เปิดเมือง เปิดใจ มาสร้างภูมิคุ้มใจ ต้อนรับชีวิตวิถีใหม่
เปิดเมือง เปิดใจ ต้อนรับ ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ที่จะไม่เหมือนเดิม นอกจากสุขภาพกายที่ยังคงต้องระมัดระวังกันต่อไป สุขภาพใจก็ละเลยไม่ได้เช่นกัน ชวนสร้าง "ภูมิคุ้มใจ" ไว้ต้อนรับวิถีชีวิตใหม่ให้มีความสุข โดยมี 4 หมวดกิจกรรม ให้เลือกลองทำ #ปรับชีวิตเปลี่ยนโหมดใจ ให้เข้ากับชีวิตวิถีใหม่ ต้องมีสติเสมอ ใช้โอกาสนี้ฝึกเรียนรู้ พัฒนาจิตใจให้ดีและแข็งแรงขึ้นได้ #ใคร่ครวญโลกภายใน แม้วันนี้จะออกนอกบ้านได้ แต่การเดินทางภายในยังคงสำคัญ ยุคหลังกักตัวอยู่บ้าน วิกฤตโควิดได้สอนอะไรเรา อะไรสำคัญกับชีวิต ความคิดและความรู้สึกของเราส่งจะผลต่อชีวิตใหม่นี้อย่างไร #สานใจในความสัมพันธ์ - ชีวิตวิถีใหม่จะแตกต่างไปจากเดิม เช่น เราไม่อาจใกล้ชิดกันได้เท่าเดิม ไม่อาจใช้เวลาร่วมกันได้นานเหมือนเช่นเคย แต่มีหลายวิธีที่อยากแนะนำที่จะช่วยสานความสัมพันธ์ได้ แม้กายจะห่างไกลกัน #สรรค์สร้างใจสู่ความสงบ - ชีวิตวิถีใหม่ อาจทำให้รู้สึกแปลกแยก กังวล เครียด แต่ยังมีข้อแนะนำดีๆ ที่จะช่วยให้เราอยู่กับตัวเองอย่างมีความสุขและนำความสงบมาสู่ชีวิตวิถีใหม่ได้ไม่ยาก
ดูแลหัวใจเจ้าตัวน้อยช่วงโควิด-19
อินโฟกราฟิกแนะนำเทคนิคให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ในการดูแลเด็กๆ ลูกหลานที่ต้องกักตัวอยู่ในบ้านช่วงโควิด-19 เด็กๆ เองก็เครียดไม่แพ้กันและบางครั้งก็ไม่เข้าใจสถานการณ์ จำเป็นที่ผู้ใหญ่ต้องเข้าใจและช่วยประคับประคองให้เด็กๆ ผ่านช่วงนี้ไปด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งไม่แพ้ผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 51 เดือนมีนาคม - เดือนเมษายน 2563
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับ Social Distancing ต่อเนื่องจาก Virtual Run ในโครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ Run For New Life Story ‘จะปล่อย’ หรือ ‘จะเปลี่ยน’ กับกิจกรรม ‘วิ่ง’ ในรูปแบบ Virtual Run ซึ่งเป็นการวิ่งเสมือนร่วมอยู่ในงานจริง โดยฉบับนี้จะมุ่งเน้นให้ความรู้ในเรื่องของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ไวรัสโคโรน่า กับวิธีป้องกัน การรักษาระยะห่างทางสังคมและการสังเกตอาการของโรค รวมถึงการออกกำลังกาย เพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ภายในบ้าน
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 50 เดือนมกราคม - เดือนกุมภาพันธ์ 2563
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับ Virtual Run เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากโครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ Run For New Life Story “จะปล่อย” หรือ “จะเปลี่ยน” ระยะที่ 1 ซึ่งยังคงเป้าหมายเดิมที่อยากผลักดันให้คนในสังคมตื่นตัวหันมาทำกิจกรรมดูแลสุขภาพ ด้วยกิจกรรม Virtual Run โดยผู้ร่วมกิจกรรมสามารถวิ่งที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องวิ่งจริงในงาน ซึ่งกติกาในการวิ่งนั้น ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก โดยเป้าหมายหลักของกิจกรรมคือ ต้องการให้คนในสังคมลุกขึ้นมาออกกำลังกาย เปลี่ยนแปลงตัวเองจากพฤติกรรมเดิม ๆ
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 49 เดือนพฤศจิกายน - เดือนธันวาคม 2562
