trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ศิลปะ" พบ 41 ข้อมูล

ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา)

พาไปดูตัวอย่างการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ของโรงเรียนต้นแบบ โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) จ.ศรีสะเกษ ที่ทำวันศุกร์ให้เป็น Friday is Flyday หรือวันแห่งการโบยบิน โดยที่ตลอดวันเด็ก ๆ จะได้ทำกิจกรรมหลากหลาย ตั้งแต่เช้าเป็นการเดินจงกรม ทำสมาธิ ต่อมาที่ช่วงสาย ๆ จะเป็นการทำกิจกรรมศิลปะสนุก ๆ และปิดท้ายด้วยการฝึกทักษะชีวิตกับประสบการณ์ทำอาหารอร่อย ๆ เด็ก ๆ มีความสุข สนุกสนาน และสามารถนำสิ่งต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและชีวิตประจำวันได้

13 ปี คลิตี้ ชีวิต สายน้ำ ความหวัง

13 ปี เส้นทางการต่อสู้ของชาวกระเหรี่ยงในหมู่บ้านคลิตี้ล่าง อ.ศรีสวัสดิ์ และ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี นับตั้งแต่ปี 2510 ที่ธุรกิจเหมืองแร่ได้คร่าชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ด้วยการปล่อยน้ำเสียที่มีสารตะกั่วลงสู่แหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ของชุมชน  ชาวบ้านต้องเผชิญปัญหานี้โดยลำพัง จนในปี 2541 จึงลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องสิทธิ์ความเป็นธรรม กระทั่งปี 2554  ธุรกิจเหมืองแร่นั้นเลิกกิจการไปแล้ว  แต่สารตะกั่วยังอยู่สร้างผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก คนในชุมชนและสิ่งแวดล้อม  คนนอกพื้นที่อาจจะคิดว่าการเรียกร้องของชาวบ้านหมู่บ้านคลิตี้ล่าง  ได้รับการเยียวยาด้วยเงินชดเชยแล้ว  แท้จริงพวกเขายังคงเดินต่อสู้ต่อด้วยวิถีของการสร้างงานศิลปะ  บอกเล่าผ่านการใช้พื้นที่ งานศิลปะ และสื่อสร้างสรรค์  เพื่อให้คนตัวใหญ่ในสังคมได้หันมามองคนตัวเล็ก ๆ แห่งนี้บ้าง  

กลุ่มศิลปวัฒนธรรมละครชาตรี

ผลงาน กลุ่มศิลปวัฒนธรรมละครชาตรีได้ลงพื่นที่ชุมชนนางเลิ้ง จากการอบรมการเรียนรู้ทำ Mobile Journalism รู้เท่าทันสื่อและการถ่ายทำ ตัดต่อด้วย Smart Phone สนับสนุนโดย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส.

อ่อลางมอแกน

“อ่อลางมอแกน” โดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุข ศสส. เป็นการถอดบทเรียนองค์ความรู้และถ่ายทอดเรื่องราวกระบวนการการใช้สื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมาบูรณาการเพื่อพัฒนาเยาวชนและชุมชนชาวมอแกนในพื้นที่จังหวัดพังงาและจังหวัดระนอง ในโครงการเด็กอันดามันสร้างสุข (อ่อลางมอแกน) ซึ่งเป็นการร่วมมือกันของปราชญ์พื้นบ้านชาวมอแกน ศิลปิน แกนนำชุมชนมอแกน คณะทำงานเยาวชนมอแกน องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน โดยได้นำการละคร สื่อศิลปะพื้นบ้านมาเป็นตัวเชื่อมร้อยมิติสุขภาวะทางสังคมในชุมชน เพื่อให้เกิดพัฒนาการและการสืบสานทางวัฒนธรรมในกลุ่มชาติพันธุ์มอแกน อีกทั้งสร้างสำนึกรักภูมิปัญญาท้องถิ่น อัตลักษณ์และเสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ให้แก่เหล่าเยาวชนมอแกน 

หมอลำหุ่น สื่อศิลปะของกลุ่มออมทอง มหาสารคาม

ปัจจุบันระบบการศึกษาของไทย เน้นเรื่อง “ศาสตร์” แต่ขาดศีลธรรมและจริยธรรม ทำให้คนเราขาดเครื่องมือในการพัฒนาตนเองให้เผชิญหน้ากับกระแสสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีความซับซ้อนของปัญหาทางสังคม กลุ่ม “ออมทอง” จึงริเริ่มถอดองค์ความรู้จากการดำเนินโครงการ “หมอลำหุ่น” เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์นอกห้องเรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและค่านิยมเสพติดวัตถุนิยมแก่เยาวชน ให้เยาวชนได้รู้จักเรียนรู้เท่าทันตนเองและคุณค่าของวิถีชุมชนผ่านงานสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชน ที่ผสมผสานเรื่อราวของพระพุทธศาสนาเข้ากับกระบวนการศิลปะบูรณาการหลายแขนง อีกทั้งยังปลูกฝังคุณธรรมและคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เยาวชนได้สืบสานอัตลักษณ์ของชาวอีสานให้ยั่งยืนต่อไป

