trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "หวัด" พบ 26 ข้อมูล

พื้นที่สร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี-จังหวัดอุดรธานี

น้อง ๆ เยาวชนคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี เดินหน้าสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับน้องๆ ในพื้นที่ ตัวอย่างเช่นในตอนนี้ เราจะไปดูน้อง ๆ ไปทำกิจกรรมกับน้อง ๆ โรงเรียนชุมชนวังทอง เน้นประเด็นการรู้เท่าทันสื่อ ผ่านการลงพื้นที่ชุมชน เรียนรู้การทำสื่อด้วยตนเอง ทำให้น้อง ๆ ได้รู้วิธี กระบวนการผลิตสื่อ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้วิถีชุมชนวัฒนธรรมไปพร้อมกัน

ลดวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โรงเรียนอนุบาลห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

ไปดูกิจกรรมสนุก ๆ ตามแนวคิด ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่โรงเรียนอนุบาลบ้านห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ เด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรมเป็นฐาน มีการบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ ไว้ด้วยกันทั้งการทำขนมและอาหารพื้นบ้าน เพื่อเรียนรู้การทำอาชีพต่าง ๆ เด็กได้มีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างสรรค์ ทำให้เด็ก ๆ พัฒนา ลดปัญหาเรื่องการไม่กล้าแสดงออก มีความสุขกับการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

รายการครอบครัวข่าวเด็ก ตอน สืบสานลายผ้า โรงเรียนบ้านโทะ จังหวัด ศรีสะเกษ

รายการครอบครัวข่าวเด็ก พาไปดูเด็ก ๆ ที่ชมรมฮักนะบ้านโทะ โรงเรียนบ้านโทะ จ.ศรีสะเกษ หนึ่งในโครงการศรีสะเกษติดยิ้ม ที่ภูมิใจกับการเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน ผ่านการสืบสานลายผ้าเอกลักษณ์ของบ้านพะโทะ มีทั้งการมัดย้อมผ้า ปักผ้า ทำให้เด็ก ๆ มีจินตนาการสร้างสรรค์ และยังสนุกกับการสืบต่อเอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนอีกด้วย

ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน ข้าวโป่ง จังหวัด ยโสธร

เด็ก ๆ กลุ่มอีสานตุ้มโฮม จ.ยโสธร จะพาเราไปรู้จักกับ 'ข้าวโป่ง' หรือข้าวเกรียบซึ่งเป็นอาหารพื้นถิ่นของคนอีสาน เพราะคนอีสานมีอาชีพหลักคือการปลูกข้าว ในทุกฤดูหนาวข้าวจะถูกนำมาแปรรูปเป็น 'ข้าวโป่ง' แล้วเก็บไว้รับประทานได้ตลอดทั้งปี ข้าวโป่งยังทำให้ชาวบ้านมีรายได้เสริม เด็ก ๆ ได้ทานอาหารอร่อย ปลอดภัย มีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย

ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน แกงส้มดอกแคปลาดุก จังหวัด แม่ฮ่องสอน

เมนู 'แกงส้มดอกแคปลาดุก' แสนอร่อย ฝีมือน้อง ๆ เยาวชนที่โรงเรียนบ้านแม่เงา อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เด็กและเยาวชนที่นั่นเรียนรู้ต่อยอดโครงการอาหารปลอดภัยในโรงเรียน จนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้และศูนย์รวมอาหารปลอดภัยให้กับเด็ก ๆ นอกจากนี้ยังเกิดการสืบค้นเมนูท้องถิ่น เรียนรู้วิธีการทำอาหารพื้นบ้านตามฤดูกาลที่ดีต่อสุขภาพ เด็ก ๆ สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีชีวิตพอเพียง

ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน ไข่เจียว จังหวัด กรุงเทพ

วิถีชีวิตชุมชนเมือง แม้จะมีเวลาน้อย แต่ก็สามารถทำอาหารทานเองได้ ตัวอย่างเมนูง่าย ๆ แสนอร่อยและสนุกของเด็ก ๆ กลุ่มเยาวชนรองเมืองเรืองยิ้มก็คือ 'ไข่เจียวทรงเครื่อง' การทำไข่เจียวของเด็ก ๆ มากไปกว่ารสชาติอร่อยคือบรรยากาศของมิตรภาพ การได้พูดคุยกันระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก ได้พัฒนาทักษะ ฝึกการช่วยเหลือตัวเอง ทำให้เด็ก ๆ รู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองอีกด้วย

ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน ซุปไก่ จังหวัด นราธิวาส

น้อง ๆ กลุ่มธนาคารใจอาสา 3 จังหวัดชายแดนใต้ จะพาเราไปทำความรู้จักและเข้าใจวิถีชีวิตของชาวมุสลิมผ่านวัฒนธรรมการกินอาหาร 'ฮาลาล' และเมนู 'ซุปไก่' ที่เป็นเมนูคู่กับวัฒนธรรมที่ยาวนานของชาวมุสลิม

ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน โมฮิงกาโต๊ะ แม่สอด จังหวัด ตาก

ไปรู้จัก 'โมฮิงกาโต๊ะ' หรือยำขนมจีนแท้ ๆ แสนอร่อย อาหารประจำครอบครัวจากประเทศพม่า โดยเด็กเยาวชนกลุ่ม Rays of youth อ.แม่สอด ใช้กระบวนการเรียนรู้อาหารพื้นถิ่นในชุมชนแรงงานเพื่อสร้างความเข้าใจและอยู่ร่วมกันของกลุ่มคนไทยและพม่าในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก 

ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน บะหมี่เกี๊ยวทุ่งเทิน จังหวัด ศรีสะเกษ

ในอดีตเด็ก ๆ หลายคนที่โรงเรียนบ้านเทิน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ รู้สึกอายที่จะบอกอาชีพของพ่อแม่ซึ่งเป็นคนขายบะหมี่เกี๊ยวในเมืองใหญ่ แต่พอคุณครูพาเด็ก ๆ ลงไปเรียนรู้วิธีการทำบะหมี่เกี๊ยว ให้คุณพ่อคุณแม่ได้เข้ามาสอนเด็ก ๆ ทำบะหมี่เกี๊ยว ทำให้เด็ก ๆ เปลี่ยนทัศนคติ เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในการทำบะหมี่เกี๊ยวที่เชี่ยวชาญของพ่อแม่ เกิดการขยายต่อความรู้เป็นหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน ทำให้เด็ก ๆ มีรายได้เสริมจากการทำ 'บะหมี่เกี๊ยวทุ่งเทิน' แสนอร่อยอีกด้วย

ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน ลาบหมู จังหวัดเชียงใหม่

เรียนรู้และเข้าใจความต่าง เห็นคุณค่าวัฒนธรรมผ่านอาหารประจำถิ่น สำหรับคลิปนี้เป็นผลงานของกลุ่มเด็กเยาวชนแดข่องนี้ดีแต้ จ.เชียงใหม่ เด็ก ๆ จะมาสาธิตวิธีทำลาบหมูอาข่า ซึ่งเป็นอาหารประจำถิ่น อุดมด้วยสมุนไพร อร่อย และยังได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ทำให้เด็ก ๆ ได้ภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง รวมถึงการเรียนรู้วิถีความยั่งยืนของอาหารอีกด้วย 

เรื่องเล่าจากโต๊ะ

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด วิถีชีวิตของผู้คนสมัยใหม่เปลี่ยนไปตามตรรกะที่อุบัติขึ้นแม้แต่ในตำบลคลองประสงค์ จังหวัดกระบี่ วิถีชุมชนเดิมเริ่มเปลี่ยนไปเน้นบริโภคนิยม เกิดการแข่งขันและไล่ตามวัตถุนิยมมากขึ้น “เรื่องเล่าจากโต๊ะ” เป็นเรื่องราวที่ปราชญ์ ครูภูมิปัญญา หรือผู้เฒ่าในชุมชน ได้ถ่ายทอดเรื่องราววิถีการดำเนินชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับท้องทะเล บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงที่ตกทอดเป็นมรดกทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมบ้านเรือนท้องถิ่น จากอดีตกาลที่เป็นเอกลักษณ์จวบจนปัจจุบัน ผ่านกิจกรรมในโครงการศิลปะสร้างสรรค์ โกงกางสร้างสุข ชุมชนสร้างภูมิปัญญา ดำเนินงานโดย กลุ่มละครมาหยา ศูนย์สื่อสารเด็กไทยมุสลิม เพื่อเป็นองค์ความรู้ให้กับหน่วยงาน องค์กร โรงเรียน และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ อีกทั้งสืบสานเอกลักษณ์ของดีในพื้นที่และวิถีชีวิตแห่งความพอเพียงให้ยั่งยืน

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.