ร.๙ ในใจชน ตอน เรื่องเล่าของในหลวงกับชายถอดเสื้อ
แนวทางคิดในทำงานของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ว่า “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” อาจเสมือนคำพูดที่สวยหรู แต่เมื่อคุณเสถียร วิริยะพรรณพงศา ผู้ทำหน้าที่สื่อมวลชน ได้ลงพื้นที่ทำข่าว และมีโอกาสได้พูดคุยกับคุณลุงดิลก ศิริวิลลภ ล่ามประจำพระองค์ในหลวง รัชกาลที่ 9 จึงได้รับรู้เหตุการณ์ที่ในหลวงทรงลงพื้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังซ้ำซาก ทำมาหากินลำบาก ในหลวงทรงเข้าถึงชาวบ้านทุกชนชั้น แม้กระทั่งคุณลุงที่ไม่ได้สวมเสื้อ และวิ่งหนีเมื่อเห็นในหลวง พระองค์ก็มิทรงถือสา และพูดคุยถึงปัญหาต่างๆ อย่างเข้าใจ เพื่อนำมาพัฒนา เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพราชดำริ จ.นราธิวาส ในการบรรเทาทุกข์ให้ประชากรได้มีพื้นที่ทำกินไม่ลำบากอีกต่อไป
ร.๙ ในใจชน ตอน หนังสือของพ่อ (ตอนที่ 2)
ท่ามกลางพื้นที่แห่งความขัดแย้ง ความตายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นง่ายดาย แต่ไม่อาจทัดทานความเสียสละของคุณหมอชาวต่างชาติที่ทุ่มเทกำลังกายใจเต็มที่ในการช่วยเหลือชีวิตผู้เจ็บป่วย โดยมีความหวังว่าหากโลกนี้มีพระราชาเฉกเช่นในหลวง รัชกาลที่ 9 ความขัดแย้งในดินแดนนี้คงไม่เกิด ...เมื่อเราไม่อาจเปลี่ยนชะตาจึงต้องเรียนรู้ และยอมรับ เช่นเดียวกับวันที่คุณโตมร ศุขปรีชา ต้องเสียคุณพ่อไปอย่ากระทันหันโดยมิได้กล่าวคำลา ทว่าความสูญเสียที่สำคัญในชีวิตครั้งนั้น กลับเทียบเท่าไม่ได้กับความโศกเศร้าอาดูรของคนไทยทั้งแผ่นดิน เมื่อในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จสู่สวรรคาลัย
ร.๙ ในใจชน ตอน หนังสือของพ่อ (ตอนที่ 1)
จากหนังสือที่พ่อมอบให้ในวันคล้ายวันเกิด เมื่อตอนเรียนอยู่ประถมศึกษาปีทื่ 6 หนังสือปกแข็ง สีแดงเข้ม รวบรวมบทเพลงพระราชนิพนธ์ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจด้านการดนตรีให้ คุณโตมร ศุขปรีชาในวัยเด็ก พัฒนา เติบโต เป็นความประทับใจภายใน เมื่อนึกถึงหนังสือเล่มนั้น พระปรีชาสามารถด้านการดนตรีของพระองค์ และบทเพลงสายฝน ที่ตนเคยเล่นอิเล็กโทนเมื่อยังเยาว์ ก็จะเกิดความรู้สึก “ยำเยง ยกย่อง ทว่าเต็มตื้น และสดชื่นอย่างยิ่ง”
ไอดอลคิดดี สื่อดีมีไอเดีย
สรุปเรื่องราวของโครงการไอดอลคิดดี สื่อดีมีไอเดีย กับการสร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์สุขภาวะภาคใต้ (Creative Communication for Health) พลังของ 30 ทีมคนรุ่นใหม่ที่ใช้พลังสื่อสร้างสรรค์ถ่ายทอดสิ่งดี ๆ สู่สังคมในมิติต่าง ๆ ภายใต้กรอบแนวคิดสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม และการสร้างเมือง 3 ดีวิถีสุข
Dancing to the Moon
ภาพยนตร์สั้นเรื่อง Dancing to the Moon เป็นผลงานของน้องเยาวชนทีม Trive ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดสื่อสร้างสรรค์ประเภทภาพยนตร์สั้นจากโครงการ 'จิตอาสาพลังแผ่นดิน : ทำดีทำได้ทุกวัน เริ่มต้นวันนี้' เนื้อหาของหนังสั้นเรื่องนี้สะท้อนแนวคิดถึงคำว่าจิตอาสาว่ามีความหมายกว้างและใกล้ตัวมากกว่าที่เราเคยคิด แค่ทำสิ่งที่เราชอบ แต่มีความหมายกับใครบางคน ก็เป็นหนึ่งในงานจิตอาสาเช่นเดียวกัน โดยถ่ายทอดแนวคิดผ่านเรื่องราวของเด็กหนุ่มที่รักการเต้นเป็นชีวิตจิตใจ เมื่อชีวิตไม่อาจเดินตามฝันใช้การเต้นเพื่อการประกวดคว้ารางวัลที่ฝันใฝ่ แต่ในอีกด้าน เขากลับเดินไปพบความหมายจากการเต้นครั้งใหม่ ที่ทุกจังหวะคือการต่อเติมความฝันและความสุขให้ใครอีกคนหนึ่ง และสุดท้าย สิ่งที่เขาได้รับก็ยิ่งใหญ่และงดงามกว่าที่รางวัลใด ๆ จะให้ได้
สมุดบันทึกความดีของจ่อย
ภาพยนตร์สั้นเรื่องสมุดบันทึกความดีของจ่อย เป็นผลงานของน้อง ๆ เยาวชนทีม MAB48 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับรางวัลที่ 2 จากการประกวดสื่อสร้างสรรค์ประเภทภาพยนตร์สั้นจากโครงการ 'จิตอาสาพลังแผ่นดิน : ทำดี ทำได้ทุกวัน เริ่มต้นวันนี้' โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ตั้งคำถามถึงความหมายของความดีผ่านเหตุการณ์ของตัวละครหลักคือ ด.ช.จ่อย ที่ได้รับมอบหมายจากคุณครูให้ต้องทำสมุดบันทึกความดี แต่ด้วยชีวิตประจำวันที่จ่อยต้องช่วยแม่ขายก๋วยเตี๋ยวทุกวัน ไปโรงเรียนสาย ทำการบ้านสมุดบันทึกความดีไม่ทัน จ่อยจึงถูกสถานการณ์บีบคั้นว่าจะไม่ได้เลื่อนชั้น ในขณะที่เพื่อน ๆ ที่ทำความดีในโรงเรียนหรือแม้แต่เขียนบันทึกความดีขึ้นมาด้วยตัวเองกลับผ่านเรื่องนี้ไปได้อย่างสบาย ๆ หนังตั้งคำถามให้คนดูช่วยกันขบคิดว่า สิ่งใดมีความหมายถึงการทำความดีที่แท้จริง?
Small man
ผลงานภาพยนตร์สั้น Small man นี้เป็นผลงานของเยาวชนทีม Matchstick Production จาก วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลที่ 3 จากการประกวดสื่อสร้างสรรค์ประเภทภาพยนตร์สั้นโครงการ 'จิตอาสาพลังแผ่นดิน : ทำดี ทำได้ทุกวัน เริ่มต้นวันนี้' ภาพยนตร์เรื่องนี้หยิบเอาความฝันของเด็กผู้ชายเกือบทุกคนบนโลก ที่ครั้งหนึ่งต้องเคยฝันอยากเป็น Superhero ผ่านการเดินเรื่องโดยตัวละครหลัก 'ด.ช.เล็ก' ที่เชื่อมั่นว่าตัวเขาเองมีพลังดั่ง Superhero และด้วยความเชื่อนี้เอง ได้พาให้เล็กต้องไปพบเจอกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ท้าทายและสั่นคลอนความเชื่อมั่นในพลังของตัวเองจนเกือบถอดใจ แต่แล้วท้ายสุด เล็กก็ได้คำตอบให้กับตัวเองว่า แท้จริงแล้วพลังเล็ก ๆ ของเขานั้นมีคุณค่าและมีความหมายอย่างไร
แชร์ได้ แชร์ดี
สื่อโปสเตอร์ผลงานของนายศุภกร บัวลา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) จ.ปทุมธานี ได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทสื่อโปสเตอร์ จากการประกวดสื่อสร้างสรรค์โครงการ 'จิตอาสาพลังแผ่นดิน:ทำดี ทำได้ทุกวัน เริ่มต้นวันนี้' ผลงานชิ้นนี้มีแนวคิดสะท้อนอีกแง่มุมหนึ่งของพลังของการแชร์เรื่องราวในโลกออนไลน์ จากความดีเล็ก ๆ ในตัวเรา เมื่อได้แบ่งปันออกไป ก็อาจจะกลายเป็นพลังที่ใหญ่ขึ้น นำไปช่วยชีวิตคนอื่นได้ เหมือนถุงเลือดในภาพ ที่สามารถนำไปช่วยผู้ป่วยได้ต่อไป เปรียบได้เหมือนกับ พลังความดีที่พวกเราแบ่งปันมารวมกัน ความจริงก็ไม่ได้หายไปไหนไกล ท้ายสุด มันก็ย้อนกลับมาหาตัวเรา เป็นประโยชน์กับตัวเราด้วยนั่นเอง
ทำดี ทำได้ทุกวัน
