พนันบอลออนไลน์
เดี๋ยวนี้ พนันบอลก็ง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว แถมยังได้ทุกที่ทุกเวลา แล้วงานนี้ใครได้ ใครเสีย มาชมกัน ผลงานสร้างสรรค์ในประเด็น "การพนันบอล" จากทีมพลังแห่งต้นกล้า
เปิดอก
"เปิดอก" เป็นคลิปวีดีโอภายใต้โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม เนื้อหาว่าด้วยการรู้เท่าทันสื่อในครอบครัว สมาชิกทุกวัยในบ้าน ทั้งวัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ต่างต้องเรียนรู้ที่จะเท่าทันสื่อ ไม่ตกเป็นเหยื่อของสื่อที่หลอกลวงและบิดเบือนโดยเฉพาะในโลกออนไลน์ สิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว เรียนรู้ที่จะเปิดอกพูดคุยกันด้วยความรักและความเข้าใจ
Video Presentation โครงการประกวดคลิปสั้นและมิวสิควิดีโอ รู้เท่าทันสื่อออนไลน์
คลิปวีดีโอโครงการประกวดคลิปสั้นและมิวสิควิดีโอ เนื้อหาแสดงให้เห็นสถิติสำคัญของนักดื่มหน้าใหม่ที่เข้าสู่วงจรการดื่มแอลกอฮอล์ หนึ่งในสาเหตุสำคัญคือการไม่รู้เท่าทันสื่อออนไลน์ของกลุ่มเยาวชน นอกจากนี้กระแสการตลาดของสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลากหลายรูปแบบที่แข่งขันกันรุนแรงในปัจจุบัน ทำให้เกิดการสร้างภาพลักษณ์ของนักดื่มในรูปแบบที่เท่ ทันสมัย ซึ่งหากเด็กและเยาวชนไม่รู้เท่าทันสื่อออนไลน์และเบื้องหลังการตลาดเหล่านี้ ก็อาจตกเข้าเป็นเหยื่อของการตลาดและเข้าสู่วงจรนักดื่มจนส่งผลเสียต่อสุขภาพและเป็นอันตรายต่อชีวิต
แชร์ได้ แชร์ดี
สื่อโปสเตอร์ผลงานของนายศุภกร บัวลา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) จ.ปทุมธานี ได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทสื่อโปสเตอร์ จากการประกวดสื่อสร้างสรรค์โครงการ 'จิตอาสาพลังแผ่นดิน:ทำดี ทำได้ทุกวัน เริ่มต้นวันนี้' ผลงานชิ้นนี้มีแนวคิดสะท้อนอีกแง่มุมหนึ่งของพลังของการแชร์เรื่องราวในโลกออนไลน์ จากความดีเล็ก ๆ ในตัวเรา เมื่อได้แบ่งปันออกไป ก็อาจจะกลายเป็นพลังที่ใหญ่ขึ้น นำไปช่วยชีวิตคนอื่นได้ เหมือนถุงเลือดในภาพ ที่สามารถนำไปช่วยผู้ป่วยได้ต่อไป เปรียบได้เหมือนกับ พลังความดีที่พวกเราแบ่งปันมารวมกัน ความจริงก็ไม่ได้หายไปไหนไกล ท้ายสุด มันก็ย้อนกลับมาหาตัวเรา เป็นประโยชน์กับตัวเราด้วยนั่นเอง
อินโฟกราฟิก การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น ปี 2560
ผลสรุปรายงานการศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่นปี 2560 แบบเข้าใจง่ายๆ ด้วยรูปแบบอินโฟกราฟิก ชี้ว่าการรังแกกันบนโลกออนไลน์ ทั้งการจับกลุ่มนินทา การส่งรูปภาพไปก่อกวน การคุกคามทางเพศ การแอบอ้างสวมรอย การลบหรือบล็อคผู้อื่นอย่างไม่มีเหตุผล พบเยาวชนไทยอายุ 13-18 ปี เกิน 2 ใน 3 เคยเป็นผู้กระทำและผู้ถูกเคย ซึ่งเกิดผลกระทบทำให้เครียด กังวล หวาดกลัว และอับอาย โดยทางแก้ไขจำเป็นต้องอาศัยทั้งตัวเยาวชน ผู้ปกครอง พ่อแม่ ค่อยเป็นหูเป็นตา สอดส่องให้ใช้งานสื่อโซเซียลอย่างสร้างสรรค์
รายงานผลการศึกษา โครงการจัดทำคู่มือสิทธิเด็กกับแนวทางปกป้องเด็กจากสื่อออนไลน์
งานวิจัยที่ศึกษาข้อมูลสถานการณ์ ปัญหา ผลกระทบประเด็นการถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ เพื่อนำมาเป็นแนวทางจัดทำคู่มือการปกป้องสิทธิเด็กในสื่อออนไลน์ สืบเนื่องจากปัญหาที่คุกคามเด็กทางสื่อออนไลน์ มักมาในรูปแบบของการโฆษณาแฝง การกลั่นแกล้งกันทางอินเทอร์เน็ต การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยในยุคสังคม 4.0 ที่การสื่อสารทันสมัยด้วยระบบดิจิทัล พ่อแม่ผู้ปกครองไม่สามารถกันเด็กๆ ออกจากสื่อ Social Media ได้ ดังนั้นจึงเป็นที่มาในการวิจัยข้อมูลเพื่อสนับสนุนการริเริ่มโคงการจัดทำคู่มือหรือแนวทางการปกป้องเด็กจากสื่อออนไลน์ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในการดูแลเอาใจใส่ พูดคุย และทำความเข้าใจสื่อสารกับเด็ก ๆ ได้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน
