แจกความสดใส แจกเครื่องกระตุ้นความใคร่ Beware pedophile
ปัจจุบันเราใช้อินเตอร์เนตในการสืบค้นข้อมูลและแชร์ข้อมูลสื่อสารถึงกันและกันจนเป็นเรื่องปกติที่คุ้นเคย จนอาจทำให้เราหลงลืมเรื่องภัยและอาชญากรที่แฝงมากับโลกอินเตอร์เนต ซึ่งภัยบนโลกอินเตอร์เนตและอาชญากรเหล่านี้ มักจะแฝงมาในคราบที่เราเองอาจจะคาดไม่ถึง pedophile “โรคใคร่เด็ก” เป็นโรคจิตเวชชนิดที่ชอบมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก ซึ่งมีตั้งแต่เด็กวัยที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไปจนถึงทารก ข้อมูลที่เราแชร์บนโลกอินเตอร์เนตหากเราไม่ระวังหรือรู้ไม่เท่าทัน สุดท้ายแล้วอาจกลายเป็นเครื่องมือที่จะย้อนกลับมาทำร้ายเราและคนที่เรารักก็เป็นได้ การ์ตูนแอนิเมชัน โครงการขับเคลื่อนงานคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์
ผู้ใหญ่..หลอกเด็ก Beware grooming
กลุ่มเยาวชนหรือวัยรุ่นเป็นหนึ่งในจำนวนผู้ที่ใช้อินเตอร์เนตมากที่สุดและอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ก็มีให้เห็นในข่าวทุกวันในสังคม อาชญากรบนโลกออนไลน์เหล่านี้ มักจะแฝงตัวมาในคราบคนดีที่เราคาดไม่ถึง ผู้ใหญ่..ใจดี ที่จริงอาจเป็นอาชญากรที่แฝงตัวมาหลอกให้หลงเชื่อ เพื่อล่อลวงไปสู่การละเมิดทางเพศและอาชญากรรมอื่นๆ เพราะผู้ใหญ่ (แปลกหน้า) ที่ใจดีมีแต่ในนิทานหลอกเด็ก หากหลงเชื่อคนง่าย รู้ตัวอีกทีอาจตกเป็นเหยื่อของเหล่าอาชญากรเหล่านี้ การ์ตูนแอนิเมชัน โครงการขับเคลื่อนงานคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์
เพราะทุกคนต่างเป็นคนเหมือนกัน Stop cyberbullying
คลิปวิดีโอเตือนใจการกลั่นแกล้งกันในโลกออนไลน์ เพราะทุกคนต่างเป็นคนเหมือนกัน ไม่ว่าจะเพศ หญิง ชาย หรือ บุคคลที่มีอัตลักษณ์วิถีทางเพศที่แตกต่างออกไป ล้วนมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์เหมือนกันทั้งสิ้น การแซว การหยอกล้อเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศ ด้วยความขบขัน ด้วยความคึกคะนอง ย่อมส่งผลกระทบในแง่ลบต่อจิตใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพราะเป็นการถูกลดทอนคุณค่าความเป็นคน ที่อาจนำไปสู่ภาวะโรคซึมเศร้าและผลเสียต่อจิตใจในด้านอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเกลียดชังและความเหลื่อมล้ำทางเพศในสังคม การ์ตูนแอนิเมชัน โครงการขับเคลื่อนงานคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์
การสำรวจสถานการณ์เด็กไทยกับภัยออนไลน์ 2563
COPAT กรมกิจการเด็กและเยาวชน ร่วมกับ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำเสนอข้อมูลการสำรวจสถานการณ์เด็กกับภัยออนไลน์ปี 2563 โดยได้ทำการสำรวจในกลุ่มเด็กมัธยมศึกษา อายุ 12-18 ปี ผลการสำรวจพบหลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่น เด็ก 89% เชื่อว่าโลกออนไลน์มีภัยหรือความเสี่ยงต่างๆ 69% มีประสบการณ์ถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ด้วยการเรียกถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น และมีเด็ก 29% เคยนัดพบเพื่อนออนไลน์ เป็นต้น
หวังเซ็กส์ออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด Beware Sextortion
เสียรู้ เสียทรัพย์ เสียสุขภาพจิต หวังเซ็กซ์ออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด วิดีโออินโฟกราฟฟิค ที่จะช่วยเตือนสติวัยรุ่นหลายๆ คน ถึงเรื่องการไว้ใจคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์ เพื่อหวังความสนุก ตื่นเต้น เพียงชั่วครู่ ซึ่งที่จริงนั้นแฝงไว้ด้วยภัยอันตราย เพราะเมื่อตกเป็นเหยื่อนอกจากจะทำให้เสียทรัพย์ ยังทำให้เสียสุขภาพจิต เสื่อมเสียชื่อเสียงและสร้างความอับอายให้แก่ตัวเองและครอบครัว
ภาพลับเพื่อคนรัก เมื่อหมดรัก อาจไม่ลับ อย่าไว้ใจใคร ฺBeware sexting stalking
