ศาสตร์พระราชาสู่หนึ่งเดียวกัน โดย ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ
ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ ได้สะท้อนแนวคิดศาสตร์แห่งปรัชญา ควรมีพื้นฐานมาจากปรัชญา “ปรัชญา” เป็นภาษาสันสกฤตมีความหมายเดียวกันกับ “ปัญญา” ในภาษาบาลี ศาสตร์พระราชาสู่ความเป็นหนึ่งเดียว ไม่ได้หมายความว่าทำตาม ๆ กันไป แต่ต้องมีพื้นฐานมาจากแนวคิดมาจากปรัชญา คือ รู้ถึงความจริง รู้ว่าความจริงกับความเท็จต่างกันอย่างไร และเรามีการคัดเลือกความจริงที่ถูกต้องมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างไร ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระราชา หมายถึงการรู้ถึงแก่นแท้ของความพอประมาณ, ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี แล้วการเป็นหนึ่งเดียวกัน คือ การประสานกันทุกฝ่ายเพื่อนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่ชีวิต
เดินสู่หนึ่งเดียวกัน กับ อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์
อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ ผู้เขียนหนังสือ “เดินทางสู่อิสรภาพ” ที่มียอดการพิมพ์หนังสือไม่ต่ำหว่า 20 ครั้ง ได้มาแบ่งปันแนวคิดจากประสบการณ์การเดินทางที่นำมาเขียนหนังสือเล่มดังกล่าว ว่าระหว่างการเดินทางนั้นได้มีการหลอมลวงดวงใจให้เป็นหนึ่งเดียวกันอย่างไรกับผู้ตนที่ไปพบเจอ มิตรภาพเกิดขึ้นโดยก้าวข้ามคำว่าผลประโยชน์และเงินตรา ความงดงามเกิดขึ้นระหว่างเส้นทางที่ก้าวเดิน จะนำพาเราไปค้นหาและรู้จักกับ ความหมายอันงดงามของชีวิต ในที่สุด
ทางสู่ใจตื่นรู้ กับ ธรากร กมลเปรมปิยะกุล
เปิดใจ ผู้แต่งหนังสือ “ทางสู่ใจตื่นรู้” โดย ธรากร กมลเปรมปิยะกุล คู่มือเพื่อการตื่นรู้ในรูปแบบ HOW-TO ที่ช่วยสร้างความตระหนักรู้และแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านเริ่มหันมาสนใจในการรู้จักตัวเอง ค้นหาความหมายของชีวิต รวมทั้งสร้างความเข้าใจในการตื่นรู้สู่ความสุขที่แท้จริง ผ่านเส้นทาง 7 ลำดับขั้นของการตื่นรู้ที่เป็นสากล เข้าใจง่าย และปฏิบัติตามได้จริง ปลุก “หัวใจของคุณ” ให้ตื่นรู้ไปด้วยกัน เพราะทางรอดของโลก อยู่ที่หัวใจตื่นรู้ของทุกคน
ธาโร่ต์พุทธวิธี สู่หัวใจตื่นรู้ โดย อ. ถาวร บุญญวรรณ
ไพ่ธาโรต์พุทธวิธี เป็นศาสตร์ในการสะท้อนถึงจิตใจและตัวตนผ่านไพ่ และใช้กระบวนการตามแนวพุทธเพื่อนำไปสู่ทางออกด้วยปัญญาและการใช้ชีวิตอย่างมีสติ ทั้งสองศาสตร์นี้มีเป้าหมายเดียวกันคือ การสร้างความตระหนักรู้และการใช้ปัญญาในการแสวงหาทางออกของชีวิตด้วยปัญญาและมีสติเป็นตัวกำกับ การบูรณาการศาสตร์ทั้งสองเข้าด้วยกันในเชิงทักษะและกระบวนการจึงทำให้เกิดผลอย่างสมบูรณ์
วิทยาศาสตร์ ปรัชญา จิตวิญญาณ สู่หนึ่งเดียวกัน
ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ มนุษย์ได้ออกตามหาความจริงหนึ่งเดียวนั้นมานานแสนนาน และที่ผ่านมาเราต่างมีวิถีการตามหาความจริงหลากหลายแนวทาง จนมาถึงวันนี้ความจริงที่มนุษย์ค้นพบจากหลากหลายเส้นทางนั้นค่อยๆ มาบรรจบพบเจอกันอย่างน่าตื่นใจ คลิปนี้จะพาเราไปพบคำตอบระหว่าง วิทยาศาสตร์ ปรัชญา จิตวิญญาณ มีการเชื่อมโยงสู่หนึ่งเดียวกันได้อย่างไร หมอปอง หรือนายแพทย์ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล แพทย์แนวมนุษยปรัชญา กับประสบการณ์ดูแลสุขภาวะกาย-จิต-จิตวิญญาณ จะมาร่วมให้คำตอบเรื่องร่วมกับนักคิดด้านปรัชญาท่านอื่น ๆ
ความดันทุเรียนสูง
ผลไม้ที่จัดอยู่ในหมวด ‘รักแรง เกลียดแรง’ คือใครเกลียดก็ไม่กินไปเลย แต่ใครที่รักก็รักมากๆ เฝ้ารอฤดูกาลที่ทุเรียนหอมฉุยจะมาถึง แล้วกินกันให้สมกับที่คิดถึง จนบางทีก็มากเกิน และส่งผลต่อพุงล้ำๆ และน้ำตาลในเส้นเลือด! รักการกินทุเรียนเราไม่ว่า แต่เราขอเตือนว่าการกินทุเรียนมีข้อควรระวัง เพื่อให้เราอยู่กินทุเรียนในฤดูกาลถัดไปได้อีกนานๆ
หนังสือเสียง เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต ตอน เรียนรู้องค์รวม สู่การเปลี่ยนแปลง : ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
