trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน" พบ 285 ข้อมูล

Hate Speech กับการสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล (MIDL)

"การใช้ hate speech อาจเกิดขึ้นโดยผู้ใช้อาจจะทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว เกิดขึ้นได้ท้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งอาจะเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งได้"   เปิดมุมมอง Hate Speech กับการสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล จาก ‘ครูโจ๊ก’ ณัฏฐเมธร์ ดุลคนิต Natthameth Dulkanit โรงเรียนราชวินิต มัธยม ครูในเครือข่าย MIDL School  

LGBT กับคนทางการศึกษาต่อการสร้างตัวตนในโลกออนไลน์

บทสัมภาษณ์ในมุมมองของ คุณครูนำโชค อุ่นเวียง ครูวิชาสังคมศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในประเด็นเรื่อง LGBT หรือ ความหลากหลายทางเพศ กับคนทางการศึกษาต่อการสร้างตัวตนในโลกออนไลน์ ที่ปัจจุบันคนในกลุ่ม LGBT ได้รับการยอมรับทั้งทางอัตลักษณ์ ตัวตน ความสามารถและบทบาทหน้าที่ทางสังคมในแง่มุมที่หลากหลายมากขึ้น

FAKE News

"What is FAKE NEWS????" ข่าวเทียม ข่าวปลอม ข่าวลวง คืออะไร ในทุก ๆ วันเราได้รับข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์ ต้องยอมรับว่าหลาย ๆ ข้อมูลส่งผลกระทบต่อความคิด ความเชื่อของเรา ซึ่งข้อมูลบางส่วนนั้นถูกจัดว่าเป็น FAKE NEWS แล้ว FAKE NEWS คืออะไร??  หาคำตอบได้จาก infographic ชุดนี้ "What is FAKE NEWS????" ข่าวเทียม ข่าวปลอม ข่าวลวง คืออะไร ในทุก ๆ วันเราได้รับข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์ ต้องยอมรับว่าหลาย ๆ ข้อมูลส่งผลกระทบต่อความคิด ความเชื่อของเรา ซึ่งข้อมูลบางส่วนนั้นถูกจัดว่าเป็น FAKE NEWS แล้ว FAKE NEWS คืออะไร??  หาคำตอบได้จาก infographic ชุดนี้

