ฉัน (ไม่) พิการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-ผังเมือง-นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จากแนวคิดที่ว่าสภาพแวดล้อมเป็นตัวกำหนดให้เกิดความพิการขึ้น ไม่ใช่เกิดจากการพิการทางร่างกายเท่านั้น และความพิการเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน จึงต้องการให้ความรู้ สร้างเข้าความใจเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้พิการ เป็นการช่วยปรับทัศนคติให้เข้าใจผู้พิการมากขึ้น และให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับผู้พิการเทียบเท่าคนปกติ
My Right ความฝัน ขาฉัน ไดอารี่ คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ผลงานโบรชัวร์ infographic นำเสนอความรู้สึกของคนพิการที่หลังได้รับอุบัติเหตุ ผ่านไดอารี่ เพื่อบอกเล่าความรู้สึกให้คนทั่วไปได้รับรู้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจคนพิการ
จับต้นชนปลาย โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ ทีมที่ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เด็กๆ ในชุมชนขาดการอบรมสั่งสอน และขาดความอบอุ่นจากพ่อแม่รวมทั้งสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยจึง คิดหาวิธีแก้ไขผ่านกิจกรรมต่างๆ และนำมาเป็นคู่มือ ที่ร่วมกันแก้ไขปัญหาให้กับเด็กๆ ในชุมชนได้หลากหลายวิธี
Words can kill - โปสเตอร์
สื่อสร้างสรรค์ชุด Words Can Kill โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สะท้อนปัญหาการใช้คำพูดในครอบครัว คำพูดที่ไม่ทันคาดคิดจากผู้ใหญ่ในครอบครัวอาจจะส่งผลเสียต่อจิตใจของเด็ก และย้อนกลับมาทำร้ายผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน ผลงานชุด Words Can Kill ประกอบด้วยสื่อโปสเตอร์ อินโฟกราฟิก หนังสั้น และสปอตรณรงค์ เพื่อกระตุ้นให้สถาบันครอบครัวและสังคมตระหนักถึงปัญหานี้ แล้วยุติการใช้คำพูดทำร้ายกัน
Creative Shield - 1
ผลงานอินโฟกราฟิก โดยนักศึกษาคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยนำเสนอเรื่องของพื้นที่สร้างสรรค์ จากการลงพื้นที่เรียนรู้ที่ชุมชนดวงแข กับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) โดยได้สะท้อนแนวคิดออกมาเป็นการทำสื่อ FB ชื่อ CreativeShield ในประเด็น ทำอย่างไรให้มีพื้นที่ให้เด็กได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด Safe Space โดยสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้าง Safe Space ในความคิดของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความมั่นใจในศักยภาพของตนเอง เกิดความเข้มแข็งที่จะปกป้องตนเองจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยอินโฟกราฟิกชิ้นนี้เป็น 1 ในผลงานที่ใช้ในการเผยแพร่
ต่างปลูก ต่างแปลง
ผลงานการสะท้อนคิดผ่านงานออกแบบชิ้นงานรูปแบบต่าง ๆ โดยนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ จุฬาลงกรณ์ นำเสนอการให้ความรู้เรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร ที่ผู้บริโภคต้องมีความรู้เกี่ยวกับอาหารที่เราบริโภคเข้าไปว่ามีวัตถุดิบประกอบด้วยอะไร การผลิตด้วยวิธีใด มีสารตกค้างหรือไม่ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค และนำเสนอทางเลือกให้กับผู้บริโภคด้วยเกษตรอินทรีย์ที่มีกระบวนการทางธรรมชาติ ปลูกด้วยธรรมชาติ ไม่ปนเปื้อนสารเคมี
ท่าเทียบเรือปากบารา โดย คณะวิทยาศาสตร์ สาขานวัตกรรมการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
คลิปอินโฟกราฟิกนำเสนอผลกระทบอีกด้านหนึ่งจากโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ผลกระทบของความเจริญในอีกด้านอาจส่งผลถึงระบบนิเวศ ธรรมชาติ วิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม สตูลอาจไม่ใช่พื้นที่สะอาด สงบ ดั่งคำขวัญที่เคยมีมา หากวันนี้ความเจริญทางวัตถุกำลังสวนทางกับวิถีธรรมชาติ เราควรจะเลือกเดินไปทางใด?
เพราะมีค่ามากกว่า โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี
คลิปวีดิโอนำเสนอผลงานการจัดทำสื่อ อาทิ เว็บไซต์ แอพพลิเคชัน และ Interactive Game โดย นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี เพื่อนำเสนอคุณค่าของ จ.กระบี่ในด้านต่าง ๆ อาทิ คุณค่าทางธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยว การประกอบอาชีพของคนในพื้นที่ แนวคิดนำเสนอให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้มีคุณค่ามากกว่าจะนำมาแลกกับเชื้อเพลิงถ่านหิน รวมไปถึงการนำเสนอข้อมูลพลังงานทางเลือกที่มีผลกระทบทางธรรมชาติให้น้อยที่สุด
มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์คนรุ่นใหม่ กับการพัฒนาประเทศไทย โดย ศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ วะสี
งานเขียนถอดความจากปาฐกถาพิเศษของ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี จากพิธีเปิดเวทีนำเสนอผลงานนักศึกษา เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม วันที่ 21 พ.ค. 2558 เนื้อหากล่าวถึงการสร้างสรรค์สังคม คือ การสร้างพลังอํานาจที่ 3 ขึ้นมาในสังคม ที่ต่างจากพลังอํานาจรัฐ พลังอํานาจเงิน ที่สำคัญหากสังคมไทยร่วมมือกันสร้างพลังที่ 3 นี้ขึ้นมาให้เต็มประเทศ ก็จะกลายเป็นกุญแจสำคัญการพัฒนาเด็ก เยาวชน นิสิต นักศึกษาจํานวนมากให้กลายเป็นคนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษา เข้าใจประเด็นของประเทศ และใช้เทคโนโลยีไอทีและสื่อสารในทางที่สร้างสรรค์ พร้อมทั้งลุกขึ้นมาเป็นกําลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
คลิปเปิดงานนิทรรศการแสดงผลงานนักศึกษา เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม ปีที่ 2
ปาฐกถาพิเศษโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี ในพิธีเปิดงานเวทีนำเสนอผลงานนักศึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม ในโครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ปีที่ 2 ชี้ให้เห็นความสำคัญของพลังเยาวชนรุ่นใหม่ แม้จะเริ่มต้นด้วยการรวมตัวของเยาวชนกลุ่มเล็ก ๆ แต่เป็นพลังปัญญา พลังทางสังคม พลังจิตสำนึก ร่วมคิดร่วมทำที่จะสังคมสู่ความเจริญได้ในที่สุด
ท่าเปลี่ยน โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผลงาน UNC ปี 2 โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ Concept : การนำเสนอข้อดีหรือสิ่งที่ดีของทะเลอันดามัน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับผลกระทบจากการสร้างโรงงานไฟฟ้าถ่านหินที่ จ.กระบี่ ผ่านสื่ออินโฟกราฟฟิคและโมชั่น กราฟฟิค ให้คนดูได้คิดตาม ควรมีหรือไม่มีโรงงานไฟฟ้าถ่านหิน
No Coal Save Krabi โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผลงาน UNC ปี 2โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ ประเด็น : ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม Concept : นำเสนอคุณค่าของทรัพยากรและธรรมชาติที่งดงามที่ จ.กระบี่ อาจจะถูกทำลายไป เพราะมีโรงไฟฟ้าถ่านหินมามดแทน