trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ศิลปวัฒนธรรม" พบ 261 ข้อมูล

สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา : การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ (2)

ครูนุสรา เตียงเกตุ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้า สอนเรื่องการทำสีย้อมผ้าจากธรรมชาติต่อเนื่องเป็นตอนที่ 2 ในตอนนี้เราจะได้ดูขั้นตอนการย้อมผ้า จาก “ครั่ง”  ซึ่งเป็นแมลงชิ้นหนึ่ง  สามารถนำรัง หรือซากของตัวครั่ง มาย้อมร้อน คือการต้มให้ได้น้ำออกมา จากนั้นนำผืนผ้าลงไปย้อมก็จะได้ สีแดง หรือสีชมพู วัตถุดิบอีกชนิดหนึ่ง คือ “เหง้าขมิ้น” เมื่อนำมาต้มก็จะได้สีน้ำตาลอมเหลือง เมื่อนำผ้ามาย้อมก็จะได้สีเหลืองขมิ้น  และสุดท้ายวัตถุดิบที่อาจเรียกได้ว่าเป็นราชินีของการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติทั้งหมด  คือการย้อมจาก “ใบห้อม” ที่มาจากต้นห้อม เรามักเรียกว่าสีชนิดนี้ว่า 'สีหม้อห้อม' เพราะขั้นตอนการทำสี จะมีการทำเนื้อสี และการก่อเป็นหม้อเพื่อใช้ในการย้อม การย้อมหม้อห้อมเป็นศาสตร์และศิลป์ชั้นสูงในการย้อม ต้องใช้ความละเอียดและความใส่ใจในทุกขั้นตอน

สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา : การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ (1)

ด้วยความรักในธรรมชาติ  และสนใจเรื่องผ้า ครูนุสรา เตียงเกตุ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้า จึงคิดค้น และทดลอง นำสีจากธรรมชาติจากพวกใบไม้ ดอกไม้ มาเป็นสีในการย้อมผ้า โดยในตอนที่ 1 นี้ ครูนุสราจะมาสอนเคล็ดลับในการย้อมผ้าขั้นพื้นฐาน ให้เริ่มจากผ้าผืนเล็ก เช่น ผ้าเช็คหน้า และผ้าเช็คตัวก่อน  เทคนิคการย้อมให้สีติดทน  อาจมีการนำน้ำที่มีฤทธิ์เป็นกรด ที่ได้จากมะขาม มะกอก มะเกลือ สับปะรด และมะกรูด ส่วนน้ำด่าง ได้จากขี้เถ้า ปูนขาว เป็นต้น มาผสมกับสีที่เราสกัดจากดอกไม้ ใบไม้ เมล็ดผลไม้ต่าง ๆ ที่นำมาทำเป็นสีย้อมผ้า

อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวานมันเค็มเพิ่มผักผลไม้) ปี 2

คลิปวีดีโอประมวลภาพโครงการประกวดสื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์รณรงค์ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน”ประเทศไทยจัดเป็นเมืองอันดับต้นๆ ที่มีภาวะเด็กในวัยเรียนอ้วนในสัดส่วนที่สูงมาก ผลการวิจัยในปี 2558 ยังพบว่าเด็กในวัยเรียน 5 คน  จะมีเด็กอ้วนอยู่ 1 คน และพบว่าอัตราของเด็กอ้วนจะอยู่ในเขตเมืองมากกว่าร้อยละ 20 -25  โดยสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เด็กอ้วน คือ การกินอาหารรสชาติหวานมันเค็ม ขาดการออกกำลังกาย และไม่มีการกินผักและผลไม้  ดังนั้น สสส. จึงริเริ่มทำโครงการประกวดสื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์รณรงค์ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” เพื่อกระตุ้นให้เด็ก ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน  หันมาให้ความสำคัญในการปลูกฝัง ปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมให้เด็กไม่อ้วน  โดยหันมาดูแลสุขภาพที่ดีต่อไป

A Heart in A Hand บทเรียน 4 ภาค จากสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม

