ปลุกผัก โดย กลุ่มคัดผัก
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ผลงาน คัดผัก(KUDPAK) ตอน ปลุกผัก ม.ศิลปากร Concept : ผักเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแต่ต้องเป็นผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีระดับสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ออก “ตรารับรอง” ให้กับผัก ผลไม้ปลอดสารเคมี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับตรารับรองมาตรฐานเหล่านี้ “ตื่นตรา-ปลุกผัก” เป็นสื่อที่ต้องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตรารับต่างต่างๆ ในรูปแบบสื่อที่เข้าใจง่าย สั้น ตรงประเด็น เพื่อให้ประชาชนที่ใส่ใจสุขภาพ หันมา รับประทานผักให้มากขึ้น และสามารถเลือกผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีสารเคมีอยู่ในระดับที่ปลอดภัยมาบริโภคได้อย่างมั่นใจด้วยการดูจากตรารับรอง
ตื่นตรา โดย กลุ่มคัดผัก
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ผลงาน คัดผัก(KUDPAK) ตอน ตื่นตรา ม.ศิลปากร Concept : ผักเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแต่ต้องเป็นผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีระดับสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ออก “ตรารับรอง” ให้กับผัก ผลไม้ปลอดสารเคมี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับตรารับรองมาตรฐานเหล่านี้ “ตื่นตรา-ปลุกผัก” เป็นสื่อที่ต้องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตรารับต่างต่างๆ ในรูปแบบสื่อที่เข้าใจง่าย สั้น ตรงประเด็น เพื่อให้ประชาชนที่ใส่ใจสุขภาพ หันมา รับประทานผักให้มากขึ้น และสามารถเลือกผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีสารเคมีอยู่ในระดับที่ปลอดภัยมาบริโภคได้อย่างมั่นใจด้วยการดูจากตรารับรอง
ตะลุยเรื่องเล่าชาวบางกอกน้อย
ติดตามเบื้องหลังกิจกรรมพาเด็ก ๆ ลงเรียนรู้ชุมชน ปลุกพลังสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชน ผ่านการทำงานหนุนเสริมของมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา (มยพ.) เด็ก ๆ ได้เรียนรู้สิ่งดีงามในชุมชน เป็นพื้นที่ 3 ดี สื่อดี ภูมิดี และพื้นที่ดี ก้าวเล็กๆ ของเด็กและเยาวชนจากชุมชนวัดรวกสุทธาราม วัดอัมพวา และวัดโพธิ์เรียงแห่งบางกอกน้อย จะเป็นพลังสร้างสรรค์ฟื้นชุมชนให้กลายเป็นพื้นที่น่าอยู่ของทุกคนต่อไป
คลิปประมวลกิจกรรมบางกอกนี้ดีจัง ตอน มาเล่นกันเถอะ
ชมภาพประมวลกิจกรรมดีๆ ของการร่วมพลังของเด็กและเยาวชน เครือข่ายสื่อ และชุมชน จัดกิจกรรม “บางกอกนี้...ดีจัง ตอน มาเล่นกันเถอะ” กับการเนรมิตพื้นที่วัดสุวรรณาราวราชวรวิหาร ณ ชุมชนบางกอกน้อย ให้เป็นตัวแทนพื้นที่ 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี โดยการจัดกิจกรรมแสดงศักยภาพ เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ ชวนเด็กและเยาวชนนำ 'การเล่น' มาเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์สร้างการเรียนรู้ เป็นหนึ่งในกิจกรรมต้นแบบที่แสดงให้เห็นถึงพลังเล็ก ๆ ...พลังเด็กเปลี่ยนโลก
ภารกิจสื่อเด็กเปลี่ยนโลก ตอน มาเล่นกันเถอะ - 2
ชมบรรยากาศน่ารัก ๆ เอาใจช่วยน้อง ๆ ทำภารกิจเปลี่ยนโลก เมื่อเครือข่ายกลุ่มเด็ก และเยาวชน บางกอกนี้ดีจัง ชักชวนเครือข่ายเด็กและเยาวชนอีกหลากหลายพื้นที่ทั่วประเทศมารวมตัวกันทำเรื่อง 'เล่น' ให้เป็นเรื่องใหญ่ สร้างสีสัน เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ด้วยการจัดกิจกรรมสนุกสร้างสรรค์ สานต่อวัฒนธรรม การแสดง ศิลปะ ของดีชุมชน ณ วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร
หนังบักตื้อที่โรงเรียนบ้านเพียมาต
โรงเรียนบ้านเพียมาต (รัฐราษฎร์พิทยาคาร) ที่ จ.ศรีสะเกษ เป็นโรงเรียนขยายโอกาส โรงเรียนแห่งนี้ได้นำเอาภูมิปัญญาที่มีคุณค่า และชุมชนที่เข้มแข็งมาสร้างเป็นหลักสูตรพิเศษ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ให้กับเด็ก ๆ ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัด คือ การนำหนังบักตื้อ ที่เป็นศิลปวัฒนธรรมล้ำค่าของชุมชน มาถ่ายทอดให้เด็ก ๆ โดยครูภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากทักษะที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้แล้ว ยังเป็นการเพิ่มภูมิดีให้เด็ก ๆ ได้ภาคภูมิใจในคุณค่าของชุมชนของตนเอง
ข่วงหลวงนี้ดีแต้
คลิปสปอตสรุปภาพงานมหกรรมข่วงหลวงนี้ดีแต้ งานนิทรรศการแสดงผลงานพื้นที่สร้างสรรค์ ณ บ้านพ้วงวัด อ.เมือง จังหวัดเชียงใหม่ เต็มไปด้วยวัฒนธรรมหลากหลาย งดงาม และอาหารอร่อย ๆ ที่จะทำให้คนผูกพันและเชื่อมโยงกับภูมิปัญญารากเหง้าของชุมชน
โครงการกำแพงเรืองยิ้ม 2557
คลิปแสดงความเปลี่ยนแปลงของชุมชนรองเมืองย่านหัวลำโพง ที่เกิดจากโครงการกำแพงเรืองยิ้ม ปี 2557 ที่มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) ระดมกำลังจิตอาสาเข้าเปลี่ยนพื้นที่สกปรกในชุมชนให้กลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ด้วยการแต่งแต้มสีสันวาดรูปกำแพงให้งดงาม ชุมชนไม่ได้แค่ได้กำแพงกลับมา แต่ได้ชีวิตชีวา และรอยยิ้มความสุขของทุกคนในชุมชน
รวมพล มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮมปี 5 จังหวัดอุดรธานี
คลิปวิดีโอประมวลบรรยากาศสนุก ๆ จากงานรวมพลมหกรรมดีจัง อีสานตุ้มโฮมปี 5 จังหวัดอุดรธานี แนวคิดหลักเป็นการแสดงงานศิลปะประเพณีของดีของจังหวัดอุดรธานี โดยความร่วมมือจากสมาชิก 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ ม.มหาสารคาม ม.กาฬสินธุ์ ม.ราชภัฎศรีสะเกษ และ ม.ราชภัฎอุดรธานี เป็นการเปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้เข้ามาร่วมเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ อย่างมีความสุข
พื้นที่สร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี-จังหวัดอุดรธานี
น้อง ๆ เยาวชนคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี เดินหน้าสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับน้องๆ ในพื้นที่ ตัวอย่างเช่นในตอนนี้ เราจะไปดูน้อง ๆ ไปทำกิจกรรมกับน้อง ๆ โรงเรียนชุมชนวังทอง เน้นประเด็นการรู้เท่าทันสื่อ ผ่านการลงพื้นที่ชุมชน เรียนรู้การทำสื่อด้วยตนเอง ทำให้น้อง ๆ ได้รู้วิธี กระบวนการผลิตสื่อ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้วิถีชุมชนวัฒนธรรมไปพร้อมกัน
ศรีสะเกษติดยิ้ม ปี3 ตอน เรื่องกินเรื่องใหญ่
คลิปวิดีโอประมวลภาพ สรุปเรื่องราวของงานโครงการศรีสะเกษติดยิ้ม ปี 3 ตอนเรื่องกินเรื่องใหญ่ ถอดบทเรียนศรีสะเกษติดยิ้ม 3 ปี ขยายผลสู่ 8 จังหวัดเครือข่ายอีสานตุ้มโฮมในปี 2560 นอกจากจะเห็นบรรยากาศงานแล้ว ในคลิปยังมีบทสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในโครงการตั้งแต่ผู้ดูแลไปจนถึงเด็ก ๆ เยาวชนที่เป็นหัวใจหลักของโครงการ ที่มาช่วยกันสร้างสรรค์หยิบเรื่องกินให้กลายเป็นมาสื่อสร้างสรรค์ส่งต่อเรื่องดี ๆ ในชุมชน
รายงานการวิจัย ถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนดีจังอีสานตุ้มโฮม อุดรธานี
รายงานวิจัยเชิงคุณภาพ โครงการเด็กอุดรรักษ์บ้าน เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและอุปสรรคปัญหา ที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนเครือข่าย ดีจังอีสานตุ้มโฮม ในพื้นที่เมืองอุดรธานี ภายใต้แนวคิด ๓ ดี วิถีพลเมือง ผ่านกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผลิตสื่อสร้างสรรค์และมหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ให้แก่เยาวชนและชุมชน เพื่อให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ รู้เท่าทันในการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม สร้างสรรค์สื่อให้มีประโยชน์และมีความรับผิดชอบร่วมกัน โดยใช้ภูมิปัญญาของทุกฝ่ายในชุมชน สร้างความตระหนักรักในศิลปวัฒนธรรมและคุณค่าในภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งยังส่งเสริมให้แกนนำเยาวชนนักสื่อสาร มีจิตอาสาเพื่อชุมชนอีสาน มีความรับผิดชอบและความเข้าใจในงานที่ทำ เพื่อพัฒนาเป็นนักสื่อสารมวลชนที่มีคุณภาพต่อไป