ความรักศิลปะบทกวีมีใบไม้เป็นครู
“เพราะความงามคือความจริง” ร่วมเรียนรู้การอยู่ร่วมกันระหว่างชีวิตและธรรมชาติ ที่กลุ่มเด็กรักป่าอีสานใต้ ได้ เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2532 จนเกิดโครงการโรงเรียนเด็กรักป่าขึ้นในปี 2534 เป็นศูนย์ศึกษาธรรมชาติและผืนป่า ที่เชื่อมโยงระหว่างเด็ก ชุมชน และธรรมชาติเข้าหากันอย่างเกื้อกูล มีการสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อปลูกฝังให้ชุมชนรักษ์และเห็นคุณค่าของป่าและธรรมชาติ ด้วยงานศิลปะหลากหลายขนาด เช่น งานวาดภาพ งานเขียนบทกวี ดนตรี กิจกรรมดูนกเดินป่า ทำบาติกย้อมสีธรรมชาติ
สำนึกสุขภาวะ
ด้วยสภาพสังคมไทยทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสสังคมโลก จนอาจทำให้เรามองข้ามความงามในตัวตนและรากเหง้าของเราไป วรรณกรรมชุมชน สำนึกสุขภาวะ กระจกบานเล็กที่สะท้อนวิถีชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น สายใยแห่งบรรพบุรุษที่ได้บ่มเพาะมาอย่างยาวนาน โดยมุ่งหวังปลูกสร้างจิตสำนึกการพึ่งตนเอง ให้แก่คนในพื้นที่โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ให้มองเห็นลึกซึ้งถึงรากเหง้า เข้าถึงปัจจุบันของตัวตนทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม ปลูกสำนึกรักในบ้านเกิด หวงแหนในทรัพยากรของชุมชน ผ่านทางกิจกรรมอันได้แก่ ดนตรี กวี ศิลปะ เพื่อสืบทอดเจตนาของบรรพบุรุษด้วยจิตวิญญาณความเป็นชาติไทยต่อไปให้ยั่งยืน
ศิลปะจะมีส่วนร่วมกันสร้างสรรค์สังคมได้อย่างไร
จากภาวะปัญหาสังคมไทยในปัจจุบันที่อยู่ในวิกฤตความเลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม ขาดการบูรณการและจิตสำนึกในการสร้างสรรค์พัฒนาสังคม จึงได้เกิดการร่วมมือกันระหว่างสี่ภาครัฐและภาคประชาชนขึ้น ในการใช้พลังศิลปวัฒนธรรมทุกสาขา วรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ และศิลปะการแสดง เพื่อเยียวยาสร้างสรรค์พฤติกรรมและอารมณ์ของผู้คนในสังคม ให้มีความละเอียดอ่อน มีภูมิคุ้มกันและเข้าใจสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่ ทว่า ศิลปะ เพียงอย่างเดียวคงเยียวยาสังคมไม่ได้นัก ต้องมีชีวิต มีความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคมร่วมแรงร่วมใจกัน เพราะการสร้างสรรค์สังคมเป็นหน้าที่ของทุกคน โดยมีศิลปะเป็นเครื่องมือนำไปสู่สังคมที่วาดหวังได้
สื่อศิลปวัฒนธรรมสู่มหาลัยภูมิปัญญาแห่งอีสาน
“คู่มือการใช้สื่อศิลปวัฒนธรรม สร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน” โดย เครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน เป็นการถอดแบบบทเรียนกระบวนการการทำงานของ 9 เครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน ที่ได้ดำเนินการแบบแยกส่วนอยู่ในหลายพื้นที่ในภาคอีสาน ทั้งจังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม นครราชสีมา เลย สุรินทร์ และศรีสะเกษ ซึ่งทั้ง 9 เครือข่ายนี้ ได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ โดยการนำสื่อศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าสู่ชุมชน ทั้งละคร หมอลำ หนังประโมทัย การทอผ้า ดนตรี กันตรึม ผญา และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเป็นการฟื้นฟู เยียวยา กล่อมเกลา สร้างสรรค์และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในภาคอีสาน อีกทั้งสร้างสำนึกรักภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์ความรู้สำคัญให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ เพื่อนำมาปรับใช้พัฒนาบ้านเกิดของตนเองต่อไป
โรคาฮาเฮ
“โรคาฮาเฮ” 11 เรื่องสั้น ชวนกันอย่าอ้วน จากผลงานการประกวดในโครงการร่วมสร้างสรรค์สื่อเรื่องสั้นและการ์ตูน “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” โดย 11 นักเขียนกิตติมศักดิ์และเยาวชนในโครงการ ปิ๊งส์ เด็กเฮ้ว นักผลิตสื่อสร้างเสริมสุขภาวะสร้างแรงบันดาลใจฯ ที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์เรื่องราวสะท้อนให้สังคมได้ตระหนักถึงอันตรายของความอ้วน ที่เป็นปัญหาระดับโลกและประโยชน์ของการหมั่นออกกำลังกาย ด้วยลีลาการเล่าเรื่องที่หลากหลายและสนุกสนานน่าติดตาม
อ้วนแล้วไปไหน
โรคอ้วนในเด็ก ปัญหาที่ดูเหมือนเล็ก แต่มีวี่แววว่าจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต “อ้วนแล้วไปไหน” ผลงานการประกวดการ์ตูนช่อง ระดับประชาชนในโครงการ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” โดยศิลปินนักวาดการ์ตูน เพื่อเผยแพร่แนวคิดเรื่องการดูแลสุขภาพและเป็นกระจกเงาสะท้อนให้สังคมได้ตระหนัก ตื่นตัว ในเรื่องโทษของการบริโภคนิยมและการปล่อยให้เด็กอ้วน อีกทั้งเป็นการสร้างพื้นที่และช่องทางให้แก่นักวาดการ์ตูน ที่มีความสามารถได้สร้างสรรค์ผลงานผ่านเรื่องราวและประเด็นทางสุขภาวะ เพื่อเป็นอีกแรงเสริมพลังผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติค่านิยม ความเข้าใจและพฤติกรรมในสังคมให้ไปสู่สังสุขภาวะสืบไป
การพนัน เด็ก
มาร่วมพิสูจน์กันว่า เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี จะเข้าไปเล่นพนันฟุตบอลในเว็บไซต์ออนไลน์ได้หรือไม่? ผลงานสร้างสรรค์ในประเด็น "การพนันบอล" จากทีม Toolmorrow