รวบรวมความรู้ที่สำคัญจากการดำเนินงานโครงการ สื่อเป็นโรงเรียนสังคม จากประสบการณ์จริงของ 4 โครงการต้นแบบ จาก 4 ภูมิภาค  คือโครงการนักสื่อสารข้อมูลน้ำ(ภาคเหนือ), โครงการเปิดถังข่าวปิดถังขยะ ชุมชนคนศรีสวัสดิ์ บ้านท่าตีนตก (ภาคกลาง), โครงการเรารักท่าพระ - อนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟ บ้านท่าพระ ขอนแก่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และโครงการเยาวชนนักสื่อสารสร้างสรรค์ บ้านลังกาอู้ เกาะลันตา (ภาคใต้) เกี่ยวกับการสื่อสารและการใช้สื่ออันแสนมหัศจรรย์นี้เชื่อมต่อระหว่างคน ชุมชนและธรรมชาติ เชื่อมโยงระหว่างปัจจุบัน อดีตและอนาคต เปิดประตูก้าวผ่านไปสู่โลกใบใหม่ที่เต็มไปด้วยเรื่องน่ารู่ เกร็ดน่ารัก และเป็นบ่อเกิดพลังสร้างสรรค์อันงดงามเพื่อชุมชนอย่างไม่รู้จบ   

บ้านสาวะภี สินไซโมเดล 2 เมืองวิถีสุข พื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี

บทสรุปการดำเนินงานของโครงการสินไซโมเดลเมืองสามดีวิถีสุขปี 2 ผ่านกิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมได้แก่ ค่าย, สัญจร, การแลกเปลี่ยน และการถอดบทเรียน โดยชุมชนสาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่นแห่งนี้ ถือเป็นพื้นที่ต้นแบบเมือง 3 ดีของภาคอีสาน  (พื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี) ที่เป็นพื้นที่กลางในการปฏิบัติงานของเครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน เรื่องราววรรณกรรมสินไซซึ่งเป็นเรื่องเล่าของแผ่นดินล้านช้าง สามารถเชื่อมโยงคนทํางานสื่อพื้นบ้านจากหลากหลายสาขาในภาคอีสาน เข้ามาปฏิบัติการด้วยกันจนสําเร็จในปีแรก ด้วยสื่อหลากหลายชนิดทั้ง เพลงกล่อมลูก, กันตรึม, ทอผ้า, หมอลํา หุ่น, หนังตะลุง, เพลง และการสืบค้นภูมิบ้านภูมิเมืองของตนเอง วรรณกรรมสินไซ สามารถเป็นเครื่องมือที่นําไปสู่การผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเป็นสื่อกลางของชุมชนแห่งนี้ เป็นการการันตีในการเชื่อมประสานความร่วมมือของทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน บ้าน วัด โรงเรียน

หนองจอก บ้านนอกกรุงเทพ

ผลงานคลิปวีดีโอจากทีม Santichon Production House พาเราไปพบกับพื้นที่เล็ก ๆ ใจกลางกรุงเทพที่มีวิถีชีวิตอันงดงามซ่อนอยู่ นั่นคือ หมู่บ้านคอยรุตตักวา บริเวณหนองจอก กรุงเทพมหานคร คำว่า คอยรุตตักวา นั้นมีความหมายว่า แผ่นดินทอง วิถีชีวิตที่นี่เป็นไปอย่างเรียบง่าย พอเพียง ไม่มีหนี้สิน ชาวบ้านนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต ทำสวน ทำนา ปลูกผัก เลี้ยงเป็ด เลี้ยงปลา ทั้งเอาไว้รับประทานในครัวเรือนและขายเป็นรายได้ ชุมชนแห่งนี้ยังแสดงออกถึงการอยู่ร่วมกันของชาวพุทธและมุสลิมอย่างเอื้ออาทรและมความสุข

