บอร์ดเกม เกมสิทธิ - เกมชุมชน โดย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept : ปัญหาที่ดิน ที่มีมาเนิ่นนานในสังคมไทย ไม่ได้เกิดขึ้นจากนักการเมืองหรือนายทุนอย่างที่เราๆ เข้าใจกันเพียงเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องไปถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในระบบการจัดการ และกระจายทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ในที่สุดการบังคับใช้กฏหมายจึงอาจจะไม่ใช่ทางออกสุดท้ายของปัญหานี้ “เกมสิทธิ์/เกมชุมชน” จึงต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบของปัญหาที่ดินในวงกว้างผ่านการใช้ “เกมกระดาน” จะเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด และเชื้อเชิญให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้ต่อปัญหาดังกล่าวมากขึ้น อีกทั้งยกระดับความรู้ให้ผู้ชมได้ตระหนักถึงแนวทางการป้องกันชุมชนและทรัพยากรของตน ผ่านการเรียนรู้สิทธิชุมชน ซึ่งเป็นสิทธิที่ประชาชนชาวไทยทุกคนพึงมี เพราะเราไม่รู้ว่า เมื่อใดความไม่เป็นธรรมจะเกิดขึ้นกับเราหรือชุมชนของเรา
สื่อรณรงค์เพื่อการปฎิรูปโครงสร้างการจัดสรรที่ดินในประเทศไทย โดย คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept : จากข่าวต่างๆ ตามทีวีและหน้าหนังสือพิมพ์ หรือสื่อต่างๆ จะเห็นปัญหาการความเหลื่อมล้ำทางสังคม คุณภาพชีวิตของผู้คนยิ่งถี่ห่าง ความเหลื่อมล้ำก็มากขึ้นเท่านั้น ปัญหาการเอาเปรียบระหว่างคนชั้นสูงคนชั้นกลาง และคนชั้นล่างจึงเกิดขึ้นอย่างชัดเจน โดยอาศัยข้อได้เปรียบทางการเงิน ความรู้ ปัญหาเรื่องโครงสร้างการจัดสรร “ที่ดิน” หรือ “ที่ทำกิน” เป็นปัญหาหนึ่งที่ถูกนำเสนอพูดถึงอยู่บ่อยๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักมีอายุอยู่ได้ไม่นาน…ไม่ใช่เพราะถูกแก้ แต่เหตุผลคือคนไทยขี้ลืม...การเลือกทำสื่อหัวข้อนี้เพราะไม่อยากให้ทุกคนแค่ ”รับรู้” ถึงปัญหา แต่อยากให้ “รู้สึก” ถึงหัวใจของคนที่ถูกกระทำ และพร้อมที่จะช่วยกันแก้ปัญหา
ผักดีมีจริงหรือ โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept : การใช้ “สารเคมี” ภาคเกษตรกรรมของไทยมีอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ผู้บริโภคในปัจจุบันพยายามจะหลีกเลี่ยงการบริโภคผักปนเปื้อนสารเคมี แต่ก็ใช้ว่าจะรอดพ้น เมื่อผู้บริโภคมี “เคล็ดลับ” ในการเลือก เกษตรกรผู้ปลูกผัก รวมทั้งแม่ค้า ก็มีกลยุทธ์ในการ “สร้างภาพ” อำพรางความจริงได้อย่างแนบเนียนเช่นกัน นักศึกษาจึงเลือกผลิตสื่อเพื่อนำเสนอสภาพปัญหาจากสถานการณ์จริง พร้อมทั้งนำเสนอ “ทางเลือก” ให้กับผู้บริโภค โดยชี้ให้เห็นว่า การแก้ปัญหาการใช้สารเคมีในภาคเกษตรจะเปลี่ยนก็ต่อผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม และเมื่อหนึ่งคนเปลี่ยน หลายคนเปลี่ยน ในที่สุดสังคมก็จะเปลี่ยน
ปลุกผัก โดย กลุ่มคัดผัก
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ผลงาน คัดผัก(KUDPAK) ตอน ปลุกผัก ม.ศิลปากร Concept : ผักเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแต่ต้องเป็นผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีระดับสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ออก “ตรารับรอง” ให้กับผัก ผลไม้ปลอดสารเคมี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับตรารับรองมาตรฐานเหล่านี้ “ตื่นตรา-ปลุกผัก” เป็นสื่อที่ต้องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตรารับต่างต่างๆ ในรูปแบบสื่อที่เข้าใจง่าย สั้น ตรงประเด็น เพื่อให้ประชาชนที่ใส่ใจสุขภาพ หันมา รับประทานผักให้มากขึ้น และสามารถเลือกผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีสารเคมีอยู่ในระดับที่ปลอดภัยมาบริโภคได้อย่างมั่นใจด้วยการดูจากตรารับรอง
ตื่นตรา โดย กลุ่มคัดผัก
