WILL SHARE (Wheel Chair) ผลงาน Animation - It will be (If we shared) โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Universal Design อารยสถาปัตย์ เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมให้ตอบรับกับทุกคน เพราะเป็นการออกแบบ ปรับเปลี่ยน ปรับใช้สิ่งแวดล้อมให้เหมาะแก่การใช้งานของทุกคนไม่เฉพาะผู้พิการ แต่ยังรวมถึงผู้สูงอายุ เด็ก และทุกๆ คน จึงมุ่งให้คนในสังคมเข้าใจถึงประโยชน์และความจำเป็นของ University Design จึงออกแบบสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคม Animation "IT WILL BE (IF WE SHARED) "สังคมของเราจะเป็นอย่างไร... เมื่อสภาพแวดล้อมพร้อมสำหรับทุกคน
WILL SHARE (Wheel Chair) ละครหุ่นสั้น HAPPY PUFFY SHOW โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Universal Design อารยสถาปัตย์ เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมให้ตอบรับกับทุกคน เพราะเป็นการออกแบบ ปรับเปลี่ยน ปรับใช้สิ่งแวดล้อมให้เหมาะแก่การใช้งานของทุกคนไม่เฉพาะผู้พิการ แต่ยังรวมถึงผู้สูงอายุ เด็ก และทุกๆ คน จึงมุ่งให้คนในสังคมเข้าใจถึงประโยชน์และความจำเป็นของ University Design จึงออกแบบสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคม "THE HAPPY PUFFY SHOW" Puppet Show อารมณ์ดี ที่จะทำให้คุณเห็นถึงประโยชน์ของ Universal Design
WILL SHARE (Wheel Chair) การ์ตูน Everyday is Troubleโดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Universal Design อารยสถาปัตย์ เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมให้ตอบรับกับทุกคน เพราะเป็นการออกแบบ ปรับเปลี่ยน ปรับใช้สิ่งแวดล้อมให้เหมาะแก่การใช้งานของทุกคนไม่เฉพาะผู้พิการ แต่ยังรวมถึงผู้สูงอายุ เด็ก และทุกๆ คน จึงมุ่งให้คนในสังคมเข้าใจถึงประโยชน์และความจำเป็นของ University Design จึงออกแบบสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคม การ์ตูนรวบรวมปัญหาอันเกิดจากสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อันเนื่องจากการขาด Universal Design ที่สมบูรณ์ในสังคม
WILL SHARE (Wheel Chair) Infographic โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Universal Design อารยสถาปัตย์ เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมให้ตอบรับกับทุกคน เพราะเป็นการออกแบบ ปรับเปลี่ยน ปรับใช้สิ่งแวดล้อมให้เหมาะแก่การใช้งานของทุกคนไม่เฉพาะผู้พิการ แต่ยังรวมถึงผู้สูงอายุ เด็ก และทุกๆ คน จึงมุ่งให้คนในสังคมเข้าใจถึงประโยชน์และความจำเป็นของ University Design จึงออกแบบสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคม Infographic เสนอ "หลัก 7 ประการ" ที่สำคัญของ Universal Design และ Universal Design ตามสถานที่ต่างๆ มีความสำคัญอย่างไรต่อผู้พิการ ?
