Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "สุขภาวะทางปัญญา" พบ 67 ข้อมูล

ดูแลหัวใจเจ้าตัวน้อยช่วงโควิด-19

อินโฟกราฟิกแนะนำเทคนิคให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ในการดูแลเด็กๆ ลูกหลานที่ต้องกักตัวอยู่ในบ้านช่วงโควิด-19 เด็กๆ เองก็เครียดไม่แพ้กันและบางครั้งก็ไม่เข้าใจสถานการณ์ จำเป็นที่ผู้ใหญ่ต้องเข้าใจและช่วยประคับประคองให้เด็กๆ ผ่านช่วงนี้ไปด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งไม่แพ้ผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน

วิธีเอาตัวเองออกจากความรู้สึกห่อเหี่ยว

อินโฟกราฟิกอธิบายขั้นตอนการรับมือความรู้สึกท้อแท้ ห่อเหี่ยวใจ เพื่อการสร้างสุขภาวะทางปัญญาให้รู้เท่าทันอารมณ์ห่อเหี่ยวใจที่เกิดขึ้น เกิดสติ ไม่จมดิ่งไปกับอารมณ์จนเกิดผลร้ายต่อตัวเองและคนรอบข้าง เป็นหนึ่งในสื่อจากองค์ความรู้ชุด 'เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วัน ฉันทำได้'

เทคนิครับมือข่าวร้ายและข่าวลวง

วิธีรับมือข่าวลวง (Fake News) และข่าวร้าย (Bad News) ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่เราถูกห้อมล้อมด้วยข่าวมากมาย สื่อภาพอินโฟกราฟิกนี้ รวบรวมเทคนิคการตรวจสอบข่าวและข้อมูลให้ชัวร์ก่อนแชร์ และเทคนิคการรับมือข่าวร้ายๆ ด้วยสุขภาวะทางปัญญา ทำให้ใจไม่เป็นทุกข์และร้อนรนไปกับข่าวสารที่ได้รับ

รายงานการวิจัย โมเดลเชิงสาเหตุของสุขภาวะทางปัญญา ศาสนาและจิตวิญญาณ และดัชนีชี้วัดสุขภาพ โดยมีปัจจัยทางด้านจิตวิทยาด้านความคิด อารมณ์และสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน

รายงานการศึกษาถึงความเชื่อมโยงของสุขภาวะทางปัญญา ปัจจัยทางจิตวิทยา และการเคลื่อนไหวทางกาย โดยทีมอาจารย์ผู้วิจัยจากคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ JAI Center ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยประเด็นนี้ครั้งแรกของประเทศไทย ที่ยืนยันว่า สุขภาวะทางปัญญาทำให้ผู้คนมีความผาสุกทางจิตใจ และเอื้อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย โดยงานวิจัยครั้งนี้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างชาวไทย จำนวน 473 คน อายุเฉลี่ย 34.99 ปี 

สุขภาวะคนเมืองเรื่องของทุกคน

วันนี้ความเป็นเมืองกำลังรุกคืบเข้าไปในทุกพื้นที่ พร้อม ๆ กับความสะดวกสบายที่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีและการเดินทาง ในอีกด้านวิถีชีวิตเรากำลังถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไป เราไม่อาจหยุดยั้งความเป็นเมืองที่รุกเข้ามาหาเราได้ แต่เราจะทำอย่างไรให้อยู่กับเมืองได้อย่างมีความสุข ติดตามใน ‘สุขภาวะคนเมือง เรื่องของทุกคน’ แง่มุมความคิดโดย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. จากงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการพื้นที่สร้างสรรค์สุขภาวะคนเมืองและชนบท

ทักษะการเป็นนักสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญา

การเป็นนักสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญา ต้องได้รับการฝึกฝนทักษะเรื่องการตระหนักรู้เพื่อสะท้อนตนเอง ด้วยการเรียนรู้และเข้าใจโลกภายในตนเอง มีความสมดุลทางปัญญา นอกจากนี้ต้องมีทักษะการดูแลความสัมพันธ์ในชีวิตและงานอย่างสมดุล รวมทั้งมีทักษะการคิดด้วยการมองภาพรวมและเชื่อมโยงมิติทางสังคม โดยทักษะเหล่านี้จะมาช่วยสร้างเสริมการออกแบบกิจกรรมได้ตรงตามเป้าหมายการพัฒนาทางปัญญา

บนเส้นทางครู (กล้าสอน รุ่น ๒)