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับ เข้าเส้นชัย ในโครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ Run For New Life Story “จะปล่อย” หรือ “จะเปลี่ยน” บทพิสูจน์สุดท้ายกับ 8 บุคคลต้นแบบ ตลอดระยะเวลากว่า 3 เดือน ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมในโครงการ เพื่อพลักดันกระแสการวิ่งให้เกิดขึ้นในกลุ่มคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ผู้พิการ ผู้มีอาการออฟฟิศซินโดรม ให้เกิดแรงบันดาลใจ เกิดการตื่นตัวเรื่องสุขภาพและกิจกรรมทางกาย รวมถึงส่งต่อเรื่องราวดี ๆ สู่สังคมในรูปแบบสารคดีกึ่งเรียลลิตี้ที่ผลิตโดยเยาวชน
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - สันต์ ใจยอดศิลป์
นพ. สันต์ ใจยอดศิลป์ อดีตศัลยแพทย์หัวใจ ผู้ที่ให้นิยามของการตื่นรู้ คือความว่าง คนเรามักทุกข์กับความเชื่อในความจริงแท้ถาวร ที่ประกอบขึ้นจากร่างกายและความคิด การตื่นรู้คือการวางความเชื่อลง เราก็จะไม่ทุกข์ การตื่นรู้เป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนเข้าถึงได้ขอเพียงต้อง “เอาจริง” ในการฝึกฝนและปฏิบัติติเท่านั้น
สมุดเบาใจ
สมุดเบาใจ เป็นสมุดคู่กาย เพื่อให้เราทุกคนได้ทบทวน และวางแผนชีวิตในช่วงวาระสุดท้าย เพื่อการจากไปอย่างมีคุณภาพ ทุกคนสามารถแสดงเจตนาของตนเองได้ทุกช่วงเวลา ไม่ต้องรอให้เจ็บป่วยหรือเข้าสู่วาระสุดท้ายก็ได้ เพื่อสื่อสารกับครอบครัว หรือคนใกล้ชิด ให้พวกเขาได้เตรียมการในการส่งเราจากไปอย่างสุขสงบ เนื้อหาในสมุดจะเป็นข้อมูลส่วนตัวของเรา การเตรียมตัวเตรียมใจต่อการจากไป มีความต้องการจะรักษาแบบประคับประคองไหม ข้อมูลต่าง ๆ ในสมุดเบาใจ ได้รับการรับรองตาม พรบ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เพื่อให้บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข เพื่อการยืดการตายในวาระสุดท้าย เป็นการยุติความเจ็บปวดทรมาน
สมุนไพรในพระไตรปิฎก
ในยุคปัจจุบันที่คนไทยได้หันกลับมาส่งเสริมการใช้สมุนไพร การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์แผนไทยกันอย่างจริงจังมากขึ้น หนังสือ “สมุนไพรในพระไตรปิฎก” จัดทำขึ้นเพื่อ ค้นคว้า ศึกษาพืชในพระไตรปิฎกและจำแนกพืชตามหลักชื่อทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการปลูกพืชหรือสมุนไพรให้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเป็นการต่อยอดและเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจค้นคว้าสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ต่อไป
พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาสุขภาพในสังคมไทย
หนังสือ “พระพุทธสาสนากับภูมิปัญญาสุขภาพในสังคมไทย” เป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระความรู้ ที่ได้จากการศึกษาในหลักธรรมคำสอนในคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา เพื่อนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับ “พระธรรมวินัย” และ “พระพุทธศาสนาของชาวบ้าน” ซึ่งเป็นที่มาของการนำภูมิปัญญาสุขภาพในพระไตรปิฎกและภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชนท้องถิ่น มาผสมผสานกันจนกลายมาเป็นการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน
การนวดในพระไตรปิฎกและสายธารแห่งการนวดไทย
หนังสือ “การนวดในพระไตรปิฎกและสายธารแห่งการนวดไทย” เล่มนี้เป็นการสืบค้น ประมวลหลักฐาน วิเคราะห์ บันทึกต่าง ๆ ที่เก่าแก่ในพระไตรปิฎกคัมภีร์ ที่ชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างพระพุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทยและการนวดไทย อีกทั้งการดูแลสุขภาพในทัศนะของพุทธศาสนาและเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเชิงประจักษ์ สำหรับการเรียนรู้และเป็นประโยชน์ในการอนุรักษ์ พัฒนาภูมิปัญญาการนวดไทยต่อไป