อ่านโดย : คุณณฌณ พรรคสมพร หนังสือเสียง "เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต" หนึ่งในกิจกรรม ภายใต้โครงการ "พื้นที่เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อสุขภาวะทางปัญญา" โดยสถาบันอาศรมศิลป์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 48 เดือนกันยายน - เดือนตุลาคม 2562
ศิลป์สร้างสุขฉบับนี้ เปิดตัวโครงการ วิ่งสู่ชีวิตใหม่สตอรี่ : Run for New Life Story กับ 8 บุคคลต้นแบบ จาก 8 พื้นที่ทั่วประเทศ ที่กล้าเปลี่ยน...ลุกขึ้นมาวิ่งเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองเป็นเวลากว่า 3 เดือน (ก.ย. - พ.ย. 62) โดยมีการตามติดถ่ายทำจากทีมผลิตตสื่อ 8 ทีม เพื่อมาเผยแพร่ทางออนไลน์ สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนถามตัวเอง ว่า เราจะ “ปล่อย” หรือ จะ “เปลี่ยน” นอกจากนี้ภายในเล่มยังมีการนำเสนอเรื่องราวดนตรีบำบัดสร้างชีวิตใหม่ให้เยาวชนผู้หลงเดิรนทางผิด และเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกมากมาย
จุดไฟเรียนรู้คนรุ่นใหม่ด้วยเถื่อนเกมกับ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด
“...ความรู้สึกมันทำให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเรา ความรู้สึกนี่แหละที่มันสำคัญ และเป็นสิ่งที่ขาดไปในการเรียนการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์” นี่คือความรู้สึกของ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด ผู้บุกเบิกการเรียนรู้ผ่านบอร์ดเกม ชื่อว่า “เถื่อนเกม” เครื่องมือที่นำมาเติมเต็มกระบวนการเรียนรู้ ให้เกิดการทำงานระหว่างความรู้และความรู้สึก เน้นการเรียนด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ไม่ใช่แค่ให้ผู้เรียนรู้เพียงสิ่งที่ผู้สอนรู้เท่านั้น อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
อาจารย์รุ่นใหม่สนใจจิตตปัญญา
ดร.สุปรีย์ กาญจนพิศศาล หรือ อาจารย์แบต อาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ที่สนใจการสอนเรื่องการพัฒนาตนเอง และเชื่อมั่นว่าความมั่นคงของชีวิตเราสร้างได้จากภายในตัวเอง เพราะแก่นแท้ของการพัฒนาคนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เราต้องก้าวให้พ้นตัวตนของเรา เราสามารถ “สุข” ได้ สุขแบบไม่ได้ร่าเริงสุดโต่ง แต่สุขใจได้แม้ในยามปกติ นั่นคือความสุขทางจิตตปัญญา ที่เกิดจากการเดินทางสายกลาง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ มิสเตอร์เตือนภัยพิบัติ
ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ หรือ “มิสเตอร์ภัยพิบัติ” อาจารย์ดีกรีวิศวกรคอมพิวเตอร์ฯ จากเมืองนอก ผู้ซึ่งอุทิศตนตัดสินใจเดินทางกลับมาเมืองไทย นำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาเรื่องระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการจัดการภัยพิบัติ ด้วยเชื่อมั่นว่าถ้าสื่อสารทำความเข้าใจกับชาวบ้านเรื่องการป้องกันภัยพิบัติได้ดีแล้ว ชาวบ้านก็จะเตรียมการจัดการ และรับมือกับภัยพิบัติให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด นอกจากนำสื่อออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความรู้เรื่องภัยพิบัติผ่านทางเว็บไซต์ “ภัยพิบัติดอทคอม” และทวิตเตอร์ แอคเค้าท์ “ภัยพิบัติ” แล้ว อาจารย์ยังมีเป้าหมายสำคัญคือการสร้างวิศวกรคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ...อ่านต่อ
I SEE U จิตอาสาข้างเตียง
อรุณชัย นิติสุพรรัตน์ หรือคุณชัย ผู้ก่อตั้งกลุ่ม I SEE U Contemplative Care อาสาข้างเตียง มาตั้งแต่ปี 2557 เพื่อให้กำลังใจด้วยการรับฟัง และสัมผัสผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยหัวใจมากกว่าคำพูดว่า “สู้ๆ นะ” โดยคุณชัยนำประสบการณ์ที่ดูแลคุณพ่อในระยะสุดท้ายมาเป็นแนวทางในการอบรมอาสาข้างเตียง ว่า “...การดูแลพ่อแม่ที่ดีที่สุดคือ การทำในสิ่งที่เขาอยากได้ การที่ใจเราจะไม่ทุกข์ไปกับอาการที่แย่ลงของคนที่เราดูแล มันคือความสุขท่ามกลางความเสื่อมถอยลงไปจนทุกอย่างจะผ่านไปด้วยดี...” การทำงานอาสาที่อยู่ใกล้ชิดกับความตาย ทำให้เราเรียนรู้ถึงลมหายใจที่ยังอยู่อย่างรู้ค่า และพร้อมที่จะตั้งใจทำให้ทุกวันดีที่สุด อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ...อ่านต่อ