ทักษะการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy)
การเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล จัดเป็นประเด็นที่พลเมืองดิจิทัลควรให้ความสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น การเรียนรู้มารยาททางอินเทอร์เน็ต (Digital Etiquette) และการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy) เป็นทักษะที่ช่วยให้เราใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม รู้จักการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานอื่นด้วยมารยาทอันดี รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา โดยเข้าอกเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ที่มีความแตกต่างจากเรา ไม่เพิกเฉยเมื่อเห็นผู้อื่นได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องในสังคม และมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น อันเป็นคุณลักษณะของพลเมืองประชาธิปไตย
คู่มือเดินเมืองตลาดพลู
คู่มือเดินเมืองตลาดพลูชุดนี้ เป็นสื่อสร้างสรรค์สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายได้จัดทำขึ้น ภายใต้โครงการสัปดาห์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 2562 (MIDL Week 2019) ภายใต้ธีม MIDL for Inclusive Cities: สร้างเมืองของทุกคน ในวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2562 ณ ตลาดพลู กรุงเทพมหานคร
คู่มือมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือ ศพด. เป็นหน่วยงานสำคัญที่ดูแลเด็กปฐมวัย ช่วงอายุตั้งแต่ 0-6 ปี ซึ่งเป็นวัยมหัศจรรย์ของการเรียนรู้และพัฒนาการทั้งด้านสมองและร่างกาย คู่มือมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์เด็กเล็ก ได้ถ่ายทอดแนวทางการสร้างเด็กให้มีสุขภาวะที่ดีรอบด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญา เพื่อปลูกฝังเด็กให้ “คิดได้ คิดเป็น” และเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม
การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech)
การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่พลเมืองประชาธิปไตยควรเรียนรู้และทำความเข้าใจ เนื่องจากข้อมูลในโลกไซเบอร์ไม่ได้มีเพียงข่าวสาร ข้อเท็จจริง หรือเนื้อหาที่สร้างความบันเทิงเพียงด้านเดียว แต่ยังมีข้อมูลข่าวสารที่เต็มไปด้วยอคติและความรุนแรง พลเมืองประชาธิปไตยควรรู้เท่าทันสื่อ และเข้าใจผลกระทบการการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังที่มีต่อบุคคลและกลุ่มคนอื่นๆ ในมิติต่างๆ และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างจากตนเองในด้านต่างๆ เช่น แนวคิดทางการเมือง ชนชั้น ศาสนา เพศสภาพ เพื่อบรรลุความเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม เป็นผู้ที่เคารพสิทธิและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่หลากหลายได้อย่างรับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น
ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ: Digital Intelligence)
ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ: Digital Intelligence Quotient) คือ กลุ่มความสามารถทางสังคม อารมณ์ และการรับรู้ ที่จะทำให้คนคนหนึ่งสามารถเผชิญกับความท้าทายของชีวิตดิจิทัล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตดิจิทัลได้ ความฉลาดทางดิจิทัลครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในฐานะสมาชิกของโลกออนไลน์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทักษะการใช้สื่อและการเข้าสังคมในโลกออนไลน์
การรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ (Cybersecurity)