คลิปวิดีโอ ที่จะช่วยเตือนสติทั้งกับวัยรุ่นและคนทั่วไปว่า “อย่าไว้ใจใคร” แม้จะเป็นคนที่เรารักมากก็ตามก็ไม่ควรส่งภาพลับ หรือ แชร์ข้อมูลส่วนตัวที่อาจกลายเป็นเครื่องมือให้อีกฝ่ายนำกลับมาใช้ทำร้ายเราในภายหลังเมื่อหมดรักต่อกัน นอกจากจะทำให้เราเสียชื่อเสียง เสียความรู้สึก เสียสุขภาพจิตและยังอาจจะถูกติดตามรังควานจากคนแปลกหน้าอีกด้วย
CyberBully
“อย่างให้ความสนุกของเราไปทำร้ายใคร” คลิปวิดีโออินโฟกราฟฟิค CyberBully ที่ช่วยเตือนสติ เรื่องการกลั่นแกล้งรังแกกันบนโลกออนไลน์ ซึ่งมีให้เห็นอยู่บ่อยครั้งและเกิดขึ้นกับทุกแวดวงสังคม จากการนำปมด้อยและข้อผิดพลาดของผู้อื่นมาเผยแพร่และล้อเลียนด้วยความขบขัน เพียงเพื่อสร้างสีสันและเสียงหัวเราะบนโซเชียลมีเดีย โดยไม่ได้คำนึงว่าความสนุกดังกล่าวจะเป็นการสร้างความอับอายและผลกระทบด้านลบที่จะเกิดขึ้นต่อจิตใจของผู้ที่ถูกรังแก
Infographic แนวปฏิบัติสำหรับสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับเด็ก กรณีภัยออนไลน์
ข้อแนะนำและแนวทางการปฏิบัติสำหรับสื่อมวลชนที่ควรพึงระวัง ในการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนเรื่องภัยออนไลน์ โดยต้องคำนึงถึงหลักจริยธรรมเป็นหลัก ทั้งเนื้อหาและวิธีการนำเสนอข่าว ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล อีกทั้งข้อควรระวังต่างๆ ที่จะไม่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ในทางลบแก่เยาวชนหรือสร้างกระแสวิจารณ์จากสาธารณะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อตัวเยาวชนและครอบครัวในภายหลัง
คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2563
แม้ว่ายุคปัจจุบันเยาวชนไทยเติบโตขึ้นมากับการใช้อินเทอร์เน็ตและมีอิสระในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ค่อนข้างมาก อีกทั้งสื่อออนไลน์ยังเป็นตัวกลางในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลและด้วยความคุ้นชินกับการเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้อย่างอิสระนี้ อาจทำให้หลงลืมเรื่องภัยที่มากับโลกออนไลน์ คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ชุดนี้ มีเนื้อหาข้อมูลที่เกี่ยวกับแนวทางป้องกันภัยออนไลน์ในรูปแบบต่างๆและผลสำรวจพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเยาวชนไทย ที่สุ่มเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ สำรวจป้องกันและช่วยเหลือเด็กจากภัยออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
สุขสัญจรออนไลน์ อยู่อย่างไรให้ชีวิตลงตัว EP4 ลงตัวกับความกลัว
ความกลัว เป็นอารมณ์แรก ๆ ของมนุษย์เรา ความกลัวมีรากฐานมาจากความไม่มั่นคงภายในใจ การจัดการกับความกลัว คือการทำอย่างไรที่เราจะมีความรู้สึกมั่นคงภายใต้ความกลัวที่ยังอยู่ โดยให้ความกลัวเป็นสิ่งเร้าที่มาจากภายนอก แต่ภายในใจของเราแข็งแกร่งมากขึ้น ...เราไม่ต้องพยายามที่จะขจัดความกลัวนั้นออกไป ในทางตรงกันข้ามให้เรายอมรับความกลัวที่มีอยู่ และมีสติที่จะจัดการกับความกลัวนั้นอย่างเข้าใจ
สุขสัญจรออนไลน์ อยู่อย่างไรให้ชีวิตลงตัว EP3 ลงตัวกับความเศร้า
ความเศร้าเป็นตระกูลเดียวกับความโกธร ที่เริ่มต้นจากความไม่พอใจ ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์รอบตัว หรือตัวเอง จนท้ายที่สุดก็จะมานั่งโทษตัวเอง ลดคุณค่าในตัวเอง การทำให้เราหลุดจากความเศร้า ต้องใช้การเคลื่อนไหว หรือ การเปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนบรรยากาศ หรือเปลี่ยนอารมณ์ ก็จะทำให้เราหลุดจากอารมร์เศร้าที่ครอบงำได้
สุขสัญจรออนไลน์ อยู่อย่างไรให้ชีวิตลงตัว EP2 ลงตัวกับความเครียด
“ความเครียด” เป็นสัญญาณให้เราระมัดระวังเพื่อเตรียมการณ์อะไรบางอย่าง แต่ว่าความเครียดกลายเป็นสาเหตุที่บั่นทอนจิตใจและร่างกายของคนเรา เพราะเราไปปรุงแต่งให้เกิดขึ้นจากความไม่มั่นใจ ความลังเล และความวิตกกังวล แท้จริงแล้วความเครียดจะหายไปได้เมื่อหมดเหตุ หรือปล่อยวางไม่จดจ่อกับความเครียดนั้น ๆ ให้นำ “ความสบายใจมาดูแลความเครียด” นั่นเอง