trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ล" พบ 1943 ข้อมูล

กรุ๊ปเลือดเมา

โครงการปิ๊งส์ โดย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กรมควบคุมโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข กรมการขนส่งทางบก กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย และเครือข่ายคณาจารย์มหาวิทยาลัย เชิญชวน เยาวชน หรือ บุคคลทั่วไป อายุระหว่าง 15 -25 ปี ทั่วประเทศ ร่วมส่งสคริปต์ และรูปแบบในการนำเสนอ เพื่อคัดเลือกเป็นทีมที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) จำนวน 20 ทีมและ 10 ทีมสุดท้าย เพื่อรับทุนสนับสนุนผลิตผลงาน ในโครงการประกวดคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยมือถือ ด้วยโทรศัพท์มือถือ หัวข้อ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา” ภายใต้โจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และ หยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

คู่มือ Workshop Manual Book

“สื่อ” และ “ศิลปะ” ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการสื่อสารในทุกยุคสมัย แม้ในปัจจุบันของยุคสื่อดิจิทัล รูปแบบการนำเสนอสื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากสื่อหลักวิทยุโทรทัศน์ มาสู่ Social Media ทว่าการคิดสร้างสรรค์และเทคนิคการผลิตสื่อก็ยังต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการผลิตอย่างต่อเนื่อง  คู่มือ Work Shop Manal Book เล่มนี้  จะนำไปสู่การเรียนรู้รูปแบบการผลิตสื่อในทุกรูปแบบ ทั้งข่าว ภาพยนตร์สั้น สารคดี Viral Clip และสื่อดิจิทัลต่าง ๆ ที่ทุกคนสามารถลุกขึ้นมาเป็นผู้ผลิตสื่อและผู้รับสื่อได้ ด้วยหัวใจของนักสื่อสารสุขภาวะที่ดี

จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 45 เดือนมีนาคม - เดือนเมษายน 2562

เนื้อหาในจุลสาร ศิลป์สร้างสุข ฉบับนี้ ยังคงมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสืบสานศิลปะและวัฒนธรรมในทุกมิติ เพื่อให้เด็ก ชุมชน และสังคม มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ด้วยกัน  เนื้อหาฉบับนี้ มีการพูดคุยกันในเรื่องกิจกรรม “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” โดยการลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้  มีการแสดงทัศนะการขับเคลื่อนวัฒนธรรม โดย อ. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ และกวีซีไรต์ รวมทั้งการเสริมพัฒนการเด็กด้วยการปั้นดินศิลปะจากสิ่งรอบตัวภายในครอบครัวและชุมชน

จิตอาสาที่ยั่งยืน แผนที่ทำดีประเทศไทย

หนังสือ 'จิตอาสาที่ยั่งยืน แผนที่ทำดีประเทศไทย' เป็นหนังสือโดยโครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาผู้นำจิตอาสาด้วยศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เนื้อหาภายในเล่ม แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ส่วนแรกเป็นเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับพัฒนาการจิตอาสาทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ความเป็นมาของงานอาสาสมัครในประเทศไทย ส่วนที่สอง เป็นตัวอย่างของผู้ที่ทำงานจิตอาสาในหลากหลายรูปแบบ ให้มองเห็นเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจ และส่วนสุดท้ายคือแผนที่ความดี รวบรวมสถานที่ที่เปิดรับอาสาสมัคร โดยแบ่งข้อมูลเป็นภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย มีชื่อองค์กร ประเด็นการทำงานขององค์กร สถานที่ติดต่อ และลักษณะงานอาสาสมัครที่ต้องการ เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้ที่สนใจได้สามารถเลือกงานอาสาที่ตรงใจและเหมาะสมกับทักษะที่มีได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

คู่มือมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือ ศพด. เป็นหน่วยงานสำคัญที่ดูแลเด็กปฐมวัย ช่วงอายุตั้งแต่ 0-6 ปี ซึ่งเป็นวัยมหัศจรรย์ของการเรียนรู้และพัฒนาการทั้งด้านสมองและร่างกาย  คู่มือมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์เด็กเล็ก ได้ถ่ายทอดแนวทางการสร้างเด็กให้มีสุขภาวะที่ดีรอบด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญา เพื่อปลูกฝังเด็กให้ “คิดได้ คิดเป็น”  และเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม

การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech)

การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่พลเมืองประชาธิปไตยควรเรียนรู้และทำความเข้าใจ เนื่องจากข้อมูลในโลกไซเบอร์ไม่ได้มีเพียงข่าวสาร ข้อเท็จจริง หรือเนื้อหาที่สร้างความบันเทิงเพียงด้านเดียว แต่ยังมีข้อมูลข่าวสารที่เต็มไปด้วยอคติและความรุนแรง พลเมืองประชาธิปไตยควรรู้เท่าทันสื่อ และเข้าใจผลกระทบการการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังที่มีต่อบุคคลและกลุ่มคนอื่นๆ ในมิติต่างๆ และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างจากตนเองในด้านต่างๆ เช่น แนวคิดทางการเมือง ชนชั้น ศาสนา เพศสภาพ เพื่อบรรลุความเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม เป็นผู้ที่เคารพสิทธิและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่หลากหลายได้อย่างรับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น 

ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ: Digital Intelligence)

ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ: Digital Intelligence Quotient) คือ กลุ่มความสามารถทางสังคม อารมณ์ และการรับรู้ ที่จะทำให้คนคนหนึ่งสามารถเผชิญกับความท้าทายของชีวิตดิจิทัล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตดิจิทัลได้ ความฉลาดทางดิจิทัลครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในฐานะสมาชิกของโลกออนไลน์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทักษะการใช้สื่อและการเข้าสังคมในโลกออนไลน์

การรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ (Cybersecurity)

โลกดิจิทัลได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันในหลายๆ ด้าน เช่น วิธีการติดต่อกับเพื่อนและคนรู้จัก การทำธุรกรรมทางการเงิน การซื้อขายสินค้า และการรับชมสันทนาการความบันเทิงต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามโลกไซเบอร์ซึ่งรวมถึง อินเทอร์เน็ต เครือค่ายสังคมออนไลน์ โทรศัพท์มือถือ เกมออนไลน์ แอปพลิเคชั่น และอื่นๆ ยังมีภัยคุกคามที่แฝงมากับความสะดวกสบายและความบันเทิงเหล่านี้ด้วย

การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ (Cyberbullying)

การรู้เท่าทันการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและใส่ใจไม่ว่าจะเป็น เด็กและเยาวชนที่ควรได้รับการปลูกฝังให้รู้จักป้องกันตัวเอง  พ่อแม่และโรงเรียนควรจะเข้าใจในการให้คำปรึกษา และภาคเอกชนผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต สื่อดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ ควรจะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายและระเบียบกติกาการใช้สื่อคอมพิวเตอร์และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสามารถจัดการปัญหาเบื้องต้นได้หากพบว่ามีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้น มีรายงานสำรวจหลายชิ้นบ่งบอกว่า ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา สถิติของการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์มีจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ

ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว PRIVACY MANAGEMENT

มีดุลพินิจในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว รู้จักปกป้องข้อมูลความส่วนตัวในโลกออนไลน์โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลออนไลน์เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวทั้งของตนเองและผู้อื่น รู้เท่าทันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต เช่น มัลแวร์ ไวรัสคอมพิวเตอร์ และกลลวงทางไซเบอร์ 

แนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา (Long Version บทบรรยายไทย)

คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Long Version/ มีบทบรรยาไทย) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’

แนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา (Short Version บทบรรยายไทย)

คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Short Version / มีบทบรรยายไทย) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.