(ฆ่า) ย่ะ

ผลงานสารคดี ทีม Good Luck นิสิตภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ตั้งคำถามกับขยะจำนวนมากมายที่เกิดขึ้นรอบตัว ก่อนจะพาไปดูศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองแสนสุข จ.ชลบุรี พูดคุย เรียนรู้ และมองเห็นมุมองอีกหลากหลายที่ทำให้เรารู้ว่า ปัญหาขยะไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวของพวกเราอีกต่อไป  

รักษ์นที

ผลงานสารคดี จากผักหวานทีม โรงเรียนภูกระดึงวิทยาคม พาไปหมู่บ้านผาสามยอด พูดคุยกับคุณเกษม สมชาย เจ้าของฟาร์มเกษตรอินทรีย์ กับวิถีอนุรักษ์น้ำ ดิน อากาศ นำสู่การปลูกผักอินทรีย์ ไร้สารพิษ พึ่งพาธรรมชาติ อยู่อย่างพอเพียง ส่งต่อแนวคิดให้คนรุ่นใหม่ช่วยกันสร้างวิถีชีวิตสุขภาวะอันงดงาม

เปิดอก

"เปิดอก" เป็นคลิปวีดีโอภายใต้โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม เนื้อหาว่าด้วยการรู้เท่าทันสื่อในครอบครัว สมาชิกทุกวัยในบ้าน ทั้งวัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ต่างต้องเรียนรู้ที่จะเท่าทันสื่อ ไม่ตกเป็นเหยื่อของสื่อที่หลอกลวงและบิดเบือนโดยเฉพาะในโลกออนไลน์ สิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว เรียนรู้ที่จะเปิดอกพูดคุยกันด้วยความรักและความเข้าใจ

โซ่ตรวน

หนังสั้น "โซ่ตรวน" สะท้อนชีวิตของกลุ่มเปราะบางและอ่อนไหวกลุ่มอดีตนักโทษที่เคยก้าวทำผิดพลาด ถึงแม้จะพ้นโทษแล้วแต่ก็ยังเหมือนมีโซ่ตรวนที่ล่ามติดไว้ในสายตาของสังคม ทั้งที่หากเปิดใจให้กว้าง มอบโอกาสให้คนกลุ่มนี้ได้เริ่มต้นใหม่ อาจจะพบว่าเขาเป็นคนที่มีความสามารถ ชีวิตที่ดีขึ้นเริ่มต้นเมื่อสังคมเปิดในและให้โอกาส

เงา

หนังสั้น "เงา" สะท้อนถึงกลุ่มอ่อนไหวอย่างคนพิการ ภายใต้โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม หนังเล่าเรื่องของคุณฟ้า - วิญธัชชา ถุนนอก CEO สินค้า New Me Brand ที่ทุ่มเทคิดค้นผลิตภัณฑ์ของตัวเองขึ้นมาเพื่อขายในสื่อออนไลน์ แต่กลับโดนคำพูดทำร้ายว่าสินค้าขายได้เพียงเพราะแค่มีคนสงสาร หนังสั้นเล่าเรื่องชีวิตคุณฟ้าในช่วงต้น ก่อนที่จะสัมภาษณ์คุณฟ้าตัวจริงพร้อมกับสามี ก่อนจะทิ้งท้ายให้คนดูได้คิดว่า คนพิการมีคุณค่า และมีความสามารถไม่แพ้ใคร "ถึงร่างกายจะพิการ แต่ใจไม่พิการ คือสิ่งที่สำคัญที่สุด"

คุณค่าขยะ

ภาพยนตร์สั้น "คุณค่าขยะ" เล่าเรื่องของชายหนุ่มคนหนึ่ง ที่มีชีวิตอยู่กับการบริโภคและก่อขยะในแต่ละวันมากมาย จนวันหนึ่งเกิดคำถามขึ้นว่า ขยะเหล่านี้เดินทางไปที่ไหน? ชายหนุ่มออกเดินทางตามขยะจนไปถึงบ่อขยะ และเห็นขยะจำนวนมากมาย รวมถึงอีกหลายชีวิตที่พึ่งพาอาศัยอยู่กับกองขยะ

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.