สื่อภาพโปสเตอร์ผลงานสื่อสร้างสรรค์โดยทีม Greentea จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้รับรางวัลที่ 3 ประเภทสื่อโปสเตอร์ จากโครงการประกวดสื่อสร้างสรรค์ 'จิตอาสาพลังแผ่นดิน:ทำดี ทำได้ทุกวัน เริ่มต้นวันนี้' ตัวชิ้นงานนำเสนอแนวคิดว่าการทำดีนั้นสามารถทำได้ทุกวัน โดยไม่ต้องรอ ผ่านสัญลักษณ์กิจกรรมต่าง ๆ บนปฏิทิน ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้ กวาดขยะ แม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่เป็นความดีใกล้ตัวที่เราสามารถช่วยกันทำได้ทุกวัน
เป็นฮีโร่ได้ แค่ทำดี
สื่อภาพโปสเตอร์ชิ้นนี้ เป็นผลงานของนางสาวประภัสสร ขันปัญญา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) จ.ปทุมธานี ได้รับรางวัลที่ 2 จากโครงการประกวดสื่อสร้างสรรค์โครงการ 'จิตอาสาพลังแผ่นดิน : ทำดี ทำได้ทุกวัน เร่ิมต้นวันนี้' สะท้อนแนวคิดว่าเราทุกคนต่างเป็นฮีโร่ได้ด้วยการทำความดีที่เริ่มต้นง่าย ๆ ใกล้ตัว
ท่าพระ ชุมชนเศรษฐกิจ อดีตชุมทางการค้าภาคอีสาน
เสียงฉึกกะฉัก...ฉึกกะฉัก...ของรถไฟดังขึ้นครั้งแรกในชุมชน “ท่าพระ” หนึ่งใน 18 ตำบลของอำเภอเมืองขอนแก่น จากชุมชนเล็กๆ ที่มีผู้คนอาศัยอยู่เพียง 2 – 3 ครอบครัว เริ่มมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งไม่ได้มีแค่คนไทยแต่ยังมีคนจีนแผ่นดินใหญ่ที่หอบเสื่อผืนหมอนใบ มาตั้งหลักปักฐานบนแผ่นดินนี้ เกิดเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีตลาดสถานีรถไฟที่พ่อค้าแม่ขายได้นำสินค้ามาจำหน่าย แม้จะเป็น “ตลาดแบกะดิน” หรือตลาดที่ขายของบนพื้น แต่ตลาดแห่งเดียวกันนี้ก็นับว่าเป็นศูนย์กลางทางการค้า เพราะนอกจากชาวท่าพระแล้วยังมีชาวบ้านจากอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และใกล้เคียง บ้างเดินเท้า บ้างนั่งเกวียนเพื่อนำ “ของป่า” มาขายให้คนท่าพระและพ่อค้าคนกลางที่จะนำสินค้าเหล่านั้นไปขายในกรุงเทพมหานคร รายได้จากการขายของป่าก็นำมาซื้อข้าวของกลับไปขายต่อให้คนในหมู่บ้านซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป วิธีนี้ช่วยให้ชาวโกสุมพิสัยและใกล้เคียงไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงในตัวจังหวัดขอนแก่นเพราะมีแม่น้ำชีขวางกั้นการสัญจรค่อนข้างลำบาก สำหรับ “ของป่า” ที่ว่านั้น ชาวท่าพระผู้เป็นบุคคลอาวุโสได้บอกเล่าให้ฟังว่า ของป่าเป็นสินค้าชาวบ้านนิยมขาย ได้แก่ มะขามเปียก ครั่ง นุ่น ปอ ข้าว เศรษฐกิจท่าพระในขณะนั้นจึงคึกคักมาก ทำให้บริเวณใกล้เคียงสถานีรถไฟมีการปลูกสร้างบ้านเรือนมากขึ้น
Welcome HIV ยินดีที่ได้รู้จัก ทีม LI2T โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม
เรื่อง : Welcome HIV ยินดีที่ได้รู้จัก ประเด็น : สุขภาวะในชุมชน ผลงานจาก : ทีม L.I.2T จากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ สมาชิก : นางสาวกริสรินทร์ บุญรวิวัฒน์ นางสาวแพรวา คงฟัก นางสาวกัญญา เบี้ยเลี่ยม ผลิตสื่อของนักสื่อสารสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ “สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม” @MediaAsSocialSchool