รายงานการวิจัย ถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนดีจังอีสานตุ้มโฮม อุดรธานี
รายงานวิจัยเชิงคุณภาพ โครงการเด็กอุดรรักษ์บ้าน เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและอุปสรรคปัญหา ที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนเครือข่าย ดีจังอีสานตุ้มโฮม ในพื้นที่เมืองอุดรธานี ภายใต้แนวคิด ๓ ดี วิถีพลเมือง ผ่านกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผลิตสื่อสร้างสรรค์และมหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ให้แก่เยาวชนและชุมชน เพื่อให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ รู้เท่าทันในการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม สร้างสรรค์สื่อให้มีประโยชน์และมีความรับผิดชอบร่วมกัน โดยใช้ภูมิปัญญาของทุกฝ่ายในชุมชน สร้างความตระหนักรักในศิลปวัฒนธรรมและคุณค่าในภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งยังส่งเสริมให้แกนนำเยาวชนนักสื่อสาร มีจิตอาสาเพื่อชุมชนอีสาน มีความรับผิดชอบและความเข้าใจในงานที่ทำ เพื่อพัฒนาเป็นนักสื่อสารมวลชนที่มีคุณภาพต่อไป
การวิจัยเรื่อง ถอดบทเรียนสื่อสารสร้างสรรค์ โครงการนักสื่อสารเยาวชนคนศรีสะเกษ ฮักบ้านเกิด
งานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและกระบวนการพัฒนาในพื้นที่บ้านหว้าน ด้วยสื่อสร้างสรรค์ของแกนนำนักสื่อสารเยาวชนศรีสะเกษ ฮักบ้านเกิด กลุ่มยูอีสาน ที่นำไปสู่การพัฒนาเยาวชนและชุมชน ให้รู้เท่าทันสื่อ เท่าทันตัวเอง เท่าทันสังคม และเพื่อต่อยอดขยายผลไปยังพื้นที่สร้างสรรค์อื่น ด้วยแนวคิด ๓ ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยให้เยาวชนและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดออกแบบ ลงมือปฏิบัติกิจกรรมสื่อ หรือ ใช้นวัตกรรมให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน อีกทั้งยังส่งเสริมให้คนในชุมชนได้เห็นคุณค่าในตัวเองและเรียนรู้ อนุรักษ์ประเพณี วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ต่อเนื่องกับโครงการโรงเรียนหมู่บ้านศีล ๕ ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง เพื่อบรรเทาปัญหาเด็กเยาวชนและลดช่องว่างระหว่างบ้าน วัด โรงเรียนหรือส่วนราชการ และยังส่งเสริมให้เยาวชนเห็นคุณค่าของผู้สูงวัยที่เป็นแหล่งทางภูมิปัญญาและความรู้
รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย
รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย เป็นการศึกษาในโครงการอีสานตุ้มโฮม เพื่ออธิบายถึงกลไก กระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ที่ได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็กและ เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย มีองค์ประกอบสำคัญคือ ต้นแบบแนวคิด 3 ดี : สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยใช้แนวคิดพลเมืองประชาธิปไตยและแนวคิดการสื่อสารสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน ครอบครัว คนในชุมชน รวมทั้งเครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งมีเยาวชนเป็นแกนหลักสำคัญในการดำเนินการ เพื่อนำสู่การการเปลี่ยนแปลงภายในในชุมชนที่ดีขึ้น สามารถขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียงต่อไป
สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม กระบี่
สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม กระบี่ กับน้องๆ กลุ่ม Young Guide ที่เล็งเห็นถึงปัญหาของชุมชน จึงได้ร่วมกันผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อเผยแพร่ให้คนในชุมชน
สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม กาญจนบุรี
สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม บ้านตีนตก จ.กาญจนบุรี กับความสามารถในการผลิตคลิปวิดีโอเชิงสร้างสรรค์ของน้องๆ กลุ่มชาติพันธุ์ แม้จะขาดเครื่องไม้เครื่องมือในการผลิต แต่ก็ไม่ย่อท้อที่จะลุย!!
สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ขอนแก่น
สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ต.ท่าพระ จ.ขอนแก่น สนับสนุนให้น้องๆ ผลิตสื่อสร้างสรรค์ที่หลากหลาย เพื่อให้น้องๆ เกิดความรัก และความผูกพันกับชุมชน
A Heart in A Hand บทเรียน 4 ภาค จากสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม
รวบรวมความรู้ที่สำคัญจากการดำเนินงานโครงการ สื่อเป็นโรงเรียนสังคม จากประสบการณ์จริงของ 4 โครงการต้นแบบ จาก 4 ภูมิภาค คือโครงการนักสื่อสารข้อมูลน้ำ(ภาคเหนือ), โครงการเปิดถังข่าวปิดถังขยะ ชุมชนคนศรีสวัสดิ์ บ้านท่าตีนตก (ภาคกลาง), โครงการเรารักท่าพระ - อนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟ บ้านท่าพระ ขอนแก่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และโครงการเยาวชนนักสื่อสารสร้างสรรค์ บ้านลังกาอู้ เกาะลันตา (ภาคใต้) เกี่ยวกับการสื่อสารและการใช้สื่ออันแสนมหัศจรรย์นี้เชื่อมต่อระหว่างคน ชุมชนและธรรมชาติ เชื่อมโยงระหว่างปัจจุบัน อดีตและอนาคต เปิดประตูก้าวผ่านไปสู่โลกใบใหม่ที่เต็มไปด้วยเรื่องน่ารู่ เกร็ดน่ารัก และเป็นบ่อเกิดพลังสร้างสรรค์อันงดงามเพื่อชุมชนอย่างไม่รู้จบ
ไอดอลคิดดี สื่อดีมีไอเดีย
สรุปเรื่องราวของโครงการไอดอลคิดดี สื่อดีมีไอเดีย กับการสร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์สุขภาวะภาคใต้ (Creative Communication for Health) พลังของ 30 ทีมคนรุ่นใหม่ที่ใช้พลังสื่อสร้างสรรค์ถ่ายทอดสิ่งดี ๆ สู่สังคมในมิติต่าง ๆ ภายใต้กรอบแนวคิดสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม และการสร้างเมือง 3 ดีวิถีสุข
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่32 เดือนกรกฎาคม สิงหาคม 2560
จุลสารศิลป์สร้างสุขฉบับนี้แนะนำให้รู้จักโครงการ "คิดดี ไอดอล นักสื่อสารสร้างสรรค์สุขภาวะ" ที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้ออกมาแสดงความสามารถในการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ โดยครั้งนี้เริ่มต้นด้วยการสร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์สุขภาวะในพื้นที่ภาคใต้ ภายใต้ 3 ประเด็นสำคัญคือ 1. เท่าทันสื่อ 2. ปัจจัยเสี่ยง 3. ท้องไม่พร้อม พร้อมเรื่องราวน่าสนใจเรื่องอื่น ๆ คับแน่นคุณภาพเต็มฉบับเหมือนเดิม
ศิลปะเพื่อการสื่อสารสร้างสรรค์ - 3
คลิปวีดิโอประมวลภาพค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการสื่อสารสร้างสรรค์ "ศิลปะเพื่อการสื่อสาร" โครงการสื่อสารสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเด็กในภาวะวิกฤติ วันที่ 22 - 26 ตุลาคม 2555 ตอนสุดท้ายนี้ เด็ก ๆ ได้ออกไปเยี่ยมชมสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้เห็นการทำงานจริง ๆ ของนักสื่อสาร ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และสุดท้ายเด็ก ๆ แต่ละกลุ่มจะออกมานำเสนอผลงานสื่อสารสร้างสรรค์ของตัวเอง โดยบรรยากาศเต็มไปด้วยความสุขและความเชื่อมั่นของเด็กๆ
ศิลปะเพื่อการสื่อสารสร้างสรรค์ - 2
คลิปวีดิโอประมวลภาพค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการสื่อสารสร้างสรรค์ "ศิลปะเพื่อการสื่อสาร" โครงการสื่อสารสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเด็กในภาวะวิกฤติ วันที่ 22 - 26 ตุลาคม 2555 ตอนที่ 2 นี้ เด็ก ๆ จะได้ฝึกศิลปะการสื่อสารในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการวาดทราย การปั้นดิน ขีดเขียน พับตัด เพื่อเตรียมตัวสู่การเป็นนักสื่อสารที่สร้างสรรค์