EXTRA - พิเศษ โดย คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
เพราะการศึกษา มีไว้เพื่อลดการเหลื่อมล้ำ แต่การศึกษา ยังมีความเหลื่อมล้ำเสียเอง... หนังสั้น นำเสนอเกี่ยวกับปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศไทย โดยเสนอให้ใช้การศึกษาเป็นตัวขับเคลื่อน
ฆรู โดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ในปัจจุบัน เราใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แต่การเรียนการสอนที่ดีและมีคุณภาพนั้น คือ การเรียนการสอนด้วย"ครู" ซึ่งเป็นผู้อบรมบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความหวังในอนาคต ดังนั้น พวกเราจึงใช้คำว่า "ฆรู"ซึ่งมีมาจากการรวมกันของคำว่า ฆูรู ที่แปลว่าครูในภาษามลายู กับคำว่าครู เพื่อสื่อถึงการสะกดคำที่ผิดเพี้ยนที่เป็นผลมาจากการศึกษาไทยที่ผิดพลาด วัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษา : ต้องการนำเสนอปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม เพื่อสร้างการรับรู้ เข้าใจ และรู้สึกถึงปัญหา และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ในอนาคต
คลิปเปิดงานนิทรรศการแสดงผลงานนักศึกษา เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม ปีที่ 2
ปาฐกถาพิเศษโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี ในพิธีเปิดงานเวทีนำเสนอผลงานนักศึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม ในโครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ปีที่ 2 ชี้ให้เห็นความสำคัญของพลังเยาวชนรุ่นใหม่ แม้จะเริ่มต้นด้วยการรวมตัวของเยาวชนกลุ่มเล็ก ๆ แต่เป็นพลังปัญญา พลังทางสังคม พลังจิตสำนึก ร่วมคิดร่วมทำที่จะสังคมสู่ความเจริญได้ในที่สุด
รักใสใสหัวใจไม่พร้อม
สังคมไทยในปัจจุบันนี้ ปัญหาเด็กที่ท้องไม่พร้อมหรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรมีสูงมาก ในปี 2554 ค่าเฉลี่ยอายุวัยรุ่นไทยเริ่มมีเซ็กส์ครั้งแรกอายุ 12 ปี และอัตราส่วนการคลอดบุตรของแม่วัยใสอายุ 8-13ปี จำนวน 579 คน ดังนั้นเยาวชนไทยควรได้รับการเอาใจใส่จากพ่อและแม่ การพูดคุย ความรู้คำแนะนำและการปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องเรื่องเพศสัมพันธ์ อีกทั้ง “ผลลัพธ์ของรักที่พลาดพลั้ง” ที่จะตามมาอย่างไม่รู้จบ เรื่องท้องไม่พร้อม ความเสี่ยงในการติดโรคทางเพศ ถูกทิ้ง ถูกใช้ความรุนแรง และสภาวะความเครียดที่จะตามมา “อย่าสร้างรักแท้ในคืนหลอกหลวง เพราะผลพวงคือสารพัดปัญหาไม่รู้จบ”
ท้องแท้งทิ้งเด็กไทยท้องไม่พร้อม
เมื่อเรื่องเพศเป็นเรื่องน่าอาย และห้ามมีการพูดถึง เด็กและเยาวชนจึงไม่กล้าปรึกษาพ่อแม่ผู้ปกครอง อีกทั้งที่โรงเรียนส่วนใหญ่มีการสอนเรื่องเพศด้านวิชาการมากกว่าการสอนเรื่องเพศในด้านการใช้ทักษะชีวิตที่ถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้น ประเทศไทย จึงมีสถิติการทำแท้งของวัยรุ่น ติดอันดับ 1 ในเอเชียและ ติดอันดับ 2 ของโลก โดยพบผู้ทำแท้งเป็นวัยรุ่นและเยาวชนที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 80 และเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ร้อยละ 30 เพราะฉะนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่ สังคมไทยควรหันมาสร้างค่านิยมการคุยเรื่องเพศที่เหมาะสมและถูกต้องกับเยาวชน เพื่อให้เขาสามารถดูแลตนเองได้ และไม่ก้าวพลาดในชีวิตก่อนวัยอันควร
คู่มือบริโภคศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
