คู่มือจัดทำข้อเสนอโครงการ เมือง 3 ดีวิถีสุข
คู่มือฉบับนี้ เป็นเสมือนเข็มทิศเพื่อให้ชุมชมและสังคม ร่วมกันขับเคลื่อนชุมชนและท้องถิ่นของตนเองสู่ “เมืองสื่อสร้างสรรค์” หรือ “เมือง 3 ดี วิถีสุข” ซึ่งเป็นเมืองต้นแบบในการมี “สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี” โดยเป็นผสานพลังการทำงานของแผนงานหลักของ สสส. ประกอบด้วย แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน, แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาวะ เบื้องต้นมีพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัดที่ขับเคลื่อน คือ แม่ฮ่องสอน, สุรินทร์ และ เพชรบุรี
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 48 เดือนกันยายน - เดือนตุลาคม 2562
ศิลป์สร้างสุขฉบับนี้ เปิดตัวโครงการ วิ่งสู่ชีวิตใหม่สตอรี่ : Run for New Life Story กับ 8 บุคคลต้นแบบ จาก 8 พื้นที่ทั่วประเทศ ที่กล้าเปลี่ยน...ลุกขึ้นมาวิ่งเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองเป็นเวลากว่า 3 เดือน (ก.ย. - พ.ย. 62) โดยมีการตามติดถ่ายทำจากทีมผลิตตสื่อ 8 ทีม เพื่อมาเผยแพร่ทางออนไลน์ สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนถามตัวเอง ว่า เราจะ “ปล่อย” หรือ จะ “เปลี่ยน” นอกจากนี้ภายในเล่มยังมีการนำเสนอเรื่องราวดนตรีบำบัดสร้างชีวิตใหม่ให้เยาวชนผู้หลงเดิรนทางผิด และเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกมากมาย
อาสารับฟัง ฟังยังไงให้เข้าไปถึงหัวใจ
การฟังให้เป็น ฟังเสียงแล้วเข้าอกเข้าใจไปถึงหัวใจคนพูด ฟังแล้วไม่ตัดสินให้เขาทุกข์ใจไปมากกว่าเดิม ฟังแล้วให้อีกฝ่ายวางใจ กล้าที่จะบอกเล่าสิ่งที่อยู่ในใจออกมา ต้องทำยังไง?นี่เป็น 7 ขั้นตอนในการรับฟังที่อยากให้ทุกคนลองนำไปใช้กันดู
คู่มือเดินเมืองตลาดพลู
คู่มือเดินเมืองตลาดพลูชุดนี้ เป็นสื่อสร้างสรรค์สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายได้จัดทำขึ้น ภายใต้โครงการสัปดาห์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 2562 (MIDL Week 2019) ภายใต้ธีม MIDL for Inclusive Cities: สร้างเมืองของทุกคน ในวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2562 ณ ตลาดพลู กรุงเทพมหานคร
สุขภาวะคนเมืองเรื่องของทุกคน
วันนี้ความเป็นเมืองกำลังรุกคืบเข้าไปในทุกพื้นที่ พร้อม ๆ กับความสะดวกสบายที่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีและการเดินทาง ในอีกด้านวิถีชีวิตเรากำลังถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไป เราไม่อาจหยุดยั้งความเป็นเมืองที่รุกเข้ามาหาเราได้ แต่เราจะทำอย่างไรให้อยู่กับเมืองได้อย่างมีความสุข ติดตามใน ‘สุขภาวะคนเมือง เรื่องของทุกคน’ แง่มุมความคิดโดย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. จากงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการพื้นที่สร้างสรรค์สุขภาวะคนเมืองและชนบท
ฟังเสียงเพื่อนซึมเศร้า
ถ้าคนรอบข้างป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรืออยู่ในภาวะซึมเศร้า หลายครั้งที่เขามาปรึกษาคุณ แต่อาการเขาก็กลับยังไม่ดีขึ้น จนคุณกลายเป็นทุกข์ไปด้วยรึเปล่า? บางครั้งการพยายามจะช่วยหาทางออกให้คนที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยเขา นอกเหนือจากการที่ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพียงแค่คุณเป็นพื้นที่รับฟังที่ดีให้กับเขา ก็ช่วยเยียวยาเขาได้มากแล้ว แต่ทุกวันนี้คุณคิดว่าคุณฟังเขาเป็นหรือยัง? ถ้ายัง หรือว่าไม่ชัวร์... คลิปนี้จะช่วยคุณเข้าใจเรื่องการฟังใหม่อีกครั้ง
สายใยรักกลางชุมชนแออัด
ชุมชนแออัด อาจเป็นแหล่งมือบอดที่สังคมส่วนใหญ่มองข้าม ทว่า รัศมี ทอนทอง- ป้าหมี และติ๋ม ชูแก้ว-ป้าติ๋ม คือผู้มอบแสงสว่างให้กับชุมชนแห่งนี้ ด้วยความรักและการเอาใจใส่เสมือนแม่คนที่สองของเด็ก ๆ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กดวงแข มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) ทุกวันนี้ป้าหมี และป้าติ๋ม ทำงานจิตอาสา เพื่อดูแลเด็กในชุมชนวัดดวงแข ข้างสถานีรถไฟหัวลำโพง ให้ก้าวพ้นวัฏจักรของเด็กสลัมที่ท้ายสุดก็หนีไม่พ้นเรื่องยาเสพติด ให้กลายเป็นเด็กที่มีอนาคต และสามารถไปศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ลมหายใจแห่งความสุข ณ ต้นทางแห่งการเปลี่ยนแปลง
