Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "สื่อ" พบ 1143 ข้อมูล

สื่อรณรงค์เพื่อการปฎิรูปโครงสร้างการจัดสรรที่ดินในประเทศไทย โดย คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต

โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept :  จากข่าวต่างๆ ตามทีวีและหน้าหนังสือพิมพ์ หรือสื่อต่างๆ จะเห็นปัญหาการความเหลื่อมล้ำทางสังคม คุณภาพชีวิตของผู้คนยิ่งถี่ห่าง ความเหลื่อมล้ำก็มากขึ้นเท่านั้น ปัญหาการเอาเปรียบระหว่างคนชั้นสูงคนชั้นกลาง และคนชั้นล่างจึงเกิดขึ้นอย่างชัดเจน โดยอาศัยข้อได้เปรียบทางการเงิน ความรู้ ปัญหาเรื่องโครงสร้างการจัดสรร “ที่ดิน” หรือ “ที่ทำกิน” เป็นปัญหาหนึ่งที่ถูกนำเสนอพูดถึงอยู่บ่อยๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักมีอายุอยู่ได้ไม่นาน…ไม่ใช่เพราะถูกแก้ แต่เหตุผลคือคนไทยขี้ลืม...การเลือกทำสื่อหัวข้อนี้เพราะไม่อยากให้ทุกคนแค่ ”รับรู้” ถึงปัญหา แต่อยากให้ “รู้สึก” ถึงหัวใจของคนที่ถูกกระทำ และพร้อมที่จะช่วยกันแก้ปัญหา 

ผักดีมีจริงหรือ โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept :  การใช้ “สารเคมี” ภาคเกษตรกรรมของไทยมีอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ผู้บริโภคในปัจจุบันพยายามจะหลีกเลี่ยงการบริโภคผักปนเปื้อนสารเคมี แต่ก็ใช้ว่าจะรอดพ้น เมื่อผู้บริโภคมี “เคล็ดลับ” ในการเลือก เกษตรกรผู้ปลูกผัก รวมทั้งแม่ค้า ก็มีกลยุทธ์ในการ “สร้างภาพ” อำพรางความจริงได้อย่างแนบเนียนเช่นกัน นักศึกษาจึงเลือกผลิตสื่อเพื่อนำเสนอสภาพปัญหาจากสถานการณ์จริง พร้อมทั้งนำเสนอ “ทางเลือก” ให้กับผู้บริโภค โดยชี้ให้เห็นว่า การแก้ปัญหาการใช้สารเคมีในภาคเกษตรจะเปลี่ยนก็ต่อผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม และเมื่อหนึ่งคนเปลี่ยน หลายคนเปลี่ยน ในที่สุดสังคมก็จะเปลี่ยน

ข้าวคร่าว

โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept : “ข้าว” เป็นอาหารหลักของคนไทย แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้าวที่เราบริโภคนั้นปลอดภัย “มอดในข้าว” ที่มักถูกผู้คนรังเกียจจะให้คำตอบกับเราได้ นิทรรศการหัวข้อเรื่อง “ข้าวคร่าว” จะนำผลการทดลองมาจัดแสดง เพื่อให้ผู้ชมรู้ว่ามอดมาจากไหน มีอันตรายหรือไม่ และมอดมีความเชื่อมโยงอย่างไรกับข้าวอินทรีย์ หรือข้าวเจือปนสารเคมี ซึ่งจะทำให้ผู้ชมรับรู้ เข้าใจและตระหนักถึงที่มาของข้าวที่รับประทานอยู่ทุกวัน เห็นคุณค่าของวิถีการเกษตรแบบดั้งเดิม รวมถึงส่งต่อความสนใจและตั้งคำถามต่อข้อมูลที่ได้รับไปค้นคว้าต่อไป 

ปลุกผัก โดย กลุ่มคัดผัก

โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ผลงาน คัดผัก(KUDPAK) ตอน ปลุกผัก ม.ศิลปากร Concept : ผักเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแต่ต้องเป็นผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีระดับสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ออก “ตรารับรอง” ให้กับผัก ผลไม้ปลอดสารเคมี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับตรารับรองมาตรฐานเหล่านี้ “ตื่นตรา-ปลุกผัก” เป็นสื่อที่ต้องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตรารับต่างต่างๆ ในรูปแบบสื่อที่เข้าใจง่าย สั้น ตรงประเด็น เพื่อให้ประชาชนที่ใส่ใจสุขภาพ หันมา รับประทานผักให้มากขึ้น และสามารถเลือกผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีสารเคมีอยู่ในระดับที่ปลอดภัยมาบริโภคได้อย่างมั่นใจด้วยการดูจากตรารับรอง 

ตื่นตรา โดย กลุ่มคัดผัก

โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ผลงาน คัดผัก(KUDPAK) ตอน ตื่นตรา ม.ศิลปากร Concept : ผักเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแต่ต้องเป็นผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีระดับสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ออก “ตรารับรอง” ให้กับผัก ผลไม้ปลอดสารเคมี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับตรารับรองมาตรฐานเหล่านี้ “ตื่นตรา-ปลุกผัก” เป็นสื่อที่ต้องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตรารับต่างต่างๆ ในรูปแบบสื่อที่เข้าใจง่าย สั้น ตรงประเด็น เพื่อให้ประชาชนที่ใส่ใจสุขภาพ หันมา รับประทานผักให้มากขึ้น และสามารถเลือกผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีสารเคมีอยู่ในระดับที่ปลอดภัยมาบริโภคได้อย่างมั่นใจด้วยการดูจากตรารับรอง 

boomsharang โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร

สะกิดเตือนให้ผู้ใช้สื่ออนไลน์เช็คและคิดก่อนที่จะแชร์ข้อมูลใดๆออกไป เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียย้อนกลับมา  

10 เหตุผลที่เราควรเลิกใช้หลอดพลาสติก

หลอดพลาสติกเป็นสิ่งที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ขนาดของหลอดที่เล็กเกินกว่าจะเก็บไปรีไซเคิล หลุดไปลอยอยู่ในทะเลมหาศาล กลายเป็นอาวุธทำร้ายสัตว์ทะเลทั้งเล็กใหญ่ แถมยังแตกตัวกลายเป็นไมโครพลาสติกที่เล็กจิ๋วเป็นแพลงก์ตอน เข้าไปปะปนอยู่ในสัตว์ทะเลที่ถูกจับกลายมาเป็นอาหารของเราอีกที นั่นแปลว่าเราเองก็กำลังกินเจ้าขยะพลาสติกนี้ไปด้วยโดยไม่รู้ตัว สิ่งหนึ่งที่เราเริ่มต้นทำได้ทันทีไม่ยากเลย คือการปฏิเสธหลอดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพื่อลดขยะบนโลกนี้ด้วยตัวเราเอง

สายกรีน ปฏิบัติ

วิธีลดขยะในชีวิตประจำวันมีมากมาย Greenery ลองจับเคล็ดลับเด็ด ๆ ทำไม่ยาก มาจับใส่หมวดจัดหมู่ง่าย ๆ ให้เราได้จดจำ เพื่อช่วยให้การลงมือปฏิบัติจริงเป็นไปได้ง่ายขึ้น โดยรวบรวมเหล่าแฮชแท็กที่รวบรวมมาจากภารกิจ #GreeneryChallenge ให้สายกรีนได้เลือกลด เลือกเริ่ม และเลือกร่วมอุดมกรีนไปด้วยกัน

มอง (ข้าว) กล้องหน่อย

หลายคนรู้ประโยชน์ของข้าวกล้อง แต่ก็ยังกลัวๆ กล้าๆ เกิดคำถามว่าข้าวกล้องจะแข็งไหม อร่อยหรือเปล่า หุงไม่เป็น ลองกินแล้วไม่ชอบ ฯลฯ อินโฟกราฟิกชิ้นนี้จะชวนให้ทุกคนลองมามองข้าวกล้องในมุมมองใหม่ ว่านอกจากประโยชน์จะคับเมล็ดแล้ว ยังมีทริกในการหุงให้ง่าย หุงให้อร่อย ด้วย

คนเจ้าน้ำตาล หยุดดราม่าด้วยการบริโภคน้ำตาลอย่างพอดี

ใครจะรู้ว่า...บางทีอาการทางกายที่เราเป็นอยู่ ซึมเศร้า หดหู่ ฟันผุ กระดูกเปราะ ฯลฯ อาจเกิดจากการบริโภคน้ำตาลเกินไปก็ได้ ถ้าไม่อยากให้อาการดราม่าจากน้ำตาลร้ายเหล่านี้ทำร้ายเรา ลองใช้เคล็ดลับง่าย ๆ จากอินโฟกราฟิกนี้ ค่อย ๆ ลดน้ำตาลกัน

7 วิธี เปลี่ยนร้านกาแฟให้กรีน

ขยะพลาสติกอันดับต้นๆ นอกจากขวดน้ำดื่มใช้ครั้งเดียวทิ้ง คงหนีไม่พ้น ‘แก้วพลาสติก’ สำหรับเครื่องดื่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชา กาแฟ น้ำผลไม้ หรือน้ำอัดลม ที่มาเป็นคอมโบ้เซ็ตพร้อมฝาครอบ หลอด บางร้านแถมมาด้วยถุงหิ้วและพลาสติกหุ้มหลอดอีกต่างหาก นอกจากผู้บริโภคจะพยายามหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้ง ต้นทางอย่างคาเฟ่ ร้านกาแฟ หรือแม้แต่ซุ้มกาแฟเล็กๆ ก็สามารถมีส่วนในการช่วยลดขยะล้นๆ เหล่านี้ หากมีความตั้งใจจริง เรามีวิธีเบื้องต้นที่ชวนเหล่าผู้ประกอบการมาเป็น #ร้านนี้กรีนดี ไปพร้อมๆ กัน

อยู่ให้ได้ ถ้าไม่มีมัน

กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายไขมันทรานส์ โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่มกราคม 2562 ทั้งนี้เพราะไขมันทรานส์ที่เกิดจากไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วน และปัญหาสุขภาพต่าง ๆ อีกมากมาย อินโฟกราฟิกนี้ให้ความรู้เรื่องไขมันทรานส์และชวนผู้บริโภคสร้างพฤติกรรมบริโภคความมันให้น้อยลง

keyboard_arrow_up