trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "อาสา" พบ 211 ข้อมูล

ค้นหาตัวตนผ่านศิลปะงานต่อผ้า

ธิดาวรรณ วิวัฒน์คุณูปการ หรือ ครูตู่  และภวัญญา แก้วนันตา หรือป้าหนู  สองสาวผู้หลงใหลในเศษผ้าผืนเล็ก  ที่นำมาสร้างสรรค์ ผสานกับจินตนาการ กลายเป็นผ้าผืนใหญ่ที่มีเสน่ห์ และเรื่องราวชวนติดตาม และสะท้อนความเป็นตัวเองออกมา  การทำงานเย็บต่อผ้า  เป็นกิจกรรมที่ทำให้เราได้อยู่กับตัวเอง ฟังเสียงของตัวเอง  และเป็นพื้นที่ที่เรากล้าแสดงอารมณ์ และความเป็นตัวเราได้อย่างแท้จริง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

บางกอกนี้ดีจัง สร้างพื้นที่ศิลปะวัฒนธรรมให้คนเมืองกรุง

ตัน-สุรนาถ แป้นประเสริฐ จากเด็กที่เคยติดยา และค้ายา กลายมาเป็นแกนนำก่อตั้ง “บางกอกนี้ดีจัง” เครือข่ายเยาวชนและชุมชน ที่ลุกขึ้นมาสร้างสรรค์ชุมชนบ้านเกิดของตนเอง ให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ ด้วย แนวคิด 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี  โดยมีมูลนิธิเพื่อนเยาวชน เป็นองค์กรพี่เลี้ยง ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ จาก สสส. และภาคประชาสังคม ภาครัฐ ที่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนกับเยาวชนและคนในชุมชนได้มีโอกาสลุกขึ้นมาสำรวจชุมชนของตตนเอง ส่งเสริมของดีในชุมชนทั้งศิลปะวัฒนธรรมและวิถีชีวิตต่าง ๆ เพื่อร้อยเรียงชุมชนให้เป็น...บางกอกนี้ดีจัง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

จากเด็กท้องนาสู่อาจารย์สอนศิลปะเพื่อชุมชน

ผศ. ดร. อภิชาติ พลประเสริฐ หัวหน้าภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฎศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากเด็กชัยภูมิได้รับโอกาสทางการศึกษา เมื่อเติบใหญ่ได้เป็นครู จึงขอตอบแทนกลับสู่สังคม ด้วยการเป็นครู “ผู้ให้” ตามที่ตั้งใจไว้   “...เรางานศิลปะไปสู่ชุมชนทางศูนย์ศิลป์ที่ชัยภูมิเปิดบ้านเป็นศูนย์ศิลป์ สอนเด็กวาดรูปฟรี มีเพื่อนศิลปินต่างชาติมาร่วมทำงานศิลปะ และทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้านด้วย ศิลปินคนหนึ่งได้ออกแบบลายผ้าโดยได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน แล้วจ้างแม่บ้านทอผ้าไหมจากลวดลายที่เขาออกแบบ เสร็จแล้วจัดนิทรรศการให้ชาวบ้านได้ชม และจัดแสดงต่อที่กรุงเทพฯ และที่อเมริกา” แม้วันนี้ครูอภิชาตเรียนจบดีกรีเด็กนักเรียนนอก  แต่ครูกลับเลือกลับมาทำงานที่บ้านเกิด อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

ความสุขของนักเสริมพลังการเรียนรู้เพื่อครูปฐมวัย

สรวงธร นาวาผล และ สายใจ คงทน สองสาว พี่เลี้ยงผู้ริเริ่มโครงการ มหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 ดี วิถีสุข (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) ภายใต้การสนับสนุนของ สสส.  เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพครูศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ ด้วยการรับฟัง ยอมรับ และการให้ควาทเชื่อมั่นต่อพลังอำนาจของครูที่มีคุณค่า กับการสร้างเครือข่าย “ครอบครัวครูมหัศจรรย์ทั้งสี่ภาค” เพื่อเสริมพลังให้ครูในศูนย์เด็กเล็กได้ประสบความสำเร็จ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เด็ก ๆ ด้วยพลังของความรัก และความเข้าใจ ควบคู่ไปกับความรู้   อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

ธนัญธร เปรมใจชื่น รับฟังด้วยหัวใจ

ธนัญธร เปรมใจชื่น หรือ อาจารย์น้อง กระบวนกรอบรมด้านการพัฒนาตนเองจากภายในผ่านการจัดอบรมด้านการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) ปัญหาหลาย ๆ อย่าง เกิดจากการที่เราไม่รับฟัง ไม่ใช่แค่ฟังคนอื่น แต่ไม่เคยฟังเสียงตนเอง ไม่เคยได้ยินว่าฉันพูดอะไรออกไป การอบรมด้านการฟังอย่างลึกซึ้ง เราจะได้ยินเสียงความคิดของตนเอง เมื่อเราเข้าใจตนเองมากขึ้น เราก็จะทำชีวิตให้ดีขึ้น ยกระดับจิตใจตนเองให้มีความสุขได้มากขึ้น อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

เดอะเรนโบว์รูม ครอบครัวหัวใจสีรุ้ง

โรสซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แม๊คเคย์ ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเดอะ เรนโบว์ รูม เพื่อทำภารกิจในการสร้างเครือข่ายเพื่อครอบครัวเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ด้วยเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจในครอบครัวและสังคม ได้เปิดพื้นที่และโอกาส เพื่อการพัฒนาเต็มศักยภาพของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และครอบครัวได้มีพลังใจยืนหยัด และทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างดีที่สุด และมีความสุขที่สุด     อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com

ส่งความรักผ่านการออกกำลังกายจากแม่สู่ลูกภาวะออทิสติก

วรรณวิชญ์ เหล่าตระกูลงาม หรือ ปาล์ม ลูกชายของแม่อู๊ด ที่เริ่มเป็นเด็กออทิสติก ตั้งแต่ 4 ขวบ  ด้วยแม่อู๊ดสังเกตอาการของคุณปาล์ม ว่าไม่พูดและม่สบตาม  แม่อู๊ดคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวลูกสอง เลยตัดสินใจลาออกจากงานมาเลี้ยงดูลูกทั้ง 2 คน  ด้วยความรัก ความเข้าใจ และเอาใจใส่ให้ลูกสามารถยืนหยัดในสังคมได้  แม่อู๊ดจึงค้นหาวิธีการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของคุณปาล์ม ด้วยการออกกำลังกายด้วย “การวิ่ง” เพราะการออกกำลังกายทำให้คุณปาล์มมีสมาธิ ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง นอกจากนี้การวิ่ง ยังเป็นกิจกรรมที่คุณปาล์มและแม่อู๊ดได้ใช้กิจกรรมด้วยกัน ผลพวงที่ได้คือ สุขภาพแข็งแรงทั้งแม่และ อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

โยคะภาวนา ฝึกกายและจิตรวมเป็นหนึ่งเดียว

กวี คงภักดีพงษ์ หรือ ครูกวี ผู้อำนวยการสถาบันโยคะวิชาการ มูลนิธิหมอชาวบ้าน ได้ค้นพบหัวใจของการฝึก “โยคะภาวนา” คือ การเข้าไปดูที่จิต ปิดจิตไม่ให้คิดปรุงแต่ง เมื่อไหร่ที่เราดับการปรุงแต่งของจิต จิตเราจะเข้าสู่สมาธิ หลักการฝึกโยคะภาวนา ใช้ความนิ่งและสบาย ใช้แรงกายให้น้อยที่สุด สภาวะของการฝึกโยคะภาวนาแบ่งออกเป็น 3 สภาวะด้วยกัน คือ 1. การรวมกายและจิตเข้าด้วยกัน มีสติรู้อยู่กับกายตลอดเวลา 2. ความสมดุล ทั้งภายในตนเอง ระหว่างตนเองกับผู้อื่น และตนเองกับสภาพแวดล้อม 3. การพัฒนา โดยเฉพาะการฝึกจิตให้นิ่งและบริหารจิตให้เข้มแข็งจนยกระดับให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