5 วิธีที่คุณครูจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก

การกลั่นแกล้งรังแกในโรงเรียนกลายเป็นเรื่องที่มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์จากการทำงานวิจัยในสหราชอาณาจักร โดย นักวิจัยชื่อ อลิซาเบซ แนซเซม นักวิจัยแห่ง The Centre for the Study of Practice and Culture in Education, Birmingham City University เธอทำวิจัยเรื่องนี้มานานกว่าทศวรรษและเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ในระดับโรงเรียนและพบว่า แนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำให้เด็ก ๆ มีบทบาทนำในการจัดการแก้ปัญหาดังกล่าว เธอเสนอ 5 วิธีที่ครูสามารถเริ่มต้นได้ ได้แก่ การปรับปรุงความเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งรังแกขอบเขตของการกลั่นแกล้งรังแกกว้างขวาง นับตั้งแต่การแกล้งหยอกล้อกันแบบเบา ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง เช่น การตั้งฉายา หรือ การตบตี ซึ่งครูในโรงเรียนสามารถพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พวกเขาพบเจอ  หรือ ถามถึงสาเหตุว่า ทำไมถึงได้รังแกเพื่อน และคุยกับพวกเขาว่า ควรแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างไร บ่อยครั้งที่การกลั่นแกล้งรังแกกัน เกิดขึ้นเพื่อให้ตนเองได้เป็นที่นิยมชื่นชอบในหมู่เพื่อน หรือบ้างเป็นการลงมือทำเพื่อแก้เซ็ง หนทางที่สำคัญคือ การดึงเด็ก ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้เพื่อน ๆ ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ให้คำปรึกษากับเด็กนักเรียนครูสามารถที่จะช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้พวกเขาได้เข้าใจพฤติกรรมของตัวเองที่เป็นฝ่ายกลั่นแกล้งรังแกเพื่อนและช่วยแก้ปัญหาที่ต้นตอนั้น ๆ ด้วยการพูดคุยกับเด็ก ๆ ว่า เกิดอะไรขึ้น การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างไร เด็ก ๆ จะมีแนวทางที่จะตอบโต้ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในแบบที่เคารพอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างไรหากเกิดเรื่องเช่นนี้อีก ซึ่งการใช้วิธีการแบบสมมุติบทบาท (role-playing) ตามฉากของสถานการณ์ต่าง ๆ จะช่วยในการทำความเข้าใจแบบแผนพฤติกรรมในทางลบได้ชัดเจนขึ้น  โรงเรียนสามารถจัดให้มีการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้แบบเชิงรุก การจัดกิจกรรมนี้ โรงเรียนควรจัดให้มีเป็นประจำมากกว่าจะคอยแก้ปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การสนับสนุนให้นักเรียนช่วยแก้ปัญหา ครูสามารถปรึกษากับเด็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายที่รังแกเพื่อนและถูกเพื่อนรังแก เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์เหล่านั้นด้วยกัน และมองหาทางออกหรือข้อเสนอแนะต่อปัญหานั้น ๆ  เช่น การสร้างบรรยากาศให้เด็ก ๆ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้น และให้พวกเขาบอกเล่าความรู้สึก และเปิดให้พวกเขาได้เรียนรู้การมีปฎิสัมพันธ์ต่อเรื่องที่อาจสร้างความเกรี้ยวกราดด้วยวิธีการที่ใจเย็นและสงบลง วิธีหนึ่งที่นักวิจัยเลือกใช้คือ การให้เด็ก ๆ เขียนบันทึกประจำวันเป็นประจำ เพื่อให้มีช่องทางระบายอารมณ์ในเชิงบวก การจัดให้เด็กนักเรียนได้มาพบปะพูดคุยกัน ภายหลังจากที่ครูได้แยกคุยกับเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้งกันทีละคนแล้ว ครูควรจะเปิดให้มีการพบปะพูดคุยระหว่างกัน การเปิดให้ได้พูดคุยหรือซักถามกันอย่างตรงไปตรงมาระหว่างเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้ง เป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกันได้ การสร้างความสัมพันธ์ที่เคารพซึ่งกันและกันระหว่างครูกับนักเรียนนักวิจัยย้ำว่า การแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก ต้องเป็นความร่วมมือระหว่างครูกับนักเรียน ครูควรจะพูดคุยกับเด็ก ๆ ด้วยความเคารพ ตั้งใจฟังและตอบสนองต่อมุมมองของเด็กนักเรียน ให้เวลามากเพียงพอในการทำความเข้าใจแง่มุมหรือความเห็นของพวกเขา การกลั่นแกล้งรังแกในโรงเรียนกลายเป็นเรื่องที่มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์จากการทำงานวิจัยในสหราชอาณาจักร โดย นักวิจัยชื่อ อลิซาเบซ แนซเซม นักวิจัยแห่ง The Centre for the Study of Practice and Culture in Education, Birmingham City University เธอทำวิจัยเรื่องนี้มานานกว่าทศวรรษและเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ในระดับโรงเรียนและพบว่า แนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำให้เด็ก ๆ มีบทบาทนำในการจัดการแก้ปัญหาดังกล่าว เธอเสนอ 5 วิธีที่ครูสามารถเริ่มต้นได้ ได้แก่ การปรับปรุงความเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก  ขอบเขตของการกลั่นแกล้งรังแกกว้างขวาง นับตั้งแต่การแกล้งหยอกล้อกันแบบเบา ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง เช่น การตั้งฉายา หรือ การตบตี ซึ่งครูในโรงเรียนสามารถพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พวกเขาพบเจอ  หรือ ถามถึงสาเหตุว่า ทำไมถึงได้รังแกเพื่อน และคุยกับพวกเขาว่า ควรแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างไร บ่อยครั้งที่การกลั่นแกล้งรังแกกัน เกิดขึ้นเพื่อให้ตนเองได้เป็นที่นิยมชื่นชอบในหมู่เพื่อน หรือบ้างเป็นการลงมือทำเพื่อแก้เซ็ง หนทางที่สำคัญคือ การดึงเด็ก ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้เพื่อน ๆ ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ให้คำปรึกษากับเด็กนักเรียน ครูสามารถที่จะช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้พวกเขาได้เข้าใจพฤติกรรมของตัวเองที่เป็นฝ่ายกลั่นแกล้งรังแกเพื่อนและช่วยแก้ปัญหาที่ต้นตอนั้น ๆ ด้วยการพูดคุยกับเด็ก ๆ ว่า เกิดอะไรขึ้น การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างไร เด็ก ๆ จะมีแนวทางที่จะตอบโต้ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในแบบที่เคารพอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างไรหากเกิดเรื่องเช่นนี้อีก ซึ่งการใช้วิธีการแบบสมมุติบทบาท (role-playing) ตามฉากของสถานการณ์ต่าง ๆ จะช่วยในการทำความเข้าใจแบบแผนพฤติกรรมในทางลบได้ชัดเจนขึ้น  โรงเรียนสามารถจัดให้มีการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้แบบเชิงรุก การจัดกิจกรรมนี้ โรงเรียนควรจัดให้มีเป็นประจำมากกว่าจะคอยแก้ปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การสนับสนุนให้นักเรียนช่วยแก้ปัญหา  ครูสามารถปรึกษากับเด็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายที่รังแกเพื่อนและถูกเพื่อนรังแก เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์เหล่านั้นด้วยกัน และมองหาทางออกหรือข้อเสนอแนะต่อปัญหานั้น ๆ  เช่น การสร้างบรรยากาศให้เด็ก ๆ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้น และให้พวกเขาบอกเล่าความรู้สึก และเปิดให้พวกเขาได้เรียนรู้การมีปฎิสัมพันธ์ต่อเรื่องที่อาจสร้างความเกรี้ยวกราดด้วยวิธีการที่ใจเย็นและสงบลง วิธีหนึ่งที่นักวิจัยเลือกใช้คือ การให้เด็ก ๆ เขียนบันทึกประจำวันเป็นประจำ เพื่อให้มีช่องทางระบายอารมณ์ในเชิงบวก การจัดให้เด็กนักเรียนได้มาพบปะพูดคุยกัน  ภายหลังจากที่ครูได้แยกคุยกับเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้งกันทีละคนแล้ว ครูควรจะเปิดให้มีการพบปะพูดคุยระหว่างกัน การเปิดให้ได้พูดคุยหรือซักถามกันอย่างตรงไปตรงมาระหว่างเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้ง เป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกันได้ การสร้างความสัมพันธ์ที่เคารพซึ่งกันและกันระหว่างครูกับนักเรียน นักวิจัยย้ำว่า การแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก ต้องเป็นความร่วมมือระหว่างครูกับนักเรียน ครูควรจะพูดคุยกับเด็ก ๆ ด้วยความเคารพ ตั้งใจฟังและตอบสนองต่อมุมมองของเด็กนักเรียน ให้เวลามากเพียงพอในการทำความเข้าใจแง่มุมหรือความเห็นของพวกเขา ที่มา: https://www.theguardian.com/teacher-network/2018/jan/17/bullying-is-still-rife-in-schools-heres-how-teachers-can-tackle-it  

Digital Footprint ในมุมมองของครูโอ ปราศรัย เจตสันติ์

สังคมในยุคดิจิทัล มีความรวดเร็วในการรับรู้ข่าวสาร แสดงความคิดเห็น และสร้างสื่อนำเสนอบนโลกออนไลน์อย่างมาก ทำให้ผลกระทบของ DF ไม่ได้เพียงกระทบแค่ในวงจำกัดเท่านั้น แต่ยังสามารถแชร์ข้อมูลไปสู่สังคมได้ง่าย สังคมที่มีความระมัดระวังในการใช้สื่อดิจิทัล จะตระหนักเสมอว่า เมื่อใดที่มีการสร้างสื่อ หรือโพสต์ข้อความใดๆ เป็นการนำเสนอความคิดสู่สาธารณะ ย่อมหมายถึงผลกระทบที่จะตามมาต่อสังคมและผู้คน

Hate speech ในโลกออนไลน์

เมื่อวาจาทำร้ายใจกัน... การเดินทางจาก “Hate Speech” สู่ “Cyberbullying” ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมส่วนหนึ่งมาจากการสื่อสารเพื่อสร้างความเกลียดชัง ผ่านการพูด ผ่านตัวอักษรที่เต็มไปด้วยอารมณ์ทางลบ อคติ ตีตรา เหมารวม และความรู้สึกต้องการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของบุคคลหรือกลุ่มคนให้ลดลง Hate Speech (การสื่อสารเพื่อสร้างความเกลียดชัง) ในปัจจุบันถูกสื่อสารผ่านโลกออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ และอาจเป็นที่มาของการเกิด Cyberbullying (การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์) แล้วเราจะจัดการ “Hate Speech” ในโลกออนไลน์ได้อย่างไร? 1.มีการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ทางออนไลน์กับผู้อื่นโดยไม่คำนึงถึงอัตลักษณ์ที่แตกต่าง 2.มีความเห็นอกเห็นผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งหรือถูกเกลียดชังในโลกไซเบอร์ 3.รายงานการพบเห็นการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังทางออนไลน์ผ่านช่องทางในสื่อสังคมออนไลน์ 4.สนับสนุนแนวทางการสื่อสารที่สร้างสรรค์ ให้ความรู้ความเข้าใจในแนวคิดการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายเพื่อลดอคติและการแบ่งแยกในสังคม ที่มา: เอกสาร การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น (2561) สนับสนุนโดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)

ดูหนัง....เห็นเนื้อในชีวิต

ภาพยนตร์ หรือ Motion Picture เป็นสื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดแนวคิดและประสบการณ์ไปสู่การรับรู้และเรียนรู้ประเด็นต่าง ๆ ในชีวิตให้กับเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะมีความน่าสนใจและความดึงดูดใจทั้งภาพ เสียง การวางโครงเรื่อง ให้คนดูเกิดอารมณ์และความรู้สึกคล้อยตาม หากผู้ใหญ่คือ พ่อแม่ ผู้ปกครอง คุณครู ผู้ดูแลเด็ก นำสื่อภาพยนตร์มาใช้สร้างการเรียนรู้ในประเด็นต่าง ๆ ให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี เนื้อหาในหนังสือครอบคลุมการเลือกภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก เทคนิคการสร้างกระบวนการเพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างเพลิดเพลิน ไม่ใช่การสอนที่ทำให้เด็กรู้สึกเบื่อหน่ายหรือจำเจ

ละครสร้างนักอ่าน

แนะนำเทคนิคการส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กและเยาวชนด้วยการใช้สื่อ 'ละครสร้างนักอ่าน' หรือ Readers Theatre เพื่อเป็นสะพานนำการอ่านไปสู่เด็ก ๆ ให้เกิดความเพลิดเพลิน สนุก และรักการอ่านผ่านการเล่นไปโดยไม่รู้ตัว หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับคุณครูและผู้ดูแลเด็กที่สนใจนำกิจกรรมละครไปสร้างนิสัยรักการอ่านให้เด็ก เพราะเนื้อหาในหนังสือครอบคลุมตั้งแต่แนวคิด การเตรียมการ ขั้นตอน ไปจนถึงการประเมินผล รวมถึงประสบการณ์ของเด็ก ๆ และโรงเรียนที่เคยใช้เทคนิคนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลครบและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

อิทธิพลสื่อ ผลร้ายจากสื่อไม่เหมาะสม

ผลร้ายเมื่อเด็กเสพติดสื่อมากเกินไป อาจส่งผลให้นอนดึก ขาดการออกกำลังกาย ขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว รุนแรง ดังนั้นพ่อแม่ควรเป็นหูเป็นตา เลือกสื่อที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก และชวนเด็กๆ ทำกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ

ตลาดเด็กในยุคดิจิตอล

การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีเคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ของเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี ในสหรัฐอเมริกา พบว่าเด็กอายุเฉลี่ยระหว่าง 5 - 8 ปี เป็นกลุ่มที่ใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ถึงร้อยละ 54 ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เพื่อเล่นเกมมากที่สุด ถึงร้อยละ 77 รองมาเป็นการศึกษา และหาข้อมูลท่องเที่ยว ร้านอาหาร และแชทกับเพื่อน

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.