ร่วมสร้าง ชุมชนแห่งความตื่นรู้ ขับเคลื่อนสังคมสู่สันติสุขอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันเราต่างดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไม่ว่าจะความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มาพร้อมกับข้อมูลผ่านสื่อดิจิทัล ความเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่นำมาซึ่งความขัดแย้ง ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจที่อาจทำให้หลายคนตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราจะผ่านมันไปได้อย่างไร? โครงการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน โดยมูลนิธิสหธรรมมิกชน มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างวัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้ให้ผลิบานขึ้นในสังคม เชื่อมผู้คนให้เกิดขึ้นเป็นชุมชนเล็กๆ ที่แลกเปลี่ยนการเรียนรู้และสร้างการเติบโตทางจิตวิญญาณ เพื่อให้ทุกชีวิตสามารถยืนหยัดอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงได้
ความรักคือการให้อภัย - แม่มุ้ย กุสุมา จันทร์มูล
บทสนทนาเล่าเรื่องราวชีวิตของแม่มุ้ย กุสุมา จันทร์มูล นักรณรงค์เพื่อความเท่าเทียมทางเพศและสนับสนุนการทำแท้งที่ปลอดภัย ได้เล่าเรื่องราวชีวิตที่เดินทางร่วมกับลูกชายคนเดียวฝ่าฟันความเจ็บปวดมาเกินครึ่งชีวิต กับบทเรียนชีวิตที่สร้างกระบวนการเติบโตภายใน การยอมรับสภาวะในตัวตน วิธีการดูแลความสัมพันธ์กับลูกและการเปลี่ยนแปลงมุมมองความโกรธแค้นในชีวิต ด้วยการใช้ ”ความรัก” เปลี่ยนปมความโกรธให้กลายเป็นมิตรภาพ
ลุงทองดี ยอดนักปราชญ์การจักรสาน : ม่อนปิ่น : สื่อศิลป์ SE
ลุงทองดี ยอดนักปราชญ์การจักรสาน เป็นหนึ่งในผลงานของชาวม่อนปิ่น โดยสภาเด็กและเยาวชนตำบลม่อนปิ่น ที่จะแนะนำนักปราชญ์ชาวบ้านคนเก่งในตำบลม่อนปิ่น เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาชาวบ้านในกับเยาวชนรุ่นใหม่ และผู้ที่สนใจ
บ้านป่าคา ม่อนปิ่น จ.เชียงใหม่ : สื่อศิลป์SE
หมู่บ้านท่ามกลางภูเขาและธรรมชาติ บนความสูง 1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นหมู่บ้านของชาวลาหู่ ที่อพยพมาจากอ่างขางและหลักสา(หัวน้ำห้วยงู) ที่ยังคงใช้วิถีชีวิตแบบดั่งเดิมที่น่าหลงไหลง และเป็นเอกลักษณ์ ที่พร้อมต้อนรับให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม ในอนาคตบ้านป้าคาจะเป็น สื่อศิลป์SE ม่อนปิ่น ที่น่าสนใจจากนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสกับธรรมชาติ และต้องการซึบซับกับความน่าหลงไหลของวิถีชีวิตแบบดั่งเดิม
หมู่บ้านนอแล ต.ม่อนปิ่น จ.เชียงใหม่ : สื่อศิลป์SE
หมู่บ้านชาวไทย-ภูเขาเผ่าปะหล่อง ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า ทำให้เราสามารถมองเห็นประเทศพม่าที่อยู่ห่างออกไปเพียง 1 กิโลเมตรได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นเรายังสามารถสัมผัสกับธรรมได้อย่างเต็มที่ เพราะหมู่บ้านนอแลตั้งอยู่บนดอยอ่างขาง ที่โอบล้อมไปด้วยภูเขาและป่าไม้ นับได้ว่า หมู่บ้านนอแลจะเป็น สื่อศิลป์ SE ม่อนปิ่น ที่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วยเอกลักษณ์ของชุมชนที่อยู่ติดชายแดนไทย-พม่า และโอบล้อมไปด้วยธรรม
ใช้ชีวิตวิถีใหม่ ไม่ต้องระแวงขนาดนี้ : Stay home Stay safe Covid-19
ใช้ชีวิตวิถีใหม่ ไม่ต้องระแวงขนาดนี้ปะ?... การใช้ชีวิตแบบ new normal สไตล์คนรุ่นใหม่ : Stay home Stay safe Covid-19 สไตล์คนรุ่นใหม่ ก็ใช้ชีวิตแบบไม่ประมาทได้ แค่ ใส่หน้ากาก และ พกเจลแอลกอฮอล์เพื่อทำความสะอาดฆ่าเชื้อทุกครั้ง แค่นี้ก็สามารถใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ได้แล้ว ลองทำดู
เพราะโลกมันร้อน.. เราจึงต้องลงมือทำ : ความสุขสร้างได้ สปาร์คยูอีสาน
เมื่อขยะมันเยอะ มลพิษมันแยะ พืชผักก็มีแต่สารเคมี เรามาเป็นครอบครัวลดโลกร้อนกันดีกว่า
พ่อสมศักดิ์ ตะกร้าสานไม้ไผ่ : สื่อศิลป์SE
จากชาวบ้านสู่...นักปราชญ์ คุณพ่อสมศักดิ์ ชาวบ้านธรรมดาที่มีโอกาสได้เรียนการสานไม้ไผ่จาก อบต.ม่อนปิ่น แล้วนำมาต่อจนกลายเป็นนักปราชญ์ ด้านการสานไม้ไผ่ ไม่ว่าจะเป็น ตะกร้า แจกัน กระปุกออมสินและอื่นๆที่เกิดมาจากไม้ไผ่ ซึ่งเป็น สื่อศิลป์SE ของม่อนปิ่นที่จะเป็นตัวกลางในการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับชุมชนม่อนปิ่นต่อไปในอนาคต
ปิดเทอม สร้างสรรค์ รัก ผูกพัน ศรัทธา
กิจจกรรมค่ายครอบครัวสุขสันต์ สร้างสุขในชุมชน ภายใต้ การดำเนินงานของกลุ่มละครมาหยา แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ดำเนินการจัดกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ รัก ผูกพันธ์ ศรัทธา เมื่อวันที่ 25-27 มิถุนายน 2563 ณ หาดทุ่งทะเล อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ผลการดำเนินกิจกรรม -เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ในช่วงปิดเทอมของกลุ่มคนสองวัย เด็กและผู้สูงอายุ -เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างปราชญ์ท้องถิ่นกับเยาวชน -เกิดผลงานสื่อสร้างสรรค์ที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ชุมชน -เกิดช่องทางในการสื่อสารที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ -เกิดการแลกเปลี่ยนแหล่งเรียนรู้ในต่างชุมชนที่เป็นต้นแบบด้านวิสาหกิจชุมชน
โคกสลุง รักษาอดีตด้วยอนาคต
โคกสลุง เผชิญวิกฤตหลายครั้ง ทั้งจากการวางผังเมืองที่กำหนดให้โคกสลุงเป็นเขตอุตสาหกรรม การสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่สร้างความกังวลสู่คนในชุมชนชาวไทยเบิ้ง ด้วยเกรงว่าวัฒนธธรรมอันเป็นเอกลักษณ์อาจสูญหาย หรือกระทั่งถูกลืม อันเนื่องมาจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่อาจเปลี่ยนโฉมหน้าของชุมชนไปตลอดกาล แต่คนไทยเบิ้งหาใช่ยอมศิโรราบ พวกเขาต่อสู้อย่างชาญฉลาด ผ่านการนำวัฒนธรรมมาเป็นทุนในการต่อรองกับภาครัฐ กระทั่งสามารถเปลี่ยนผังเมืองของประเทศได้ จากชุมชนที่เคยถูกหมายตาให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม เป็นแหล่งถลุงแร่ บัดนี้โคกสลุงคือ ชุมชนวัฒนธรรมไทยเบิ้ง ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์