ร่วมหนุนกองทุนสื่อสร้างสรรค์ฉบับประชาชน
สื่อสีสันสดใสนำเสนอมุมมองที่มาและความสำคัญของการมีกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เพื่อเด็ก-เยาวชนและครอบครัว ฉบับเนื้อหาสำหรับประชาชน ประกอบไปด้วยสถานการณ์และสถิติการใช้สื่อที่น่าเป็นห่วงของเด็กไทย ความสำคัญ กระบวนการ และบทบาทสำคัญในการจัดตั้งกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมถึงบทบาทของภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมตรวจสอบให้การออกกฎหมายและการบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
MIDL กับพลเมืองประชาธิปไตย
คลิปอินโฟกราฟิกนำเสนอข้อมูลประเภทหรือกลุ่มของพลเมืองที่มีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลในระดับที่แตกต่างกันให้เข้าใจได้อย่างง่าย ๆ โดยในสังคมประชาธิปไตย เราแบ่งกลุ่มพลเมืองในการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ออกเป็น 3 ระดับ คือ พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ ที่คิด วิเคราะห์ และประเมินคุณค่าของสื่อได้อย่างดี สามารถนำไปปรับใช้เพื่อประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ถัดมาคือ พลเมืองที่มีส่วนร่วม ซึ่งนอกจากมีความเข้าใจสื่ออย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังพัฒนาและผลิตเนื้อหา ข่าวสารให้เกิดประโชยน์ต่อชุมชน สังคมอย่างมีความรับผิดชอบและมีจริยธรรม สุดท้ายคือพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมของสังคม มีการใช้สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม อย่างมีเสรีภาพ เน้นการผลักดันเชิงนโยบาย กฎหมาย สร้างวัฒนธรรมของสื่อที่ดีและมีคุณภาพ
MIDL คืออะไร
เรียนรู้ความหมายของการเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจจิทัลในศตรรษที่ 21 ผ่านคลิปอินโฟกราฟิกที่เข้าใจง่าย จากสถานการณ์การสื่อสารแบบไร้พรมแดนในโลกที่มากขึ้น ทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อได้หลายหลากยิ่งขึ้นผ่านสื่อดิจิทัล หรือ สมาร์ทโฟน โลกของความจริงได้หลอมรวมให้คนเราเข้าสู่โลกเสมือนจริงด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยและรวดเร็ว คนเราเป็นได้ทั้งผู้เสพสื่อและผู้ผลิตสื่อในคราวเดียวกัน ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและสื่อดิจิทัล ที่เรียกว่า Media Information and Digital Literacy (MIDL) โดยรัฐต้องเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้าถึงสื่ออย่างเท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกันประชาชนต้องมีรอบรู้ในการคิด วิเคราะห์สื่ออย่างชาญฉลาด ไม่หลงเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์ รวมทั้งมีการเสพและผลิตสื่ออย่างสร้างสรรค์
ขบวนการนกกระจิ๊ด ตอน เพื่อนใหม่
เรียนรู้เรื่องการยอมรับความหลากหลายผ่านแอนิเมชั่นน่ารัก ๆ เรื่องขบวนการนกกระจิ๊ด ตอนนี้ขบวนการนกกระจิ๊ด ได้เพื่อนใหม่เพิ่มขึ้น เมื่อวันหนึ่งคุณครูพาเพื่อนใหม่ น้องปอแก้ว ชาวเขาจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน มาแนะนำให้เพื่อน ๆ ที่ห้องเรียน ชั้น ป.4 ได้รู้จัก แต่กลับถูกเพื่อนล้อเลียนและถามคำถามที่ไม่เหมาะสม เพราะไปติดกับภาพลักษณ์การพูดไม่ชัด สำเนียงชาวเขาจากละครมา ร้อนถึงคุณครูต้องกล่าวตักเตือนไม่ให้กระทำเช่นนี้อีก
