For Rest s Life - Stop Motionโดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ให้ประชาชนได้รับชุดข้อมูลที่ถูกต้อง เรื่องการจัดการน้ำและสร้างเขื่อน ตระหนักถึงความสำคัญของผืนป่าตะวันตก เข้าใจ และเห็นความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้เกิดกระแสที่ช่วยผลักดันให้อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ กลายเป็นมรดกโลกในอนาคต ตัดวงจรการสร้างเขื่อน
For Rest s Life โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ให้ประชาชนได้รับชุดข้อมูลที่ถูกต้อง เรื่องการจัดการน้ำและสร้างเขื่อน ตระหนักถึงความสำคัญของผืนป่าตะวันตก เข้าใจ และเห็นความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้เกิดกระแสที่ช่วยผลักดันให้อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ กลายเป็นมรดกโลกในอนาคต ตัดวงจรการสร้างเขื่อน
Save the City โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
สร้างองค์ความรู้ให้กับเด็ก ได้เข้าใจข้อมูลง่ายๆของปัญหา โดยมีเนื้อหาที่ไม่มากเกินไป
น้ำ โดย คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
เพื่อให้คนที่ดูVDOตัวนี้ ตั้งคำถามกับตัวเองเรื่องน้ำ และหาข้อมูลข้อเท็จจริง เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตอยู่กับน้ำได้อย่างราบรื่น เพราะชาวนาจะพึ่งข่าวรัฐบาลไม่ได้ ต้องหาข้อมูลเพื่อรองรับภัยแล้งด้วย ชาวเกษตรกร หรือชาวเมืองเหมือนกัน คือตั้งคำถามและหาคำตอบให้กับตัวเอง
น้ำกำลังจะตาย โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“ น้ำกำลังตาย ” เพราะคนมองไม่เห็นคุณค่า และใช้น้ำอย่างสิ้นเปลือง เพราะไม่คิดว่าน้ำจะหมด , เหมือนมองน้ำเป็นของตาย ซึ่งของตายนั้นสามารถตายได้จริงด้วยน้ำมือของเรา , ลองตั้งคำถามกับตัวเองว่า “ เดือนนี้คุณฆ่าน้ำไปเท่าไหร่ ” ( ค่าน้ำ = สิ่งที่ใช้ไป = ฆ่าน้ำอย่างอ้อมๆ )
สปอตรณรงค์ ที่ดินของใคร - ตอนที่ 2
สปอตรณรงค์ สะท้อนประเด็นความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรที่ดินทำกินในประเทศไทย ผลงานโดยนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา จากการลงเรียนรู้พื้นที่ชุมชนราไวย์ จ.ภูเก็ต และ ชุมชนทับยาง จ.พังงา สปอตชุดนี้มี 2 ตอน ตอนที่ 2 นี้เป็นการสรุปภาพรวมตัวเลขให้เห็นถึงปัญหาการจัดสรรที่ดินทำกินในประเทศไทย ที่พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกจัดสรรอย่างไม่เป็นธรรม ส่งผลให้เกิดตัวเลขความเสียหายทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ
ป่าชายเมือง สารคดีสั้น ตอน จุดชมลิง
ผลงานสารคดีจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาโครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาร์ตและเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่บางขุนเทียน โดยแยกเป็นประเด็นต่างๆให้เห็นอย่างครอบคลุม ผลงานชุดนี้มีจำนวน 4 ตอน สำหรับตอนนี้เป็นนำเสนอในลักษณะสารคดีสั้นสะท้อนปัญหา 'จุดชมลิง' ย่านบางขุนเทียนชายทะเล ได้รับการโปรโมทเป็นสถานที่ให้คนมาชมลิง แต่ตอนนี้กำลังพบกับวิกฤติขยะที่เกิดขึ้นมากมาย
ป่าชายเมือง นักข่าวพลเมือง ตอน บางขุนเทียนกับความเปลี่ยนแปลง
ผลงานสารคดีจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาโครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาร์ตและเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่บางขุนเทียน โดยแยกเป็นประเด็นต่างๆให้เห็นอย่างครอบคลุม ผลงานชุดนี้มีจำนวน 4 ตอน ในตอนนี้เป็นเรื่องราวการสะท้อนมุมมองเยาวชนคนรุ่นใหม่ในฐานะนักข่าวพลเมือง พาไปเจาะลึกเรื่องราวของป่าชายเลนบางขุนเทียน พูดคุยกับชาวบ้านถึงวิถีชีวิตที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแหล่งธรรมชาติ กับการเผชิญหน้ากับปัญหามลพิษความทรุดโทรมที่กำลังคืบคลาน และหนทางอยู่รอดอย่างสมดุลระหว่างชีวิตและธรรมชาติ
ป่าชายเมือง Spot viral video ตอน Forest s Lost
ผลงานสารคดีจากนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาโครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาร์ตและเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่บางขุนเทียน โดยแยกเป็นประเด็นต่างๆให้เห็นอย่างครอบคลุม มีทั้งหมด 4 ตอน สำหรับผลงานชิ้นนี้เป็นสปอตรณรงค์ความยาวประมาณ 1.39 นาที กระตุ้นเตือนให้คนเห็นความสำคัญของป่าชายเลนกับชีวิต และวันนี้ผืนป่ากำลังจะหายไป
ท่าเทียบเรือปากบารา โดย คณะวิทยาศาสตร์ สาขานวัตกรรมการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
คลิปอินโฟกราฟิกนำเสนอผลกระทบอีกด้านหนึ่งจากโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ผลกระทบของความเจริญในอีกด้านอาจส่งผลถึงระบบนิเวศ ธรรมชาติ วิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม สตูลอาจไม่ใช่พื้นที่สะอาด สงบ ดั่งคำขวัญที่เคยมีมา หากวันนี้ความเจริญทางวัตถุกำลังสวนทางกับวิถีธรรมชาติ เราควรจะเลือกเดินไปทางใด?
เพราะมีค่ามากกว่า โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี
คลิปวีดิโอนำเสนอผลงานการจัดทำสื่อ อาทิ เว็บไซต์ แอพพลิเคชัน และ Interactive Game โดย นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี เพื่อนำเสนอคุณค่าของ จ.กระบี่ในด้านต่าง ๆ อาทิ คุณค่าทางธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยว การประกอบอาชีพของคนในพื้นที่ แนวคิดนำเสนอให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้มีคุณค่ามากกว่าจะนำมาแลกกับเชื้อเพลิงถ่านหิน รวมไปถึงการนำเสนอข้อมูลพลังงานทางเลือกที่มีผลกระทบทางธรรมชาติให้น้อยที่สุด
ท่าเปลี่ยน โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผลงาน UNC ปี 2 โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ Concept : การนำเสนอข้อดีหรือสิ่งที่ดีของทะเลอันดามัน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับผลกระทบจากการสร้างโรงงานไฟฟ้าถ่านหินที่ จ.กระบี่ ผ่านสื่ออินโฟกราฟฟิคและโมชั่น กราฟฟิค ให้คนดูได้คิดตาม ควรมีหรือไม่มีโรงงานไฟฟ้าถ่านหิน