“ครูกล้าสอน” รุ่นที่สอง หลักสูตรการอบรมกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ให้แก่ครูอาจารย์ที่เข้าร่วมในโครงการ เพื่อนำประสบการณ์ความรู้ที่ได้ร่วมอบรมไปปรับใช้ฟื้นฟูชีวิตและทบทวนบทบาทของตัวเอง สร้างพลัง สร้างแรงบันดาลใจในการสอน รวมถึงทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งและการยอมรับในความแตกต่าง ซึ่งทักษะเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือในการเชื่อมสัมพันธ์อันดีระหว่างครูและนักเรียน เพื่อช่วยกันสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในชั้นเรียนต่อไป 

คฑา มหากายี : ใช้โลกนี้เป็นห้องเรียน แล้วให้เด็กๆ รู้จากประสบการณ์ตรง

คฑา มหากายี เจ้าของโรงแรมพระนครนอนเล่น นักธุรกิจที่เชื่อมั่นในวิถีแห่งธรรมชาติ กับการตั้งคำถามถึงระบบการศึกษาไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน ที่มีข้อจำกัดและยังไม่สามารถตอบโจทย์ให้แก่ชีวิตหลากมิติของมนุษย์ได้ จึงได้เกิด ”บ้านเรียน”  หรือ Home School ด้วยกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์โดยใช้โลกแห่งธรรมชาติ ต้นไม้ ลำธาร ท้องฟ้าและผืนดินเป็นห้องเรียน เพื่อสร้างวินัยและให้เด็กได้เรียนรู้ชีวิตจากประสบการณ์จริง

ประชา หุตานุวัตร : เราต้องช่วยกันเรียน ไม่ใช่แข่งกันเรียน

‘ประชา หุตานุวัตร’ กระบวนกรรุ่นใหญ่ ผู้บุกเบิกกระบวนการเรียนรู้ที่เข้าถึงชีวิตจิตใจในแวดวงการศึกษาทางเลือก และผู้จัดทำหลักสูตร Awakening Leadership Training Program กับบทความเรื่องการแข่งขันกันเรียนในโลกปัจจุบัน ที่ทำร้ายและลดคุณค่าในตัวตนของเด็กและครูผู้สอน การจะผลักดันให้เกิดการศึกษาที่ไม่ทำร้ายและลดคุณค่าความเป็นคนได้นั้น จะต้องเริ่มจากการให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้ ร่วมสร้างองค์ความรู้ มีความเข้าใจในเรื่องของการศึกษา มีความเป็นมิตรเห็นอกเห็นใจกัน เพื่อช่วยกันเรียน รวมถึงครูและนักเรียนเองจะต้องมีความเข้าใจและสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน 

ออกแบบการเรียน เปลี่ยนคำว่า ต้องรู้ เป็น อยากรู้

กิจกรรมการอบรม “ครูกล้าสอน” ชุดการเรียนรู้ที่ 3 “ครูผู้ออกแบบการเรียนรู้” เป็นการทบทวนเนื้อหาการเรียนรู้และการนำไปปฏิบัติจริงจากชุดการเรียนครั้งที่ผ่านมา ครูอาจารย์ที่เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมในหลักสูตรครั้งนี้ ได้เรียนรู้หลักการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ วิธีการกระตุ้นความสนใจ สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่มีพลัง สนับสนุนช่วยเหลือและไว้วางใจต่อกัน ผ่านกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นกระบวนการสร้างการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาการออกแบบการเรียนรู้ในห้องเรียนให้ดียิ่งขึ้น

มนุษย์ครู ในวันที่การศึกษาไม่เอื้อต่อการสร้างความเป็นมนุษย์

'มนุษย์ครู' ในวันที่การศึกษาไม่เอื้อต่อการสร้างความเป็นมนุษย์ชวนครูสำรวจความเป็นมนุษย์ในตัวเอง ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่มีพลัง ส่งต่อไปยังห้องเรียนจากวงแลกเปลี่ยน “รวมพลคนกล้าสอน สู่การเรียนรู้มีชีวิต” เมื่อวันที่ 21 ก.ค.2561

Courage to Teach ชวนครูเปลี่ยนห้องเรียนด้วยความกล้า

หลักสูตร “ครูกล้าสอน” จากทีม new spirit ภายใต้โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่จะช่วยผลักดันระบบการศึกษาในประเทศไทยให้ดีขึ้น ด้วยการสร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาศักยภาพในตัวครู ในหลักสูตรของโครงการมีอยู่ 3 ชุดการเรียนรู้ด้วยกันคือ “ครูผู้ตื่นรู้ในตน” “ครูผู้ตั้งคำถามทรงพลัง” และ “ครูผู้ออกแบบการเรียนรู้” ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักคือ ครู อาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษา เพราะนอกจากครูจะต้องมีความเชี่ยวชาญในวิชาที่ตนเองสอนแล้ว ครูยังจะต้องมีความตระหนักรู้ มีความเข้าใจและทบทวนตัวเอง รวมถึงต้องเข้าใจจิตใจของนักเรียนในชั้นเรียน เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.