี 2555 ภัยคุกคามอินเทอร์เน็ตมีสูงถึง 62% และมีแนวโน้มว่าอาชญากรทาง อินเทอร์เน็ตจะมีเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตควรศึกษาและหาวิธีดูแลความปลอดภัยเบื้องต้นก่อนตกเป็นเหยื่อ เช่น การตั้งรหัสยากๆ สำหรับ user ในเว็บต่างๆ เช็คความปลอดภัยก่อนโอนเงินผ่าน  อินเทอร์เน็ตไม่ควรโหลดโปรแกรมจากคนหรือเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ลบข้อมูลเว็บบราวเซอร์หลังจากใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะและติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูลจากอาชญากรทางอินเทอร์เน็ต

ระวังเครียดมากเสี่ยงโรคร้าย

รู้เท่าทันความเครียดและวิธีป้องกัน เพราะความเครียดส่งผลเสียต่อตนเองและผู้อื่น เป็นบ่อเกิดแห่งโรคร้าย ทั้งโรคหัวใจ โรคซึมเศร้า โรคประสาท หรืออาจทำให้ถึงขั้นคิดทำร้ายตัวเองและผู้อื่น ความเครียดอันตรายมากกว่าที่เราคิด

เซ็ง เครียด ทำไง

วัฏชีวิตคนเมืองที่รุมเร้าด้วยภาวะ เซ็ง เครียด แล้วเราจะทำยังไงดี ? ทำความรู้จักและสังเกตอาการที่มากับความเครียด กดดัน วิตกกังวล ที่ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อร่างกายทำให้เป็นโรคกระเพาะ นอนไม่หลับ ซึมเศร้า และอีกหลายอาการที่อาจจะนำไปสู่โรคร้ายอื่น ๆ เรียนรู้การหลีกเลี่ยงและป้องกันความเครียด ศัตรูตัวร้ายของทุกคน เพื่อให้เราอยู่บนโลกที่วุ่นวายนี้ได้อย่างมีความสุข

โรคซึมเศร้า เราควรใกล้ชิด

เรียนรู้ และเข้าใจ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอย่างใกล้ชิดและถูกวิธี เพราะผู้ป่วยไม่ได้อ่อนแอ แต่ความคิดในแง่ลบนั้นเกิดจากสารเคมีและระบบฮอร์โมนในสมองที่เปลี่ยนไป คนใกล้ชิดคือยาใจสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคนี้ ให้หายได้อย่างยั่งยืนเพียงแค่เปิดใจรับฟัง

รักแค่ไหนถึงจะพอ

ทำความรู้จักกับความรักหลายรูปแบบ รักมากทุกข์มาก รักให้พอดี รักอย่างไรให้สุข ไม่เจ็บทั้งตัวเองและคนอื่น รักตัวกลัวตาย รักเมตตา รักปรารถนา รักมีแต่ให้ เปิดใจให้กว้าง  แล้วเรียนรู้ความรักที่แท้จริง  ที่เป็นอะไรที่มากกว่าความสัมพันธ์เชิงชู้สาวเท่านั้น

รักใสใสหัวใจไม่พร้อม

สังคมไทยในปัจจุบันนี้ ปัญหาเด็กที่ท้องไม่พร้อมหรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรมีสูงมาก ในปี 2554 ค่าเฉลี่ยอายุวัยรุ่นไทยเริ่มมีเซ็กส์ครั้งแรกอายุ 12 ปี และอัตราส่วนการคลอดบุตรของแม่วัยใสอายุ 8-13ปี จำนวน 579 คน ดังนั้นเยาวชนไทยควรได้รับการเอาใจใส่จากพ่อและแม่ การพูดคุย ความรู้คำแนะนำและการปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องเรื่องเพศสัมพันธ์ อีกทั้ง “ผลลัพธ์ของรักที่พลาดพลั้ง” ที่จะตามมาอย่างไม่รู้จบ เรื่องท้องไม่พร้อม ความเสี่ยงในการติดโรคทางเพศ ถูกทิ้ง ถูกใช้ความรุนแรง และสภาวะความเครียดที่จะตามมา “อย่าสร้างรักแท้ในคืนหลอกหลวง เพราะผลพวงคือสารพัดปัญหาไม่รู้จบ”

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.