ขบวนการนกกระจิ๊ด ตอน การแสดงห้องเรียนชั้น ป.4
จุดประเด็นเรื่องสิทธิพลเมืองและการใช้สิทธิการมีส่วนร่วมตามหลักประชาธิปไตยผ่านการ์ตูนแอนิเมชั่น ขบวนการนกกระจิ๊ด ให้เด็ก ๆ วัยเรียนได้เข้าใจและเรียนรู้ จากสถานการณ์การคัดเลือกการแสดงในเทศกาลปีใหม่ ณ ห้องเรียนชั้น ป.4 ที่เกิดความคิดต่างกัน ระหว่างการร้องเพลง และการแสดงซูปเปอร์ฮีโร่ การโหวตเพื่อเลือกข้างทันที นั้นคือประชาธิปไตยจริงหรือ ??? เอาล่ะ...เพื่อนๆ ในห้องเรียนชั้น ป.4 จะทำอย่างไร ต้องติดตามชม
ตัวละครกับการผลิตซ้ำความเป็นอื่น
สื่ออินโฟกราฟิก สรุปประเด็นจากรายงานการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การพัฒนาแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL) และแนวคิดพหุวัฒนธรรมกับการสร้างพลเมืองประชาธิปไตย ชี้ประเด็นรู้เท่าทันสื่อในละครไทยกับภาพการผลิตซ้ำที่เรามักพบเป็นรูปแบบประจำ คือ พระเอก หล่อ รวย ดี นางเอก สวย น่าสงสาร แต่ก็สู้คน นางอิจฉาร้ายกาจทำทุกทางให้ได้พระเอกมา และคนรับใช้ที่ยอมนายเสมอ ซึ่งภาพจำเหล่านี้ของตัวละคร ก่อให้เกิดอัตลักษณ์ทางความคิด การด่วนตัดสินคุณค่าของคน เลือกปฏิบัติ ลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในสังคม เพราะฉะนั้นทั้งผู้ผลิตและผู้ชมละครต้องหันมาสร้างและเสพสื่ออย่างสร้างสรรค์ เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเห็นอกเห็นใจกัน
อินโฟกราฟิก การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น ปี 2560
ผลสรุปรายงานการศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่นปี 2560 แบบเข้าใจง่ายๆ ด้วยรูปแบบอินโฟกราฟิก ชี้ว่าการรังแกกันบนโลกออนไลน์ ทั้งการจับกลุ่มนินทา การส่งรูปภาพไปก่อกวน การคุกคามทางเพศ การแอบอ้างสวมรอย การลบหรือบล็อคผู้อื่นอย่างไม่มีเหตุผล พบเยาวชนไทยอายุ 13-18 ปี เกิน 2 ใน 3 เคยเป็นผู้กระทำและผู้ถูกเคย ซึ่งเกิดผลกระทบทำให้เครียด กังวล หวาดกลัว และอับอาย โดยทางแก้ไขจำเป็นต้องอาศัยทั้งตัวเยาวชน ผู้ปกครอง พ่อแม่ ค่อยเป็นหูเป็นตา สอดส่องให้ใช้งานสื่อโซเซียลอย่างสร้างสรรค์
รายงานผลการศึกษา โครงการจัดทำคู่มือสิทธิเด็กกับแนวทางปกป้องเด็กจากสื่อออนไลน์
งานวิจัยที่ศึกษาข้อมูลสถานการณ์ ปัญหา ผลกระทบประเด็นการถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ เพื่อนำมาเป็นแนวทางจัดทำคู่มือการปกป้องสิทธิเด็กในสื่อออนไลน์ สืบเนื่องจากปัญหาที่คุกคามเด็กทางสื่อออนไลน์ มักมาในรูปแบบของการโฆษณาแฝง การกลั่นแกล้งกันทางอินเทอร์เน็ต การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยในยุคสังคม 4.0 ที่การสื่อสารทันสมัยด้วยระบบดิจิทัล พ่อแม่ผู้ปกครองไม่สามารถกันเด็กๆ ออกจากสื่อ Social Media ได้ ดังนั้นจึงเป็นที่มาในการวิจัยข้อมูลเพื่อสนับสนุนการริเริ่มโคงการจัดทำคู่มือหรือแนวทางการปกป้องเด็กจากสื่อออนไลน์ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในการดูแลเอาใจใส่ พูดคุย และทำความเข้าใจสื่อสารกับเด็ก ๆ ได้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน