สมุนไพรในพระไตรปิฎก
ในยุคปัจจุบันที่คนไทยได้หันกลับมาส่งเสริมการใช้สมุนไพร การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์แผนไทยกันอย่างจริงจังมากขึ้น หนังสือ “สมุนไพรในพระไตรปิฎก” จัดทำขึ้นเพื่อ ค้นคว้า ศึกษาพืชในพระไตรปิฎกและจำแนกพืชตามหลักชื่อทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการปลูกพืชหรือสมุนไพรให้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเป็นการต่อยอดและเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจค้นคว้าสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ต่อไป
พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาสุขภาพในสังคมไทย
หนังสือ “พระพุทธสาสนากับภูมิปัญญาสุขภาพในสังคมไทย” เป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระความรู้ ที่ได้จากการศึกษาในหลักธรรมคำสอนในคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา เพื่อนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับ “พระธรรมวินัย” และ “พระพุทธศาสนาของชาวบ้าน” ซึ่งเป็นที่มาของการนำภูมิปัญญาสุขภาพในพระไตรปิฎกและภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชนท้องถิ่น มาผสมผสานกันจนกลายมาเป็นการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน
การนวดในพระไตรปิฎกและสายธารแห่งการนวดไทย
หนังสือ “การนวดในพระไตรปิฎกและสายธารแห่งการนวดไทย” เล่มนี้เป็นการสืบค้น ประมวลหลักฐาน วิเคราะห์ บันทึกต่าง ๆ ที่เก่าแก่ในพระไตรปิฎกคัมภีร์ ที่ชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างพระพุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทยและการนวดไทย อีกทั้งการดูแลสุขภาพในทัศนะของพุทธศาสนาและเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเชิงประจักษ์ สำหรับการเรียนรู้และเป็นประโยชน์ในการอนุรักษ์ พัฒนาภูมิปัญญาการนวดไทยต่อไป
การแพทย์ดั้งเดิมเมียนมา (พม่า) กับพระพุทธศาสนา
หนังสือ ”การแพทย์ดั้งเดิมเมียนมา (พม่า) กับพระพุทธศาสนา” เป็นการศึกษารวบรวมความรู้หลักการในพุทธศาสนาเพื่อใช้เป็นข้อมูลความรู้ในการสื่อสารสาธารณะ ให้เกิดการเรียนรู้บทบาทของพระพุทธศาสนาและการดูแลสุขภาพ โดยจะมุ่งเน้นสำรวจความเหมือนและต่างกันในการนำหลักแนวคิดจากพุทธศาสนามาใช้ในการแพทย์แบบดั้งเดิมของทั้งพม่าและแต่ละประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งเป็นแนวทางให้กับแวดวงการแพทย์ดั้งเดิมของไทยในการเรียนรู้เข้าใจหลักการและแนวทางปฏิบัติตามพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขว้างมากยิ่งขึ้น
One Moment เปลี่ยนชีวิต
บนโลกใบเดิมใบนี้ มีหลายครั้งหลายคราที่คนเรามักตั้งคำถามกับตนเอง ว่าทำไมโลกในวันนี้จึงดูวุ่นวาย สับสน และอยู่ยากมากขึ้นทุกวัน ปัญหารอบกายที่เกิดขึ้น...เกิดจากใคร ? เกิดจากใจเราที่คิดปรุงแต่งขึ้น หรือเกิดขึ้นเพราะความสัมพันธ์และระบบที่คนในสังคมคาดหวังไว้ แต่มิได้เป็นไปตามหวังจึงก่อเกิดเป็นปัญหาให้ต่างคนต่างเรียกร้องกันไม่จบสิ้น แท้จริงแล้วเราจะสามารถอยู่บนโลกใบเดิมนี้ได้อย่างเป็นสุขได้อย่างไร ? พบการเดินทางภายในกับ 40 ชีวิต 40 จุดเปลี่ยนสู่การตื่นรู้และเข้าใจความจริงของชีวิต เพื่อมองโลกใบเดิมในมุมมองใหม่ที่เป็นหนึ่งเดียวกับความจริงตามธรรมชาติ ลุกออกมาจากกรอบความคิดเดิมที่กักขังจิตใจสู่ความเป็นอิสระทางจิตและความคิดของการตื่นรู้ด้วยตนเองที่ใครก็ทำแทนเราไม่ได้...นอกจากตัวเราเอง
รายงานสรุปการถอดบทเรียนเวที International Conference on Fake News
E-book สรุปการถอดบทเรียนจากเวที International Conference on Fake News ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้นโดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาข่าวลวงข่าวปลอม โดยได้รวบรวมสรุปสาระสำคัญของการประชุมจากวิทยากรทั้งไทยและต่างประเทศจำนวนกว่า 25 ท่านไว้ในหนังสือเล่มนี้อย่างครบถ้วน เพื่อเป็นการให้ความรู้และเป็นช่องทางหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพของพลเมืองและสังคมในการรับมือกับปัญหาข่าวลวงที่ขณะนี้ก้าวสู่ปัญหาระดับโลก
รู้เท่าทันข่าว (News Literacy)