ทุกชีวิตต้องการความสุข แต่กลับลืมไปว่าว่าสุขมาแล้วก็ไป พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี เจ้าอาวาสวัดถ้ำดอยโดน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ อธิบายความสุขออกเป็น 2 แบบ คือ ความสุขจากภายนอกและความสุขจากภายใน ทุกวันนี้ที่คนเราเป็นทุกข์มากมาย เพราะไปยึดติดกับความสุขจากภายนอก สุขจากความสัมพันธ์ พอสุขเปลี่ยนไปก็เกิดทุกข์ การยอมรับความจริงแห่งความเปลี่ยนแปลง มีวัคซีนบอกตัวเองว่าความสัมพันธ์มันเปลี่ยนแปลงได้ เราก็จะทุกข์น้อยลง จงใช้ “ปัญญา” ในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง แล้วเราจะมีความสุขมากขึ้นจากภายในของเราเอง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
แผนที่สู่ความสุขบนเส้นทางนพลักษณ์
นพลักษณ์ คือศาสตร์แห่งการเข้าถึงตนเอง โดยพระสันติกโร พระภิกษุชาวอเมริกัน นำมาเผยแพร่ที่เมืองไทย นพลักษณ์ จะกล่าวถึงคุณลักษณะของคนทั้ง 9 ลักษณ์ที่แตกต่างกัน แต่ละลักษณ์มีศักยภาพและจุดอ่อนในตัวเอง ถ้าเรารู้ทันตัวเรา และดึงศักยภาพนั้นมาพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นได้ รวมทั้งถ้าเราตระหนักรู้ ก็จะสามารถดูแลจุดอ่อนของเราไม่ให้เบียดเบียนตัวเราเองและผู้อื่น นพลักษณ์จึงเปรียบเสมือนแผนที่ของชีวิตที่ทำหเราเข้าใจตนเองมากขึ้น และเห็นใจผู้อื่นด้วยเช่นกัน อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ค้นหาตัวตนผ่านศิลปะงานต่อผ้า
ธิดาวรรณ วิวัฒน์คุณูปการ หรือ ครูตู่ และภวัญญา แก้วนันตา หรือป้าหนู สองสาวผู้หลงใหลในเศษผ้าผืนเล็ก ที่นำมาสร้างสรรค์ ผสานกับจินตนาการ กลายเป็นผ้าผืนใหญ่ที่มีเสน่ห์ และเรื่องราวชวนติดตาม และสะท้อนความเป็นตัวเองออกมา การทำงานเย็บต่อผ้า เป็นกิจกรรมที่ทำให้เราได้อยู่กับตัวเอง ฟังเสียงของตัวเอง และเป็นพื้นที่ที่เรากล้าแสดงอารมณ์ และความเป็นตัวเราได้อย่างแท้จริง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
บางกอกนี้ดีจัง สร้างพื้นที่ศิลปะวัฒนธรรมให้คนเมืองกรุง
ตัน-สุรนาถ แป้นประเสริฐ จากเด็กที่เคยติดยา และค้ายา กลายมาเป็นแกนนำก่อตั้ง “บางกอกนี้ดีจัง” เครือข่ายเยาวชนและชุมชน ที่ลุกขึ้นมาสร้างสรรค์ชุมชนบ้านเกิดของตนเอง ให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ ด้วย แนวคิด 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี โดยมีมูลนิธิเพื่อนเยาวชน เป็นองค์กรพี่เลี้ยง ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ จาก สสส. และภาคประชาสังคม ภาครัฐ ที่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนกับเยาวชนและคนในชุมชนได้มีโอกาสลุกขึ้นมาสำรวจชุมชนของตตนเอง ส่งเสริมของดีในชุมชนทั้งศิลปะวัฒนธรรมและวิถีชีวิตต่าง ๆ เพื่อร้อยเรียงชุมชนให้เป็น...บางกอกนี้ดีจัง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
จากเด็กท้องนาสู่อาจารย์สอนศิลปะเพื่อชุมชน
ผศ. ดร. อภิชาติ พลประเสริฐ หัวหน้าภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฎศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากเด็กชัยภูมิได้รับโอกาสทางการศึกษา เมื่อเติบใหญ่ได้เป็นครู จึงขอตอบแทนกลับสู่สังคม ด้วยการเป็นครู “ผู้ให้” ตามที่ตั้งใจไว้ “...เรางานศิลปะไปสู่ชุมชนทางศูนย์ศิลป์ที่ชัยภูมิเปิดบ้านเป็นศูนย์ศิลป์ สอนเด็กวาดรูปฟรี มีเพื่อนศิลปินต่างชาติมาร่วมทำงานศิลปะ และทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้านด้วย ศิลปินคนหนึ่งได้ออกแบบลายผ้าโดยได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน แล้วจ้างแม่บ้านทอผ้าไหมจากลวดลายที่เขาออกแบบ เสร็จแล้วจัดนิทรรศการให้ชาวบ้านได้ชม และจัดแสดงต่อที่กรุงเทพฯ และที่อเมริกา” แม้วันนี้ครูอภิชาตเรียนจบดีกรีเด็กนักเรียนนอก แต่ครูกลับเลือกลับมาทำงานที่บ้านเกิด อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com