คู่มือบริโภคศึกษา ฉบับมัธยมศึกษาตอนต้น เล่มนี้ถูกออกแบบมาสำหรับผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้งานง่ายแม้เป็นผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะมีคำอธิบายขั้นตอนการสอนอย่างชัดเจน มีใบงานพร้อมใช้งาน อีกทั้งมีข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับผู้สนใจได้ทำการสอน รวมทั้งมีแบบฝึกหัดเพื่อให้ผู้สอนได้ใช้ประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละกิจกรรม การจัดทำคู่มือชุดนี้ได้มีการพัฒนาและตรวจสอบการใช้ในบริบทของการเรียนการสอนจริงมา 3 ขั้นตอน เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหาและการนำไปใช้งานจริง
คุณภาพชีวิตเด็ก 2556 : ฟื้นความฝันการศึกษาให้เด็กไทย
หนังสือเล่มนี้ พาผู้อ่านไปมองภาพและสังเคราะห์ปัญหาระบบการศึกษาไทยในภาพรวมหลากหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ หรือการศึกษาทางเลือก เพื่อมุ่งเป้าหมายในการกระตุ้นเตือนสังคมให้มองการศึกษาในแง่มุมใหม่ พาการศึกษาไทยไปสู่เป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ และเกิดการเรียนรู้สร้างสรรค์ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
พื้นที่สร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี-จังหวัดอุดรธานี
น้อง ๆ เยาวชนคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี เดินหน้าสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับน้องๆ ในพื้นที่ ตัวอย่างเช่นในตอนนี้ เราจะไปดูน้อง ๆ ไปทำกิจกรรมกับน้อง ๆ โรงเรียนชุมชนวังทอง เน้นประเด็นการรู้เท่าทันสื่อ ผ่านการลงพื้นที่ชุมชน เรียนรู้การทำสื่อด้วยตนเอง ทำให้น้อง ๆ ได้รู้วิธี กระบวนการผลิตสื่อ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้วิถีชุมชนวัฒนธรรมไปพร้อมกัน
รายงานการวิจัย ถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนดีจังอีสานตุ้มโฮม อุดรธานี
รายงานวิจัยเชิงคุณภาพ โครงการเด็กอุดรรักษ์บ้าน เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและอุปสรรคปัญหา ที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนเครือข่าย ดีจังอีสานตุ้มโฮม ในพื้นที่เมืองอุดรธานี ภายใต้แนวคิด ๓ ดี วิถีพลเมือง ผ่านกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผลิตสื่อสร้างสรรค์และมหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ให้แก่เยาวชนและชุมชน เพื่อให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ รู้เท่าทันในการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม สร้างสรรค์สื่อให้มีประโยชน์และมีความรับผิดชอบร่วมกัน โดยใช้ภูมิปัญญาของทุกฝ่ายในชุมชน สร้างความตระหนักรักในศิลปวัฒนธรรมและคุณค่าในภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งยังส่งเสริมให้แกนนำเยาวชนนักสื่อสาร มีจิตอาสาเพื่อชุมชนอีสาน มีความรับผิดชอบและความเข้าใจในงานที่ทำ เพื่อพัฒนาเป็นนักสื่อสารมวลชนที่มีคุณภาพต่อไป
การศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัล สำหรับเด็กและเยาวชนในต่างประเทศ และแนวทางสำหรับประเทศไทย
งานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัลสำหรับเด็กและเยาวชนในต่างประเทศ เพื่อใช้เสนอเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อให้กับเยาวชนไทย โดยมี 6 ประเทศที่เป็นแนวทางในการศึกษา ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา สหภาพยุโรป ประเทศอินเดีย ประเทศออสเตรเลียและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมี 5 ประเด็นที่ค้นพบและสามารถนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อให้กับเยาวชนในประเทศไทยได้