trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ล" พบ 1943 ข้อมูล

ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน ซุปไก่ จังหวัด นราธิวาส

น้อง ๆ กลุ่มธนาคารใจอาสา 3 จังหวัดชายแดนใต้ จะพาเราไปทำความรู้จักและเข้าใจวิถีชีวิตของชาวมุสลิมผ่านวัฒนธรรมการกินอาหาร 'ฮาลาล' และเมนู 'ซุปไก่' ที่เป็นเมนูคู่กับวัฒนธรรมที่ยาวนานของชาวมุสลิม

ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน โมฮิงกาโต๊ะ แม่สอด จังหวัด ตาก

ไปรู้จัก 'โมฮิงกาโต๊ะ' หรือยำขนมจีนแท้ ๆ แสนอร่อย อาหารประจำครอบครัวจากประเทศพม่า โดยเด็กเยาวชนกลุ่ม Rays of youth อ.แม่สอด ใช้กระบวนการเรียนรู้อาหารพื้นถิ่นในชุมชนแรงงานเพื่อสร้างความเข้าใจและอยู่ร่วมกันของกลุ่มคนไทยและพม่าในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก 

ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน บะหมี่เกี๊ยวทุ่งเทิน จังหวัด ศรีสะเกษ

ในอดีตเด็ก ๆ หลายคนที่โรงเรียนบ้านเทิน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ รู้สึกอายที่จะบอกอาชีพของพ่อแม่ซึ่งเป็นคนขายบะหมี่เกี๊ยวในเมืองใหญ่ แต่พอคุณครูพาเด็ก ๆ ลงไปเรียนรู้วิธีการทำบะหมี่เกี๊ยว ให้คุณพ่อคุณแม่ได้เข้ามาสอนเด็ก ๆ ทำบะหมี่เกี๊ยว ทำให้เด็ก ๆ เปลี่ยนทัศนคติ เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในการทำบะหมี่เกี๊ยวที่เชี่ยวชาญของพ่อแม่ เกิดการขยายต่อความรู้เป็นหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน ทำให้เด็ก ๆ มีรายได้เสริมจากการทำ 'บะหมี่เกี๊ยวทุ่งเทิน' แสนอร่อยอีกด้วย

ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน ลาบหมู จังหวัดเชียงใหม่

เรียนรู้และเข้าใจความต่าง เห็นคุณค่าวัฒนธรรมผ่านอาหารประจำถิ่น สำหรับคลิปนี้เป็นผลงานของกลุ่มเด็กเยาวชนแดข่องนี้ดีแต้ จ.เชียงใหม่ เด็ก ๆ จะมาสาธิตวิธีทำลาบหมูอาข่า ซึ่งเป็นอาหารประจำถิ่น อุดมด้วยสมุนไพร อร่อย และยังได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ทำให้เด็ก ๆ ได้ภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง รวมถึงการเรียนรู้วิถีความยั่งยืนของอาหารอีกด้วย 

รายงานการวิจัย ถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนดีจังอีสานตุ้มโฮม อุดรธานี

รายงานวิจัยเชิงคุณภาพ โครงการเด็กอุดรรักษ์บ้าน เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและอุปสรรคปัญหา ที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนเครือข่าย ดีจังอีสานตุ้มโฮม ในพื้นที่เมืองอุดรธานี ภายใต้แนวคิด ๓ ดี วิถีพลเมือง ผ่านกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผลิตสื่อสร้างสรรค์และมหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ให้แก่เยาวชนและชุมชน เพื่อให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ รู้เท่าทันในการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม สร้างสรรค์สื่อให้มีประโยชน์และมีความรับผิดชอบร่วมกัน โดยใช้ภูมิปัญญาของทุกฝ่ายในชุมชน สร้างความตระหนักรักในศิลปวัฒนธรรมและคุณค่าในภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งยังส่งเสริมให้แกนนำเยาวชนนักสื่อสาร มีจิตอาสาเพื่อชุมชนอีสาน มีความรับผิดชอบและความเข้าใจในงานที่ทำ เพื่อพัฒนาเป็นนักสื่อสารมวลชนที่มีคุณภาพต่อไป

การวิจัยเรื่อง ถอดบทเรียนสื่อสารสร้างสรรค์ โครงการนักสื่อสารเยาวชนคนศรีสะเกษ ฮักบ้านเกิด

งานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและกระบวนการพัฒนาในพื้นที่บ้านหว้าน ด้วยสื่อสร้างสรรค์ของแกนนำนักสื่อสารเยาวชนศรีสะเกษ ฮักบ้านเกิด กลุ่มยูอีสาน ที่นำไปสู่การพัฒนาเยาวชนและชุมชน ให้รู้เท่าทันสื่อ เท่าทันตัวเอง เท่าทันสังคม และเพื่อต่อยอดขยายผลไปยังพื้นที่สร้างสรรค์อื่น ด้วยแนวคิด ๓ ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยให้เยาวชนและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดออกแบบ ลงมือปฏิบัติกิจกรรมสื่อ หรือ ใช้นวัตกรรมให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน อีกทั้งยังส่งเสริมให้คนในชุมชนได้เห็นคุณค่าในตัวเองและเรียนรู้ อนุรักษ์ประเพณี วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ต่อเนื่องกับโครงการโรงเรียนหมู่บ้านศีล ๕ ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง เพื่อบรรเทาปัญหาเด็กเยาวชนและลดช่องว่างระหว่างบ้าน วัด โรงเรียนหรือส่วนราชการ และยังส่งเสริมให้เยาวชนเห็นคุณค่าของผู้สูงวัยที่เป็นแหล่งทางภูมิปัญญาและความรู้

รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย

รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย เป็นการศึกษาในโครงการอีสานตุ้มโฮม เพื่ออธิบายถึงกลไก กระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ที่ได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็กและ เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย มีองค์ประกอบสำคัญคือ ต้นแบบแนวคิด 3 ดี : สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยใช้แนวคิดพลเมืองประชาธิปไตยและแนวคิดการสื่อสารสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน ครอบครัว คนในชุมชน รวมทั้งเครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งมีเยาวชนเป็นแกนหลักสำคัญในการดำเนินการ เพื่อนำสู่การการเปลี่ยนแปลงภายในในชุมชนที่ดีขึ้น สามารถขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียงต่อไป  

ละครเด็กคลิตี้ 13 ปี ชีวิต สายน้ำ ความหวัง

การแสดงนิทานเพลงจากเด็กและเยาชนของหมู่บ้านคลิตี้ ชุมชนชาวกระเหรี่ยง ที่ จ.กาญจนบุรี   สะท้อนภาพชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำและผืนป่า จนกระทั่งโรงแต่งเหมืองแร่เข้ามาทำธุรกิจที่ชุมชน  ชีวิตและสิ่งแวดล้อมของที่นี้จึงถูกทำลายด้วยสารตะกั่ว การเล่าเรื่องด้วยเสียงเพลงท่วงทำนองที่ไร้เดียงสา รอยยิ้ม และแววตาที่ใสซื่อบริสุทธิ์พวกเด็กๆ เหล่านี้  มุ่งหวังให้เป็นนิทานสอนใจ ขอให้หมู่บ้านคลิตี้ล่างนี้เป็นบทเรียนสุดท้าย เพื่อไม่ให้ชุมชนอื่นๆ ได้รับผลกระทบแบบชุมชนของตนเอง

13 ปี คลิตี้ ชีวิต สายน้ำ ความหวัง

13 ปี เส้นทางการต่อสู้ของชาวกระเหรี่ยงในหมู่บ้านคลิตี้ล่าง อ.ศรีสวัสดิ์ และ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี นับตั้งแต่ปี 2510 ที่ธุรกิจเหมืองแร่ได้คร่าชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ด้วยการปล่อยน้ำเสียที่มีสารตะกั่วลงสู่แหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ของชุมชน  ชาวบ้านต้องเผชิญปัญหานี้โดยลำพัง จนในปี 2541 จึงลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องสิทธิ์ความเป็นธรรม กระทั่งปี 2554  ธุรกิจเหมืองแร่นั้นเลิกกิจการไปแล้ว  แต่สารตะกั่วยังอยู่สร้างผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก คนในชุมชนและสิ่งแวดล้อม  คนนอกพื้นที่อาจจะคิดว่าการเรียกร้องของชาวบ้านหมู่บ้านคลิตี้ล่าง  ได้รับการเยียวยาด้วยเงินชดเชยแล้ว  แท้จริงพวกเขายังคงเดินต่อสู้ต่อด้วยวิถีของการสร้างงานศิลปะ  บอกเล่าผ่านการใช้พื้นที่ งานศิลปะ และสื่อสร้างสรรค์  เพื่อให้คนตัวใหญ่ในสังคมได้หันมามองคนตัวเล็ก ๆ แห่งนี้บ้าง  

เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

หนังสือสรุปผลงานวิจัย 3 เรื่อง เพื่อการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองเด็กและเยาวชนในสื่อยุคดิจิทัล ในรูปแบบที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย ประกอบไปด้วย 1. งานวิจัยประเด็นข้อเสนอนโยบายของหน่วยงานรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมต่อประเด็นการแข่งขันอีสปอร์ตในประเทศไทย 2. งานวิจัยประเด็นการขับเคลื่อนการรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัลสำหรับเด็กเยาวชนในต่างประเทศและแนวทางสำหรับประเทศไทย และ 3. งานวิจัยประเด็นการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเด็กผ่านสื่อเฟซบุ๊กของสำนักข่าวออนไลน์ เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนตระหนักและรู้เท่าทันสื่อในโลกยุคดิจิทัลอย่างทันท่วงที

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.