ความรักศิลปะบทกวีมีใบไม้เป็นครู

“เพราะความงามคือความจริง” ร่วมเรียนรู้การอยู่ร่วมกันระหว่างชีวิตและธรรมชาติ  ที่กลุ่มเด็กรักป่าอีสานใต้ ได้ เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2532 จนเกิดโครงการโรงเรียนเด็กรักป่าขึ้นในปี 2534  เป็นศูนย์ศึกษาธรรมชาติและผืนป่า ที่เชื่อมโยงระหว่างเด็ก ชุมชน และธรรมชาติเข้าหากันอย่างเกื้อกูล มีการสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อปลูกฝังให้ชุมชนรักษ์และเห็นคุณค่าของป่าและธรรมชาติ ด้วยงานศิลปะหลากหลายขนาด เช่น งานวาดภาพ งานเขียนบทกวี ดนตรี กิจกรรมดูนกเดินป่า ทำบาติกย้อมสีธรรมชาติ

ศิลปะจะมีส่วนร่วมกันสร้างสรรค์สังคมได้อย่างไร

จากภาวะปัญหาสังคมไทยในปัจจุบันที่อยู่ในวิกฤตความเลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม ขาดการบูรณการและจิตสำนึกในการสร้างสรรค์พัฒนาสังคม จึงได้เกิดการร่วมมือกันระหว่างสี่ภาครัฐและภาคประชาชนขึ้น ในการใช้พลังศิลปวัฒนธรรมทุกสาขา วรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ และศิลปะการแสดง เพื่อเยียวยาสร้างสรรค์พฤติกรรมและอารมณ์ของผู้คนในสังคม ให้มีความละเอียดอ่อน มีภูมิคุ้มกันและเข้าใจสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่ ทว่า ศิลปะ เพียงอย่างเดียวคงเยียวยาสังคมไม่ได้นัก ต้องมีชีวิต มีความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคมร่วมแรงร่วมใจกัน เพราะการสร้างสรรค์สังคมเป็นหน้าที่ของทุกคน โดยมีศิลปะเป็นเครื่องมือนำไปสู่สังคมที่วาดหวังได้

สื่อศิลปวัฒนธรรมสู่มหาลัยภูมิปัญญาแห่งอีสาน

“คู่มือการใช้สื่อศิลปวัฒนธรรม สร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน” โดย เครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน เป็นการถอดแบบบทเรียนกระบวนการการทำงานของ 9 เครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน ที่ได้ดำเนินการแบบแยกส่วนอยู่ในหลายพื้นที่ในภาคอีสาน ทั้งจังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม นครราชสีมา เลย สุรินทร์ และศรีสะเกษ ซึ่งทั้ง 9 เครือข่ายนี้ ได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ โดยการนำสื่อศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าสู่ชุมชน ทั้งละคร หมอลำ หนังประโมทัย การทอผ้า ดนตรี กันตรึม ผญา และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเป็นการฟื้นฟู เยียวยา กล่อมเกลา สร้างสรรค์และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในภาคอีสาน อีกทั้งสร้างสำนึกรักภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์ความรู้สำคัญให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ เพื่อนำมาปรับใช้พัฒนาบ้านเกิดของตนเองต่อไป

ตะลุยเมือง 3 ดีต่างแดน @George Town 2014

ตะลุยเมือง 3 ดี @George Town 2014 เป็นหนังสือเล่มเล็กที่เล่าสรุปถึงเมืองจอร์จทาวน์ รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย เมื่อครั้งที่สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน พากลุ่มภาคีเครือข่ายเมือง 3 ดีไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ศิลปะมาเป็นตัวเชื่อมโยงเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เยาวชนในเมืองจอร์จทาวน์ ไม่ว่าจะเป็น การถ่ายรูป หุ่นเงา วาดภาพ หรือการทำอาหารประจำชุมชน ทำให้เยาวชนเกิดความรัก หวงแหนในเมืองจอร์จทาวน์ ไม่ใช่ในฐานะเมืองมรดกโลก แต่เป็นชุมชนของตัวเอง หนังสือเล่มเล็กเล่มนี้จะพาไปรู้จักกิจกรรมและพื้นที่สร้างสรรค์ในจอร์จทาวน์ทุกมุม ผนวกด้วยเส้นทางการเดินทาง โรงแรม ประหนึ่งคล้ายหนังสือท่องเที่ยวเล่มเล็ก ๆ ที่ให้ผู้อ่านได้เพลิดเพลินสนุกกับการเรียนรู้และพร้อมจะออกเดินทางไปสู่เมืองแห่งศิลปะนี้ด้วยกัน

จุลสาร ศิลป์สร้างสุข เดือนสิงหาคม 2555

ไปทำความรู้จักกับการนำศิลปะมาเป็นพลังในการเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์สังคม นานาทัศนะจากศิลปินและผู้เกี่ยวข้อง พร้อมกับไปทำความรู้จักกับโครงการศิลปะเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมในภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย

จุลสาร ศิลป์สร้างสุข เดือนกันยายน-ตุลาคม2555

พบกับเรื่องราวการประสานกำลังของ ศิลปะ ศิลปินพื้นบ้าน กับการรวมตัวเพื่อนำศิลปะมาสร้างสรรค์ความสุข นอกจากนี้ศิลปะยังเป็นกลยุทธ์การสร้างความเท่าเทียมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้อย่างยอดเยี่ยมอีกด้วย

ร่มไม้ในป่าใหญ่

คลิปวิดีโอกิจกรรมเรื่องเล่าจากป่าชุมชน เนื้อหาให้เราได้เห็นป่าชุมชนในมิติของการเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ ทำงานศิลปะ ถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานนิทาน งานศิลปะ การย้อมผ้า และยังเป็นพื้นที่ที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างผู้สูงวัยในฐานะผู้รู้ ปราชญ์ชุมชน กับเด็กๆ รุ่นใหม่อีกด้วย

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.