สุขกายสุขใจวัยเกษียณ

สุรีย์ นาวีเรือรัตน์ หรือ ครูเจี๊ยบ ครูสอนออกกำลังกายแบบเต้าเต้อจิง ทางเลือกของการออกกำลังที่เหมาะกับผู้สูงอายุ เพราะเน้นการหายใจและการเคลื่อนไหวไปตามจังหวะเพลงแบบไม่เร่งรีบ ครูเจี๊ยบอดีตเป็นดีไซน์เนอร์กระเป๋าที่โรงงานย่านนครปฐม หลังจากหายป่วยจากโรคมะเร็งรังไข่ ก็หันมาดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายเต้าเต้อจิง รวมทั้งชักชวนเพื่อนๆ ในวัยเกษียณ มาจัดตั้งกลุ่มผู้สูงอายุ ออกกำลังกายแบบเต้าเต้อจิง ที่จังหวัดนนทบุรีด้วย อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

ร้านยิ้มสู้ คาเฟ่ของคนหัวใจไม่พิการ

“ปัจจุบันคนพิการในประเทศไทยที่อยู่ในวัยทำงานมีทั้งหมดประมาณ 7 แสนคนและยังมีศักยภาพที่ความสามารถทำงานได้ประมาณ 4 แสนคน ส่วนที่เหลืออีก 2 แสนมีความพิการซ้ำซ้อนซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ทว่าหากสังคมไทยมองข้ามความบกพร่องของผู้พิการสู่การเติมเต็มความแตกต่างแล้ว คนพิการจะสามารถทำงานได้มากกว่าอาชีพขอทานอย่างแน่นอน” ศ. ดร. วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ กล่าวไว้  และนี่เองคือแนวคิดของ “ยิ้มสู้คาเฟ่”  ร้านคาเฟ่ธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา เพราะที่นี่มีคนพิการแตกต่างกัน ทว่าสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขด้วยหัวใจที่ไม่พิการ อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

ลมหายใจแห่งความสุขของ ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ

ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิดวงประทีป  เจ้าของรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะเมื่อปี 2521 ครูผู้มุ่งมั่น บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ที่ใคร ๆ ตั้งข้อกังขาว่าจะเติบโตงดงามได้เพียงไร ครูประทีปใช้เวลาเกือบทั้งชีวิตทำหน้าที่เป็นครูผู้ต่อสู้เพื่อให้สิทธิทางการศึกษากับเด็ก ๆ ในชุมชนแออัด “สลัมคลองเตย”  และสามารถพิสูจน์แล้วว่า โอกาสทาง “การศึกษา” ช่วย “ยกระดับ” เด็กในชุมชนคลองเตยแห่งนี้ เติบโตได้งดงามไม่แพ้พื้นที่อื่น ๆ ภายในเมืองหลวงเลย  อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com

ความสุขไร้กรอบเพศภาวะของ อวยพร เขื่อนแก้ว

อวยพร เขื่อนแก้ว นักสตรีนิยมในสังคมไทย ผู้ก้าวเดินบนถนนสายนักต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศมาเนิ่นนาน  เธอได้เห็นตัวอย่างแนวทางปฏิบัติของ “หลวงแม่ธัมมนันทา” ภิกษุณีองค์รูปแรกของเมืองไทย (เจ้าอาวาสวัดทรงธรรมกัลยาณี) ที่ได้ขับเคลื่อนประเด็นความไม่เท่าเทียมทางเพศผ่านการพัฒนาศักยภาพของผู้หญิง โดยที่ท่านเป็นผู้นำแนวหน้าเรื่องสิทธิสตรีในพุทธศาสนาระดับโลก ตั้งแต่นั้นมาคุณอวยพรได้ศึกษาเรื่องการทำงานบนฐานความเมตตากรุณาแทนการทำงานที่ถูกผลักดันจากความโกรธ ความไม่พอใจที่เห็นความไม่เป็นธรรม คุณอวยพรจึงเริ่มทำงานเรื่องสิทธิสตรีแนวพุทธ ที่เน้นการพัฒนาและเปลี่ยนแปรจิตใจตนเองให้พ้นจากความโลภ โกรธ หลงด้วย ทั้งภายนอกและภายในที่ผสานสอดคล้องไปด้วยกัน โดยมีชื่อเรียกกลุ่มตัวเองว่า “บุดดิสท์ เฟมินิสต์” (Buddhist Feminist Activist) หรือนักสตรีนิยมแนวพุทธ  อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.