สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา : การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ (3)
ตอนสุดท้ายของการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ เนื้อหาต่อจากตอนที่ 2 เรื่องการย้อมสีจาก ใบห้อม หรือ เทคนิคการย้อมหม้อห้อม ต้องมีการดูแลอย่างดี ขั้นตอนอาจจะยุ่งยาก เมื่อย้อมเสร็จแล้ว การที่จะปล่อยให้ผ้าเป็นสีน้ำเงินหรือสีคราม จะต้องให้ผ้ามาทำปฏิกริยากับอากาศหรือออกซิเจน ปัจจุบันหลายคนอาจตั้งคำถามว่าการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติเป็นความยุ่งยาก แต่ครูนุสราอยากให้ลองมองมุมใหม่ ให้มองเป็นความสนุก การได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติทำให้จิตใจเราอ่อนโยน เป็นความสุข การได้ลงมือทำอะไรด้วยตัวเอง เป็นชีวิตที่พอดี พอเพียง พอใจและภูมิใจที่ได้ทำ
สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา : การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ (2)
ครูนุสรา เตียงเกตุ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้า สอนเรื่องการทำสีย้อมผ้าจากธรรมชาติต่อเนื่องเป็นตอนที่ 2 ในตอนนี้เราจะได้ดูขั้นตอนการย้อมผ้า จาก “ครั่ง” ซึ่งเป็นแมลงชิ้นหนึ่ง สามารถนำรัง หรือซากของตัวครั่ง มาย้อมร้อน คือการต้มให้ได้น้ำออกมา จากนั้นนำผืนผ้าลงไปย้อมก็จะได้ สีแดง หรือสีชมพู วัตถุดิบอีกชนิดหนึ่ง คือ “เหง้าขมิ้น” เมื่อนำมาต้มก็จะได้สีน้ำตาลอมเหลือง เมื่อนำผ้ามาย้อมก็จะได้สีเหลืองขมิ้น และสุดท้ายวัตถุดิบที่อาจเรียกได้ว่าเป็นราชินีของการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติทั้งหมด คือการย้อมจาก “ใบห้อม” ที่มาจากต้นห้อม เรามักเรียกว่าสีชนิดนี้ว่า 'สีหม้อห้อม' เพราะขั้นตอนการทำสี จะมีการทำเนื้อสี และการก่อเป็นหม้อเพื่อใช้ในการย้อม การย้อมหม้อห้อมเป็นศาสตร์และศิลป์ชั้นสูงในการย้อม ต้องใช้ความละเอียดและความใส่ใจในทุกขั้นตอน
สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา : การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ (1)
ด้วยความรักในธรรมชาติ และสนใจเรื่องผ้า ครูนุสรา เตียงเกตุ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้า จึงคิดค้น และทดลอง นำสีจากธรรมชาติจากพวกใบไม้ ดอกไม้ มาเป็นสีในการย้อมผ้า โดยในตอนที่ 1 นี้ ครูนุสราจะมาสอนเคล็ดลับในการย้อมผ้าขั้นพื้นฐาน ให้เริ่มจากผ้าผืนเล็ก เช่น ผ้าเช็คหน้า และผ้าเช็คตัวก่อน เทคนิคการย้อมให้สีติดทน อาจมีการนำน้ำที่มีฤทธิ์เป็นกรด ที่ได้จากมะขาม มะกอก มะเกลือ สับปะรด และมะกรูด ส่วนน้ำด่าง ได้จากขี้เถ้า ปูนขาว เป็นต้น มาผสมกับสีที่เราสกัดจากดอกไม้ ใบไม้ เมล็ดผลไม้ต่าง ๆ ที่นำมาทำเป็นสีย้อมผ้า