ละคร มิติสื่อเชิงสร้างสรรค์ต่อสังคม
น้อยคนนักที่จะปฏิเสธว่าไม่เคยดูละครหลังข่าว ละครโทรทัศน์ ธุรกิจการผลิตวัฒนธรรมของสังคมสมัยใหม่ที่สะท้อนแง่มุมและกระแสชีวิตที่เกิดขึ้นในสังคมในรูปแบบความบันเทิง แต่จะทำอย่างไรให้ละครโทรทัศน์ที่มีอิทธิพลต่อคนในสังคมมีความสร้างสรรค์สามารถนำพาสังคมไปสู่สังคมที่ดีกว่าได้และยังมีความกลมกลืนกันระหว่างพาณิชย์และศิลปะที่สร้างความสุนทรีย์ในชีวิตให้กับคนดูในสังคม บทความ ละครมิติสื่อเชิงสร้างสรรค์ต่อสังคม ที่เป็นการรวมตัวกันระหว่างบุคลากรฝ่ายการละครโทรทัศน์และสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. ในเวทีเสวนา การสร้างสื่อละครมิติใหม่ ที่สามารถชักนำสังคมและชักจูงให้คนดูมีปฏิสัมพันธ์อย่างเหมาะสมกับผู้คนรอบข้างและสังคม เพื่อทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่น่าอยู่และมีสุขภาวะที่ดี ครบทั้ง 4 มิติ
คู่มือมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือ ศพด. เป็นหน่วยงานสำคัญที่ดูแลเด็กปฐมวัย ช่วงอายุตั้งแต่ 0-6 ปี ซึ่งเป็นวัยมหัศจรรย์ของการเรียนรู้และพัฒนาการทั้งด้านสมองและร่างกาย คู่มือมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์เด็กเล็ก ได้ถ่ายทอดแนวทางการสร้างเด็กให้มีสุขภาวะที่ดีรอบด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญา เพื่อปลูกฝังเด็กให้ “คิดได้ คิดเป็น” และเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม
3 ดีสร้างสุข ตอน สื่อดีสร้างได้
คลิปแอนิเมชั่นชุด 3 ดีสร้างสุข ตอน สื่อดีสร้างได้ ว่าด้วยเรื่องของสื่อที่แวดล้อมเด็กๆ ของเรา ทุกวันนี้ 'สื่อ' อาจไม่ได้มีความหมายแค่สื่อที่เราคุ้นเคยอย่างทีวี หนังสือพิมพ์ ฯลฯ เท่านั้น แต่สื่อยังหมายถึงทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเด็กๆ ที่สามารถนำมาเป็นสื่อดี สื่อสร้างสรรค์ให้เด็กๆ เรียนรู้ได้ทั้งหมด สื่อดีสร้างได้ด้วยฝีมือคุณพ่อคุณแม่ คุณครู และผู้ใหญ่ที่แวดล้อมเด็กๆ ทุกคน
มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์คนรุ่นใหม่ กับการพัฒนาประเทศไทย โดย ศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ วะสี
งานเขียนถอดความจากปาฐกถาพิเศษของ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี จากพิธีเปิดเวทีนำเสนอผลงานนักศึกษา เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม วันที่ 21 พ.ค. 2558 เนื้อหากล่าวถึงการสร้างสรรค์สังคม คือ การสร้างพลังอํานาจที่ 3 ขึ้นมาในสังคม ที่ต่างจากพลังอํานาจรัฐ พลังอํานาจเงิน ที่สำคัญหากสังคมไทยร่วมมือกันสร้างพลังที่ 3 นี้ขึ้นมาให้เต็มประเทศ ก็จะกลายเป็นกุญแจสำคัญการพัฒนาเด็ก เยาวชน นิสิต นักศึกษาจํานวนมากให้กลายเป็นคนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษา เข้าใจประเด็นของประเทศ และใช้เทคโนโลยีไอทีและสื่อสารในทางที่สร้างสรรค์ พร้อมทั้งลุกขึ้นมาเป็นกําลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
คลิปเปิดงานนิทรรศการแสดงผลงานนักศึกษา เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม ปีที่ 2
ปาฐกถาพิเศษโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี ในพิธีเปิดงานเวทีนำเสนอผลงานนักศึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม ในโครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ปีที่ 2 ชี้ให้เห็นความสำคัญของพลังเยาวชนรุ่นใหม่ แม้จะเริ่มต้นด้วยการรวมตัวของเยาวชนกลุ่มเล็ก ๆ แต่เป็นพลังปัญญา พลังทางสังคม พลังจิตสำนึก ร่วมคิดร่วมทำที่จะสังคมสู่ความเจริญได้ในที่สุด
ผักดีมีจริงหรือ โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept : การใช้ “สารเคมี” ภาคเกษตรกรรมของไทยมีอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ผู้บริโภคในปัจจุบันพยายามจะหลีกเลี่ยงการบริโภคผักปนเปื้อนสารเคมี แต่ก็ใช้ว่าจะรอดพ้น เมื่อผู้บริโภคมี “เคล็ดลับ” ในการเลือก เกษตรกรผู้ปลูกผัก รวมทั้งแม่ค้า ก็มีกลยุทธ์ในการ “สร้างภาพ” อำพรางความจริงได้อย่างแนบเนียนเช่นกัน นักศึกษาจึงเลือกผลิตสื่อเพื่อนำเสนอสภาพปัญหาจากสถานการณ์จริง พร้อมทั้งนำเสนอ “ทางเลือก” ให้กับผู้บริโภค โดยชี้ให้เห็นว่า การแก้ปัญหาการใช้สารเคมีในภาคเกษตรจะเปลี่ยนก็ต่อผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม และเมื่อหนึ่งคนเปลี่ยน หลายคนเปลี่ยน ในที่สุดสังคมก็จะเปลี่ยน
ข้าวคร่าว