เท่าทันสื่อ อำนาจในมือพลเมืองดิจิทัล
หนังสือเรื่อง “เท่าทันสื่อ อำนาจในมือพลเมืองดิจิทัล” เป็นการเรียบเรียงมุมมอง แนวคิดและข้อเสนอของกลุ่มคนที่เห็นว่า ยุคเทคโนโลยีดิจิทัลเปิดช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายให้กับประชาชน ซึ่งการรู้เท่าทันสื่อฯ เป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างพลังจาก “ผู้ใช้เน็ต” สู่การเป็น “พลเมือง” ที่มีอำนาจในการสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลง
Fact Sheet ความฉลาดทางดิจิตอล และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น
สรุปข้อสนเทศเรื่องการศึกษาและประเมินพฤติกรรมการใช้สื่อสารสนเทศและดิจิตอลของวัยรุ่น โดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) และคณะผู้วิจัยได้จัดทำ Fact Sheet ‘ความฉลาดทางดิจิตอล’ เพื่อศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่นและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิตอล โดยมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต อีกทั้งทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ มีความเห็นอกเห็นใจเคารพผู้อื่นและมีความรับผิดชอบร่วมกันในสังคมออนไลน์ เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์และในชีวิตจริงได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย
MIDL : DQ for Citizenship
การสร้างความฉลาดในยุคนี้ ไม่ใช่มีแค่ IQ หรือ EQ อีกต่อไป แต่พลเมืองในยุคสื่อสารออนไลน์หรือยุคดิจิทัลนี้ จำเป็นต้องมีความฉลาดอีก 1 ตัว นั่นคือ DQ หรือ Digital Intelligence ซึ่งประกอบด้วย 8 คุณลักษณะสำคัญที่ได้รับการกำหนดและยอมรับในระดับสากล ทั้ง 8 คุณลักษณะของ DQ นี้ นอกจากจะทำให้ตัวเราปลอดภัยไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในโลกอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังจะทำให้เราไม่ไปละเมิดสิทธิ์ หรือทำร้ายคนอื่นในโลกออนไลน์ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ เพื่อให้เกิดสังคมดิจิทัลที่มีคุณภาพ
MIDL : Online Hate Speech
เราทุกคนรู้ดีว่าเรามีสิทธิเสรีภาพในการพูดอะไรก็ได้หรือที่เรียกว่า Free Speech แต่ในสิทธิเสรีภาพที่เรามี เราก็ต้องรับผิดชอบในผลที่ตามมาจากคำพูดของเราด้วย โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ การมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ทำให้บางครั้งเราอาจเผลอไผลใช้คำพูดของเราทำร้าย แบ่งแยกความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนา เชื้อชาติ สีผิว เพศสภาพ ฯลฯ จนลุกลามกลายเป็นการแบ่งพวกแบ่งฝ่าย ผลิตซ้ำความเกลียดชัง สร้างผลร้ายลุกลามไปทั่วทั้งโลกออนไลน์และสังคมในความเป็นจริง สิ่งเหล่านี้คือ Hate Speech ในโลกออนไลน์ การติดอาวุธรู้เท่าทันสื่อ ไม่สร้าง Hate Speech เรียนรู้ที่จะเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งในโลกจริงหรือโลกออนไลน์ คือหน้าที่พลเมืองที่มีคุณภาพและก่อให้เกิดสังคมที่มีคุณภาพต่อไป
MIDL : Cyberbullying
คลิปแอนิเมชั่นที่จะพาเราเข้าไปทำความรู้จักประเด็นการกลั่นแกล้งออนไลน์อย่างรอบด้าน ตั้งแต่ความหมายของการกลั่นแกล้งออนไลน์ที่หมายถึงการโพสต์หรือเผยข้อมูลส่วนตัวของคนอื่นให้ได้รับความอับอาย เกลียดชัง ฯลฯ วิเคราะห์สาเหตุของการตั้งต้นเป็นผู้แกล้ง ผลกระทบที่มีต่อผู้ถูกรังแก ตั้งใจระดับเล็กน้อยไปจนถึงผลกระทบในชีวิตจริงที่รุนแรง และสุดท้ายไปหาทางออกในการแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งออนไลน์ที่เราทุกคนช่วยกันได้ หากเรารู้เท่าทัน มีสติ และรู้จักเห็นอกเห็นใจกันและกัน เป็นพลเมืองดิจิทัลที่รู้เท่าทันสื่ออย่างแท้จริง