การจัดระบบชุมชนในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ
ในเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิที่ซัดเข้าฝั่งไทยเมื่อปี 2547 ได้สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล และในความสูญเสียนั้นก็ยังมีปัญหาเรื่องการยึดครองที่ดินของนายทุนตามเข้ามาซ้ำเติมชาวบ้านอีกระลอกหนึ่ง ซึ่งสร้างผลกระทบแก่ชาวบ้านและชุมชนชาวพื้นเมืองทางภาคใต้อย่างรุนแรงไม่ต่างไปกว่าคลื่นยักษ์ แต่วิกฤตปัญหานี้ได้กลายเป็นโอกาสให้เกิดการริเริ่ม การจัดระบบชุมชน โดยการจัดระบบดังกล่าว เป็นการฟื้นฟูรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวพื้นเมืองทางภาคใต้และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในการต่อสู้เพื่อสิทธิของตน รวมถึงสร้างจิตสำนึกแก่คนในสังคมให้มองชนพื้นเมืองอย่างเท่าเทียมและเข้าใจสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์
วรรณา ระหมันยะ แม่ของไครียะห์ ลูกสาวแห่งทะเลจะนะ
เรื่องราวของคุณแม่วรรณา ระหมันยะห์และลูกสาววัย17 ไครียะห์ หรือ “เกรต้า ธันเบิร์กเมืองไทย” เด็กผู้หญิงที่มีความเอาจริงเอาจังต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชุมชนดั้งเดิมในจังหวัดสงขลา เพื่อให้คนในพื้นที่เดิมได้มีอาชีพทำกิน โดยมีคุณแม่วรรณาคอยเฝ้าดูแลใช้หลักเมตตาในการเลี้ยงดูและปลูกฝัง เพื่อสร้างความเห็นอกเห็นใจแก่ผู้อื่น รวมถึงได้ปลูกฝังในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เกิดความรัก ความหวงแหนในภูมิปัญญาท้องถิ่นและมีสำนึกรักในถิ่นกำเนิด
น้ำเหลือในเมืองใหญ่ โดย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เปรียบเทียบทรัพยากรน้ำในสังคมปัจจุบันว่า เกิดภัยแล้ง แต่คนในสังคมเมืองปัจจุบันยังคงใช้น้ำแบบฟุ่มเฟือยอยู่ เราจึงให้อาสาสมัครแต่งตัวเป็นคนที่ขาดแคลนน้ำ แล้วให้อาสาสมัครไปใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องใช้น้ำเป็นปัจจัย 4 ในสถานที่ที่เราใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือยเพื่อแสดงให้เห็นว่า น้ำที่เราใช้อย่างฟุ่มเฟือยนี้มันมีประโยชน์กับคนที่ไม่มีน้ำใช้ เหมือนกับน้ำในขวดที่ทุกคนกินเหลือแล้วก็ทิ้ง เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีน้ำจะกิน มันมีค่ามากเกินกว่าที่เราจะทิ้ง
ขุนน่าน โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ป่าขุนน่านเป็นต้นน้ำสายหลักที่ส่งไปแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 45% จึงสร้างอัตลักษณ์ของป่าขุนน่านขึ้นมา เพื่อสื่อให้คนเมืองตระหนักถึงความสำคัญของป่าต้นน้ำ และร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูต่อไป
รักษ์นที
ผลงานสารคดี จากผักหวานทีม โรงเรียนภูกระดึงวิทยาคม พาไปหมู่บ้านผาสามยอด พูดคุยกับคุณเกษม สมชาย เจ้าของฟาร์มเกษตรอินทรีย์ กับวิถีอนุรักษ์น้ำ ดิน อากาศ นำสู่การปลูกผักอินทรีย์ ไร้สารพิษ พึ่งพาธรรมชาติ อยู่อย่างพอเพียง ส่งต่อแนวคิดให้คนรุ่นใหม่ช่วยกันสร้างวิถีชีวิตสุขภาวะอันงดงาม