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept : “ข้าว” เป็นอาหารหลักของคนไทย แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้าวที่เราบริโภคนั้นปลอดภัย “มอดในข้าว” ที่มักถูกผู้คนรังเกียจจะให้คำตอบกับเราได้ นิทรรศการหัวข้อเรื่อง “ข้าวคร่าว” จะนำผลการทดลองมาจัดแสดง เพื่อให้ผู้ชมรู้ว่ามอดมาจากไหน มีอันตรายหรือไม่ และมอดมีความเชื่อมโยงอย่างไรกับข้าวอินทรีย์ หรือข้าวเจือปนสารเคมี ซึ่งจะทำให้ผู้ชมรับรู้ เข้าใจและตระหนักถึงที่มาของข้าวที่รับประทานอยู่ทุกวัน เห็นคุณค่าของวิถีการเกษตรแบบดั้งเดิม รวมถึงส่งต่อความสนใจและตั้งคำถามต่อข้อมูลที่ได้รับไปค้นคว้าต่อไป
ปลุกผัก โดย กลุ่มคัดผัก
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ผลงาน คัดผัก(KUDPAK) ตอน ปลุกผัก ม.ศิลปากร Concept : ผักเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแต่ต้องเป็นผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีระดับสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ออก “ตรารับรอง” ให้กับผัก ผลไม้ปลอดสารเคมี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับตรารับรองมาตรฐานเหล่านี้ “ตื่นตรา-ปลุกผัก” เป็นสื่อที่ต้องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตรารับต่างต่างๆ ในรูปแบบสื่อที่เข้าใจง่าย สั้น ตรงประเด็น เพื่อให้ประชาชนที่ใส่ใจสุขภาพ หันมา รับประทานผักให้มากขึ้น และสามารถเลือกผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีสารเคมีอยู่ในระดับที่ปลอดภัยมาบริโภคได้อย่างมั่นใจด้วยการดูจากตรารับรอง
ตื่นตรา โดย กลุ่มคัดผัก
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ผลงาน คัดผัก(KUDPAK) ตอน ตื่นตรา ม.ศิลปากร Concept : ผักเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแต่ต้องเป็นผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีระดับสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ออก “ตรารับรอง” ให้กับผัก ผลไม้ปลอดสารเคมี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับตรารับรองมาตรฐานเหล่านี้ “ตื่นตรา-ปลุกผัก” เป็นสื่อที่ต้องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตรารับต่างต่างๆ ในรูปแบบสื่อที่เข้าใจง่าย สั้น ตรงประเด็น เพื่อให้ประชาชนที่ใส่ใจสุขภาพ หันมา รับประทานผักให้มากขึ้น และสามารถเลือกผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีสารเคมีอยู่ในระดับที่ปลอดภัยมาบริโภคได้อย่างมั่นใจด้วยการดูจากตรารับรอง
รายงานการวิจัย ถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนดีจังอีสานตุ้มโฮม อุดรธานี
รายงานวิจัยเชิงคุณภาพ โครงการเด็กอุดรรักษ์บ้าน เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและอุปสรรคปัญหา ที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนเครือข่าย ดีจังอีสานตุ้มโฮม ในพื้นที่เมืองอุดรธานี ภายใต้แนวคิด ๓ ดี วิถีพลเมือง ผ่านกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผลิตสื่อสร้างสรรค์และมหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ให้แก่เยาวชนและชุมชน เพื่อให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ รู้เท่าทันในการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม สร้างสรรค์สื่อให้มีประโยชน์และมีความรับผิดชอบร่วมกัน โดยใช้ภูมิปัญญาของทุกฝ่ายในชุมชน สร้างความตระหนักรักในศิลปวัฒนธรรมและคุณค่าในภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งยังส่งเสริมให้แกนนำเยาวชนนักสื่อสาร มีจิตอาสาเพื่อชุมชนอีสาน มีความรับผิดชอบและความเข้าใจในงานที่ทำ เพื่อพัฒนาเป็นนักสื่อสารมวลชนที่มีคุณภาพต่อไป
รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย
รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย เป็นการศึกษาในโครงการอีสานตุ้มโฮม เพื่ออธิบายถึงกลไก กระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ที่ได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็กและ เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย มีองค์ประกอบสำคัญคือ ต้นแบบแนวคิด 3 ดี : สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยใช้แนวคิดพลเมืองประชาธิปไตยและแนวคิดการสื่อสารสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน ครอบครัว คนในชุมชน รวมทั้งเครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งมีเยาวชนเป็นแกนหลักสำคัญในการดำเนินการ เพื่อนำสู่การการเปลี่ยนแปลงภายในในชุมชนที่ดีขึ้น สามารถขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียงต่อไป
ปัญหาผู้สูงวัย หาดใหญ่
ผลงานจากโครงการอบรมสร้างสื่อสร้างสรรค์ ผลิตคลิปสั้นด้วยมือถือ (4 ภูมิภาค)