ในยุคของการสื่อสารแบบหลอมรวม ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคข่าวสารของผู้คนเปลี่ยนไป คนใช้สื่อออนไลน์หรือสื่อโซเชียลมีเดียในการสื่อสารกันมากขึ้น ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือ ไลน์ และเรามิได้เป็นเพียงผู้อ่านหรือรับชมสื่อเท่านั้น ในคน ๆ หนึ่งเป็นได้ทั้งผู้ผลิตและผู้รับสารในคร่าวเดียวกัน เราเน้นการแชร์ การส่งต่อ และการกระจายข่าวออกแบบรวดเร็ว ขาดการตรวจสอบ จึงทำให้เกิดปัญหาข่าวลวง ข่าวปลอมเกิดขึ้นมากมาย ด้วยรูปแบบการสื่อสารในสังคมยุคนี้ เราทุกคนจึงกลายเป็น “พลเมืองดิจิทัล” ที่ต้องเรียนรู้และมีทักษะในการรู้เท่าทันข่าว หรือ News Literacy คือ มีความรอบรู้ คิดวิเคราะห์ และเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล (Screen Time Management)
ข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตโดยกูเกิล พบว่าคนเราหยิบมือถือขึ้นมาดูเฉลี่ย 150 ครั้งต่อวัน รวมทั้งผลสำรวจพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลเมื่อปี 2561 พบว่าประแทศไทยติดอันดับคนใช้เวลากับอนเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลกเฉลี่ย 9 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน และยังพบเด็กเล็ก วัยไม่ถึง 2 ขวบ สามารถใช้สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องมือสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว โดยยังไม่มีวุฒิภาวะในการเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อ ดังนั้นการบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัลในเด็กและเยาวชนจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญที่พ่อแม่และผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม โดยควรมีการจำกัดเวลาการอยู่ที่หน้าจอ ที่มิได้หมายถึงการห้ามอย่างเด็ดขาด แต่หมายถึงการสร้าง สมดุลระหว่างการใช้เทคโนโลยีหรือ อุปกรณ์ดิจิทัลกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยไม่กระทบต่อสุขภาพและ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็ก เพื่อให้เขาเติบโตมาเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีความรอบรู้ทางเทคโนโลยี และรู้เท่าทันสื่ออย่างเหมาะสมตามวัยนั่นเอง
ทักษะการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy)
การเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล จัดเป็นประเด็นที่พลเมืองดิจิทัลควรให้ความสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น การเรียนรู้มารยาททางอินเทอร์เน็ต (Digital Etiquette) และการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy) เป็นทักษะที่ช่วยให้เราใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม รู้จักการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานอื่นด้วยมารยาทอันดี รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา โดยเข้าอกเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ที่มีความแตกต่างจากเรา ไม่เพิกเฉยเมื่อเห็นผู้อื่นได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องในสังคม และมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น อันเป็นคุณลักษณะของพลเมืองประชาธิปไตย
หนังสือเสียง เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต ตอน การเรียนรู้ เป็นธรรมชาติของมนุษย์ (2) : พระไพศาล วิสาโล
หนังสือเสียง "เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต" อ่านโดย สุพัตรา หัตถคุณ หนึ่งในกิจกรรม ภายใต้โครงการ "พื้นที่เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อสุขภาวะทางปัญญา" โดยสถาบันอาศรมศิลป์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
หนังสือเสียง เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต ตอน การเรียนรู้ เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ( 1 ) : พระไพศาล วิสาโล
หนังสือเสียง "เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต" อ่านโดย ณภัทร โฆษิตวัชระนันท์ หนึ่งในกิจกรรม ภายใต้โครงการ "พื้นที่เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อสุขภาวะทางปัญญา" โดยสถาบันอาศรมศิลป์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
หนังสือเสียง เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต ตอน คำตอบของชีวิต จากงานอาสา : สรวิศ ไพบูลย์รัตนากร
หนังสือเสียง "เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต" อ่านโดย ทัศนีย์ ราชวงศ์ หนึ่งในกิจกรรม ภายใต้โครงการ "พื้นที่เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อสุขภาวะทางปัญญา" โดยสถาบันอาศรมศิลป์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)