โลกดิจิทัลได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันในหลายๆ ด้าน เช่น วิธีการติดต่อกับเพื่อนและคนรู้จัก การทำธุรกรรมทางการเงิน การซื้อขายสินค้า และการรับชมสันทนาการความบันเทิงต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามโลกไซเบอร์ซึ่งรวมถึง อินเทอร์เน็ต เครือค่ายสังคมออนไลน์ โทรศัพท์มือถือ เกมออนไลน์ แอปพลิเคชั่น และอื่นๆ ยังมีภัยคุกคามที่แฝงมากับความสะดวกสบายและความบันเทิงเหล่านี้ด้วย
การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ (Cyberbullying)
การรู้เท่าทันการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและใส่ใจไม่ว่าจะเป็น เด็กและเยาวชนที่ควรได้รับการปลูกฝังให้รู้จักป้องกันตัวเอง พ่อแม่และโรงเรียนควรจะเข้าใจในการให้คำปรึกษา และภาคเอกชนผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต สื่อดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ ควรจะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายและระเบียบกติกาการใช้สื่อคอมพิวเตอร์และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสามารถจัดการปัญหาเบื้องต้นได้หากพบว่ามีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้น มีรายงานสำรวจหลายชิ้นบ่งบอกว่า ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา สถิติของการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์มีจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ
ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว PRIVACY MANAGEMENT
มีดุลพินิจในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว รู้จักปกป้องข้อมูลความส่วนตัวในโลกออนไลน์โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลออนไลน์เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวทั้งของตนเองและผู้อื่น รู้เท่าทันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต เช่น มัลแวร์ ไวรัสคอมพิวเตอร์ และกลลวงทางไซเบอร์
3 ดีสร้างสุข ตอน ภูมิดีมีสุข
คลิปแอนิเมชั่น ชุด 3 ดีสร้างสุข ตอน ภูมิดีมีสุข ทุกวันนี้เด็กๆ จะเติบโตขึ้นได้อย่างมั่นคงแข็งแกร่ง จำเป็นที่ผู้ปกครอง คุณพ่อคุณแม่ คุณครูและผู้ใหญ่ใกล้ชิด จะต้องสร้างภูมิดีให้กับเด็กๆ ซึ่งคำว่าภูมิดีนี้ ไม่ได้หมายความเพียงแค่ภูมิปัญญาทางความรู้ แต่หมายถึงภูมิความรู้เท่าทันสื่อ เท่าทันสังคม เท่าทันตนเอง เด็กที่มีภูมิที่ดี จะช่วยคุ้มครองป้องกันให้เขาเติบโต ดำเนินชีวิตไปได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
3 ดีสร้างสุข ตอน พื้นที่นี้ดีจัง
คลิปแอนิเมชั่น ตอน พื้นที่นี้ดีจัง เด็กๆ ต้องการพื้นที่ในการเติบโต พัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจอย่างสมดุล ผู้ใหญ่จำเป็นต้องเปิดพื้นที่ให้เด็ก ให้เขาได้มีพื้นที่ที่ปลอดภัย อิสระ สร้างสรรค์ พื้นที่ดีเกิดขึ้นได้ในทุกที่ ไม่ว่าจะเป็น บ้าน วัด โรงเรียน พิพิธภัณฑ์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ฯลฯ พื้นที่ดีจะเกิดขึ้นได้ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์
3 ดีสร้างสุข ตอน สื่อดีสร้างได้
คลิปแอนิเมชั่นชุด 3 ดีสร้างสุข ตอน สื่อดีสร้างได้ ว่าด้วยเรื่องของสื่อที่แวดล้อมเด็กๆ ของเรา ทุกวันนี้ 'สื่อ' อาจไม่ได้มีความหมายแค่สื่อที่เราคุ้นเคยอย่างทีวี หนังสือพิมพ์ ฯลฯ เท่านั้น แต่สื่อยังหมายถึงทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเด็กๆ ที่สามารถนำมาเป็นสื่อดี สื่อสร้างสรรค์ให้เด็กๆ เรียนรู้ได้ทั้งหมด สื่อดีสร้างได้ด้วยฝีมือคุณพ่อคุณแม่ คุณครู และผู้ใหญ่ที่แวดล้อมเด็กๆ ทุกคน
3 ดีสร้างสุข ตอน ปฐมวัยสร้างสุข
คลิปแอนนิเมชั่นชุด 3 ดีสร้างสุข ตอน ปฐมวัยสร้างสุข เนื้อหาเจาะลึกถึงการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างมีความสุขด้วยหลักการ 3 ดี ได้แก่ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี หากคุณพ่อคุณแม่ และคุณครูเข้าใจถึงความหมายของ 3 ดี และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเด็กๆ ได้อย่างเหมาะสม จะช่วยทำให้เด็กๆ เติบโตอย่างมีสุขภาวะครบทุกมิติ ทั้งกาย ใจ สังคม ปัญญา