ศาสตร์พระราชาสู่หนึ่งเดียวกัน ตอนที่ 2 โดย ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ
ศาสตร์พระราชา สู่ความเป็นหนึ่งเดียว ด้วยการนำแนวคิดทางปรัชญา มาเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ และนำไปสู่การปฏิบัติ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บางครั้งสังคมนำมาใช้อย่างผิดหลักของปรัชญา เลยไม่ก่อให้เกิดปัญญาในบ้านเมือง แท้จริงแล้วปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือการทำให้คนอยู่ดีมีกิน แต่ไม่ใช่ให้รอแต่จะให้พออยู่พอกินด้วยการรอรัฐบาลสนับสนุน เราต้องเรียนรู้ในการใช้ชีวิตด้วยการพึ่งพาตนเอง นำความเข้มแข็งในระบบเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาเศรษฐกิจตามกลไกของโลก และสอดคล้องกับความเจริญของความคิดและจิตใจ เรียกว่าต้องมีการพัฒนาปรัชญาของแนวคิด และพัฒนาปัญญาของคนในชาติด้วย
ศาสตร์พระราชาสู่หนึ่งเดียวกัน โดย ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ
ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ ได้สะท้อนแนวคิดศาสตร์แห่งปรัชญา ควรมีพื้นฐานมาจากปรัชญา “ปรัชญา” เป็นภาษาสันสกฤตมีความหมายเดียวกันกับ “ปัญญา” ในภาษาบาลี ศาสตร์พระราชาสู่ความเป็นหนึ่งเดียว ไม่ได้หมายความว่าทำตาม ๆ กันไป แต่ต้องมีพื้นฐานมาจากแนวคิดมาจากปรัชญา คือ รู้ถึงความจริง รู้ว่าความจริงกับความเท็จต่างกันอย่างไร และเรามีการคัดเลือกความจริงที่ถูกต้องมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างไร ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระราชา หมายถึงการรู้ถึงแก่นแท้ของความพอประมาณ, ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี แล้วการเป็นหนึ่งเดียวกัน คือ การประสานกันทุกฝ่ายเพื่อนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่ชีวิต
3ดี วิถีสุข ตามรอยศาสตร์พระราชา
คลิปวิดีโอนำเสนอเรื่องราวการเดินตามรอยศาสตร์พระราชาของชาวชุมชนศรีสะเกษ ผ่านวิถี 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยดำเนินงานเชิงรุกไปที่การชักชวน ส่งเสริม ให้เด็ก ๆ รุ่นใหม่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมในโรงเรียน ส่งผ่านวิถีชีวิต 3 ดีจากรุ่นสู่รุ่นอย่างภาคภูมิใจ