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ผลงาน คัดผัก(KUDPAK) ตอน ตื่นตรา ม.ศิลปากร Concept : ผักเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแต่ต้องเป็นผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีระดับสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ออก “ตรารับรอง” ให้กับผัก ผลไม้ปลอดสารเคมี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับตรารับรองมาตรฐานเหล่านี้ “ตื่นตรา-ปลุกผัก” เป็นสื่อที่ต้องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตรารับต่างต่างๆ ในรูปแบบสื่อที่เข้าใจง่าย สั้น ตรงประเด็น เพื่อให้ประชาชนที่ใส่ใจสุขภาพ หันมา รับประทานผักให้มากขึ้น และสามารถเลือกผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีสารเคมีอยู่ในระดับที่ปลอดภัยมาบริโภคได้อย่างมั่นใจด้วยการดูจากตรารับรอง
boomsharang โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
สะกิดเตือนให้ผู้ใช้สื่ออนไลน์เช็คและคิดก่อนที่จะแชร์ข้อมูลใดๆออกไป เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียย้อนกลับมา
ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา)
พาไปดูตัวอย่างการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ของโรงเรียนต้นแบบ โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) จ.ศรีสะเกษ ที่ทำวันศุกร์ให้เป็น Friday is Flyday หรือวันแห่งการโบยบิน โดยที่ตลอดวันเด็ก ๆ จะได้ทำกิจกรรมหลากหลาย ตั้งแต่เช้าเป็นการเดินจงกรม ทำสมาธิ ต่อมาที่ช่วงสาย ๆ จะเป็นการทำกิจกรรมศิลปะสนุก ๆ และปิดท้ายด้วยการฝึกทักษะชีวิตกับประสบการณ์ทำอาหารอร่อย ๆ เด็ก ๆ มีความสุข สนุกสนาน และสามารถนำสิ่งต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและชีวิตประจำวันได้
13 ปี คลิตี้ ชีวิต สายน้ำ ความหวัง
13 ปี เส้นทางการต่อสู้ของชาวกระเหรี่ยงในหมู่บ้านคลิตี้ล่าง อ.ศรีสวัสดิ์ และ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี นับตั้งแต่ปี 2510 ที่ธุรกิจเหมืองแร่ได้คร่าชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ด้วยการปล่อยน้ำเสียที่มีสารตะกั่วลงสู่แหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ของชุมชน ชาวบ้านต้องเผชิญปัญหานี้โดยลำพัง จนในปี 2541 จึงลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องสิทธิ์ความเป็นธรรม กระทั่งปี 2554 ธุรกิจเหมืองแร่นั้นเลิกกิจการไปแล้ว แต่สารตะกั่วยังอยู่สร้างผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก คนในชุมชนและสิ่งแวดล้อม คนนอกพื้นที่อาจจะคิดว่าการเรียกร้องของชาวบ้านหมู่บ้านคลิตี้ล่าง ได้รับการเยียวยาด้วยเงินชดเชยแล้ว แท้จริงพวกเขายังคงเดินต่อสู้ต่อด้วยวิถีของการสร้างงานศิลปะ บอกเล่าผ่านการใช้พื้นที่ งานศิลปะ และสื่อสร้างสรรค์ เพื่อให้คนตัวใหญ่ในสังคมได้หันมามองคนตัวเล็ก ๆ แห่งนี้บ้าง
กลุ่มศิลปวัฒนธรรมอาหาร
ผลงาน กลุ่มศิลปวัฒนธรรมอาหาร ได้ลงพื่นที่มัสยิดบ้านตึกดิน ชุมบางลำพู จากการอบรมการเรียนรู้ทำ Mobile Journalism รู้เท่าทันสื่อและการถ่ายทำ ตัดต่อด้วย Smart Phone สนับสนุนโดย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส.
กลุ่มศิลปวัฒนธรรมบ้านบาตร
ผลงาน กลุ่มศิลปวัฒนธรรมบ้านบาตร ได้ลงพื่นที่ชุมชนบ้านบาตร จากการอบรมการเรียนรู้ทำ Mobile Journalism รู้เท่าทันสื่อและการถ่ายทำ ตัดต่อด้วย Smart Phone สนับสนุนโดย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส.
กลุ่มศิลปวัฒนธรรมละครชาตรี
ผลงาน กลุ่มศิลปวัฒนธรรมละครชาตรีได้ลงพื่นที่ชุมชนนางเลิ้ง จากการอบรมการเรียนรู้ทำ Mobile Journalism รู้เท่าทันสื่อและการถ่ายทำ ตัดต่อด้วย Smart Phone สนับสนุนโดย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส.