ตะลุยเมือง 3 ดีต่างแดน @George Town 2014
ตะลุยเมือง 3 ดี @George Town 2014 เป็นหนังสือเล่มเล็กที่เล่าสรุปถึงเมืองจอร์จทาวน์ รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย เมื่อครั้งที่สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน พากลุ่มภาคีเครือข่ายเมือง 3 ดีไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ศิลปะมาเป็นตัวเชื่อมโยงเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เยาวชนในเมืองจอร์จทาวน์ ไม่ว่าจะเป็น การถ่ายรูป หุ่นเงา วาดภาพ หรือการทำอาหารประจำชุมชน ทำให้เยาวชนเกิดความรัก หวงแหนในเมืองจอร์จทาวน์ ไม่ใช่ในฐานะเมืองมรดกโลก แต่เป็นชุมชนของตัวเอง หนังสือเล่มเล็กเล่มนี้จะพาไปรู้จักกิจกรรมและพื้นที่สร้างสรรค์ในจอร์จทาวน์ทุกมุม ผนวกด้วยเส้นทางการเดินทาง โรงแรม ประหนึ่งคล้ายหนังสือท่องเที่ยวเล่มเล็ก ๆ ที่ให้ผู้อ่านได้เพลิดเพลินสนุกกับการเรียนรู้และพร้อมจะออกเดินทางไปสู่เมืองแห่งศิลปะนี้ด้วยกัน
ร่วมหนุนกองทุนสื่อสร้างสรรค์ฉบับประชาชน
สื่อสีสันสดใสนำเสนอมุมมองที่มาและความสำคัญของการมีกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เพื่อเด็ก-เยาวชนและครอบครัว ฉบับเนื้อหาสำหรับประชาชน ประกอบไปด้วยสถานการณ์และสถิติการใช้สื่อที่น่าเป็นห่วงของเด็กไทย ความสำคัญ กระบวนการ และบทบาทสำคัญในการจัดตั้งกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมถึงบทบาทของภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมตรวจสอบให้การออกกฎหมายและการบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
MIDL คืออะไร
เรียนรู้ความหมายของการเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจจิทัลในศตรรษที่ 21 ผ่านคลิปอินโฟกราฟิกที่เข้าใจง่าย จากสถานการณ์การสื่อสารแบบไร้พรมแดนในโลกที่มากขึ้น ทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อได้หลายหลากยิ่งขึ้นผ่านสื่อดิจิทัล หรือ สมาร์ทโฟน โลกของความจริงได้หลอมรวมให้คนเราเข้าสู่โลกเสมือนจริงด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยและรวดเร็ว คนเราเป็นได้ทั้งผู้เสพสื่อและผู้ผลิตสื่อในคราวเดียวกัน ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและสื่อดิจิทัล ที่เรียกว่า Media Information and Digital Literacy (MIDL) โดยรัฐต้องเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้าถึงสื่ออย่างเท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกันประชาชนต้องมีรอบรู้ในการคิด วิเคราะห์สื่ออย่างชาญฉลาด ไม่หลงเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์ รวมทั้งมีการเสพและผลิตสื่ออย่างสร้างสรรค์
บทวิเคราะห์เปรียบเทียบ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
บทวิเคราะห์เปรียบเทียบ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
อิทธิพลสื่อ ผลร้ายจากสื่อไม่เหมาะสม
ผลร้ายเมื่อเด็กเสพติดสื่อมากเกินไป อาจส่งผลให้นอนดึก ขาดการออกกำลังกาย ขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว รุนแรง ดังนั้นพ่อแม่ควรเป็นหูเป็นตา เลือกสื่อที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก และชวนเด็กๆ ทำกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ
จุลสาร ศิลป์สร้างสุข เดือนกันยายน-ตุลาคม2555
พบกับเรื่องราวการประสานกำลังของ ศิลปะ ศิลปินพื้นบ้าน กับการรวมตัวเพื่อนำศิลปะมาสร้างสรรค์ความสุข นอกจากนี้ศิลปะยังเป็นกลยุทธ์การสร้างความเท่าเทียมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้อย่างยอดเยี่ยมอีกด้วย
จุลสาร ศิลป์สร้างสุข เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์2556
ใครคือ เด็กเฮ้ว? สำคัญอย่างไร? ทำอะไร? มาหาคำตอบได้ในศิลป์สร้างสุขฉบับนี้ กับโครงการเด็กเฮ้วโปรเจกต์ โครงการที่เด็กเฮ้วอาสาสมัคร มาช่วยกันสร้างสรรค์สื่อเพื่อจุดประเด็นสร้างแรงบันดาลใจในเรื่องราวต่าง ๆ แม้จะเป็นเพียงเสียงเล็ก ๆ แต่ก็มีพลังและมีความสำคัญไม่แพ้ผู้ใหญ่แน่นอน
จุลสาร ศิลป์สร้างสุข เดือนสิงหาคม 2556
เปิดประเด็นเปลี่ยนความเข้าใจ เด็กอ้วน ไม่ได้หมายถึง เด็กน่ารัก แต่คือภัยคุกคามสุขภาพเด็กไทย สังคมต้องช่วยกันรณรงค์ 'อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน' และพบกับสถานการณ์ ข้อมูล ปัญหา ที่นำสู่การสร้างสรรค์ชิ้นงานรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาการสูบบุหรี่ของเยาวชนไทย
จุลสารศิลป์สร้างสุข เดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
เปิดประเด็น 'อยากเห็นเมืองไทยเป็นอย่างไรในอีก 20 ปีข้างหน้า?' นำสู่การศึกษากลยุทธ์และความสำคัญของการร่วมกันปฏิรูปประเทศไทย พลังของสื่อและศิลปวัฒนธรรมเพื่อประเทศชาติ พร้อมกับการร่วมตัวกันของพลังสื่อสร้างสรรค์และศิลปินแขนงต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย