Fact Sheet ความฉลาดทางดิจิตอล และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น
สรุปข้อสนเทศเรื่องการศึกษาและประเมินพฤติกรรมการใช้สื่อสารสนเทศและดิจิตอลของวัยรุ่น โดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) และคณะผู้วิจัยได้จัดทำ Fact Sheet ‘ความฉลาดทางดิจิตอล’ เพื่อศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่นและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิตอล โดยมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต อีกทั้งทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ มีความเห็นอกเห็นใจเคารพผู้อื่นและมีความรับผิดชอบร่วมกันในสังคมออนไลน์ เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์และในชีวิตจริงได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย
MIDL : DQ for Citizenship
การสร้างความฉลาดในยุคนี้ ไม่ใช่มีแค่ IQ หรือ EQ อีกต่อไป แต่พลเมืองในยุคสื่อสารออนไลน์หรือยุคดิจิทัลนี้ จำเป็นต้องมีความฉลาดอีก 1 ตัว นั่นคือ DQ หรือ Digital Intelligence ซึ่งประกอบด้วย 8 คุณลักษณะสำคัญที่ได้รับการกำหนดและยอมรับในระดับสากล ทั้ง 8 คุณลักษณะของ DQ นี้ นอกจากจะทำให้ตัวเราปลอดภัยไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในโลกอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังจะทำให้เราไม่ไปละเมิดสิทธิ์ หรือทำร้ายคนอื่นในโลกออนไลน์ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ เพื่อให้เกิดสังคมดิจิทัลที่มีคุณภาพ
MIDL : Online Hate Speech
เราทุกคนรู้ดีว่าเรามีสิทธิเสรีภาพในการพูดอะไรก็ได้หรือที่เรียกว่า Free Speech แต่ในสิทธิเสรีภาพที่เรามี เราก็ต้องรับผิดชอบในผลที่ตามมาจากคำพูดของเราด้วย โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ การมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ทำให้บางครั้งเราอาจเผลอไผลใช้คำพูดของเราทำร้าย แบ่งแยกความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนา เชื้อชาติ สีผิว เพศสภาพ ฯลฯ จนลุกลามกลายเป็นการแบ่งพวกแบ่งฝ่าย ผลิตซ้ำความเกลียดชัง สร้างผลร้ายลุกลามไปทั่วทั้งโลกออนไลน์และสังคมในความเป็นจริง สิ่งเหล่านี้คือ Hate Speech ในโลกออนไลน์ การติดอาวุธรู้เท่าทันสื่อ ไม่สร้าง Hate Speech เรียนรู้ที่จะเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งในโลกจริงหรือโลกออนไลน์ คือหน้าที่พลเมืองที่มีคุณภาพและก่อให้เกิดสังคมที่มีคุณภาพต่อไป
MIDL : Cyberbullying
คลิปแอนิเมชั่นที่จะพาเราเข้าไปทำความรู้จักประเด็นการกลั่นแกล้งออนไลน์อย่างรอบด้าน ตั้งแต่ความหมายของการกลั่นแกล้งออนไลน์ที่หมายถึงการโพสต์หรือเผยข้อมูลส่วนตัวของคนอื่นให้ได้รับความอับอาย เกลียดชัง ฯลฯ วิเคราะห์สาเหตุของการตั้งต้นเป็นผู้แกล้ง ผลกระทบที่มีต่อผู้ถูกรังแก ตั้งใจระดับเล็กน้อยไปจนถึงผลกระทบในชีวิตจริงที่รุนแรง และสุดท้ายไปหาทางออกในการแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งออนไลน์ที่เราทุกคนช่วยกันได้ หากเรารู้เท่าทัน มีสติ และรู้จักเห็นอกเห็นใจกันและกัน เป็นพลเมืองดิจิทัลที่รู้เท่าทันสื่ออย่างแท้จริง
Digital Footprint
สื่อเพื่อทำความเข้าใจเรื่อง Digital Footprint อย่างสั้น ๆ ง่าย ๆ กับคุณครูโอ-ปราศรัย เจตสันติ์ 1 ในคุณครูที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนรู้เท่าทันสื่อ MIDL ทั้งในมุมของผู้ใช้สื่อทั่วไป บทบาทของครู และสังคมในการช่วยกันดูแลสร้างความรู้เท่าทันสื่อให้เกิดขึ้นในพลเมือง
อะไรบ้างที่ถือเป็นการรังแกกันบนโลกออนไลน์
Infographic ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมเหล่านี้
โมเดลกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ผ่านสื่อออนไลน์ของวัยรุ่น
" วัยรุ่นใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพิ่มมากขึ้นในการปฏิสัมพันธ์ ติดต่อกับเพื่อนและแบ่งปันข้อมูลต่างๆ รวมถึงการได้รับตอบโต้ปฏิสัมพันธ์ ผลวิจัยระบุว่าวัยรุ่นใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ทั้งแง่บวกและลบในการสร้างมโนภาพของตนเอง (Self-concept) และการพัฒนาอัตลักษณ์ (Identity) ในแง่บวก วัยรุ่นหาพื้นที่ในการสร้างอัตลักษณ์ต่อกลุ่ม แสดงออกความเป็นตัวตน และสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นในลักษณะที่ปลอดภัย พร้อมกับพัฒนาทักษะการสื่อสารบนสื่อดิจิทัล ในขณะที่ในแง่ลบ วัยรุ่นใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยตกหลุมของการจูงใจ การประเมินคุณค่า และแนวโน้มของการเปิดเผยตัวตนที่มากเกินไป "
ตัวตนทางเพศ กับการสร้างอัตลักษณ์ในโลกออนไลน์
บทสัมภาษณ์ โตมร อภิวันทนากร กลุ่มมานีมานะ ผู้ทำงานขับเคลื่อนประเด็นเรื่องเพศและการรู้เท่าทันสื่อ