ฉัน (ไม่) พิการ stop motion ผลงานจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-ผังเมือง-นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จากแนวคิดที่ว่าสภาพแวดล้อมเป็นตัวกำหนดให้เกิดความพิการขึ้น ไม่ใช่เกิดจากการพิการทางร่างกายเท่านั้น และความพิการเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน จึงต้องการให้ความรู้ สร้างเข้าความใจเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้พิการ เป็นการช่วยปรับทัศนคติให้เข้าใจผู้พิการมากขึ้น และให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับผู้พิการเทียบเท่าคนปกติ
ฉัน (ไม่) พิการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-ผังเมือง-นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จากแนวคิดที่ว่าสภาพแวดล้อมเป็นตัวกำหนดให้เกิดความพิการขึ้น ไม่ใช่เกิดจากการพิการทางร่างกายเท่านั้น และความพิการเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน จึงต้องการให้ความรู้ สร้างเข้าความใจเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้พิการ เป็นการช่วยปรับทัศนคติให้เข้าใจผู้พิการมากขึ้น และให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับผู้พิการเทียบเท่าคนปกติ
หนังสือ My Right ความฝัน ขาฉัน ไดอารี่ คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ไดอารี่เล่มนี้ เขียนขึ้นโดยนักศึกษาภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ และภาคนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ต้องการสะท้อนมุมมอง ความรู้สึกนึกคิดของคนพิการกับการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเท่าเทียม เข้าถึงสิทธิ กฎหมาย สวัสดิการ และสิ่งต่างๆ ที่ผู้พิการพึงจะได้รับ แม้เรื่องราวจะเป็นตัวละครสมมติ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่พบเห็นได้จริงในสังคม ไดอารี่เล่มนี้ จึงเป็นเสียงสะท้อนที่บอกไปยังคนในสังคมได้ตื่นตัวในการเปิดพื้นที่และสิทธิเพื่อดูแลผู้พิการให้ได้รับความเท่าเทียมทางสังคม
My Right ความฝัน ขาฉัน ไดอารี่ คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ผลงานโบรชัวร์ infographic นำเสนอความรู้สึกของคนพิการที่หลังได้รับอุบัติเหตุ ผ่านไดอารี่ เพื่อบอกเล่าความรู้สึกให้คนทั่วไปได้รับรู้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจคนพิการ
จับต้นชนปลาย โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ ทีมที่ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เด็กๆ ในชุมชนขาดการอบรมสั่งสอน และขาดความอบอุ่นจากพ่อแม่รวมทั้งสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยจึง คิดหาวิธีแก้ไขผ่านกิจกรรมต่างๆ และนำมาเป็นคู่มือ ที่ร่วมกันแก้ไขปัญหาให้กับเด็กๆ ในชุมชนได้หลากหลายวิธี
Creative Shield - 1
ผลงานอินโฟกราฟิก โดยนักศึกษาคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยนำเสนอเรื่องของพื้นที่สร้างสรรค์ จากการลงพื้นที่เรียนรู้ที่ชุมชนดวงแข กับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) โดยได้สะท้อนแนวคิดออกมาเป็นการทำสื่อ FB ชื่อ CreativeShield ในประเด็น ทำอย่างไรให้มีพื้นที่ให้เด็กได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด Safe Space โดยสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้าง Safe Space ในความคิดของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความมั่นใจในศักยภาพของตนเอง เกิดความเข้มแข็งที่จะปกป้องตนเองจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยอินโฟกราฟิกชิ้นนี้เป็น 1 ในผลงานที่ใช้ในการเผยแพร่
เพราะมีค่ามากกว่า โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี
คลิปวีดิโอนำเสนอผลงานการจัดทำสื่อ อาทิ เว็บไซต์ แอพพลิเคชัน และ Interactive Game โดย นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี เพื่อนำเสนอคุณค่าของ จ.กระบี่ในด้านต่าง ๆ อาทิ คุณค่าทางธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยว การประกอบอาชีพของคนในพื้นที่ แนวคิดนำเสนอให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้มีคุณค่ามากกว่าจะนำมาแลกกับเชื้อเพลิงถ่านหิน รวมไปถึงการนำเสนอข้อมูลพลังงานทางเลือกที่มีผลกระทบทางธรรมชาติให้น้อยที่สุด
ปัญหาที่ดิน โดย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ปัญหาที่ดิน ที่มีมาเนิ่นนานในสังคมไทย ไม่ได้เกิดขึ้นจากนักการเมืองหรือนายทุนอย่างที่เราๆ เข้าใจกันเพียงเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องไปถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในระบบการจัดการ และกระจายทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ในที่สุดการบังคับใช้กฏหมายจึงอาจจะไม่ใช่ทางออกสุดท้ายของปัญหานี้