เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Readjust ล้างมือ-ล้างใจ
ล้างมือ เป็นพฤติกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขอนามัยที่ดีให้กับร่างกาย ในยามที่เกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อโรค เพื่อไม่ให้เชื้อเข้ามาทำร้ายร่างกาย โดยในขณะที่เราล้างมือนั้น ก็สามารถล้างใจไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ความวิตกกังวล ความทุกข์มากัดกินใจของเรา นับเป็นการสร้างภูมิคุ้มใจและกายที่ดี
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Readjust ขอเวลานอก(หน้าจอ)
Readjust – ปรับชีวิตเปลี่ยนโหมดใจ หนึ่งในหมวดกิจกรรมเมนูภูมิคุ้มใจ 14 วัน ฉันทำได้ ที่จะพูดถึงการพักใจ หยุดติดตามข่าวสารต่าง ๆ ทางสื่อออนไลน์ และโทรศัพท์มือถือ เพื่อที่ใจจะได้ผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดทางอารมณ์ลง
ล้างมือ ล้างใจ
โควิด 19 เชื้อโรคอุบัติใหม่ที่สร้างความหวาดกลัวไปทั่วโลก โควิดเป็นภัยต่อร่างกาย แต่ความกลัวเป็นภัยที่ทำร้ายจิตใจเรา ยิ่งเรากลัวมาก เราจะยิ่งเห็นแก่ตัวเพิ่มขึ้น ขาดสติ ความคิดด้านลบหรือด้านมืดจะทำให้เราป่วยทางจิตได้ ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อป้องกันเชื้อโควิด 19 แล้วอย่าลืมล้างใจให้สะอาด สงบ เพื่อมีสติในการก้าวข้ามวิกฤตินี้ไปด้วยกัน
3 ข้อดีของ COVID-19 โดย พระไพศาล วิสาโล
ในวิกฤติของโควิด -19 ยังมีโอกาสและข้อดีของสถานการณ์นี้ คือ การได้เรียนรู้และยอมรับความจริงงว่าเชื้อโรคร้ายยังคงมีอยู่และมนุษย์เราต้องระมัดระวังตนเองเสมอ เราได้ฝึกฝนการเจริญสติมากขึ้น อยู่กับปัจจุบัน มีความอดกลั้นไม่เผลอเอามือลูบหน้าลูบตาโดยขาดสติ และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ รวมทั้งเราได้แสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันและกัน
โรคระบาดไม่ได้ทำอันตรายเรา เท่าความกลัวโรคระบาด
พระไพศาล วิสาโล ได้ให้ข้อคิดไว้ว่า “โรคระบาดไม่ได้ทำอันตรายเรา เท่ากับความกลัวโรคระบาด” ในภาวะวิกฤติโควิด 19 ถ้าเรามัวแต่เป็นทุกข์ หวาดระแวงกันและกัน ไม่ยอมใช้ชีวิตปกติ ดูแลสุขภาพร่างกายและใจให้แข็งแรง แล้วเราจะมีภูมิต้านทานทางร่างกายและภูมิคุ้มใจที่ดีได้อย่างไร ขอให้เราทุกคนใช้ชีวิตด้วยสติ และมีปัญญาในการก้าวข้ามวิกฤติต่าง ๆ ไปด้วยดี
พลิกวิธีคิดสร้างภูมิคุ้มใจ
บางครั้งพลังความคิดลบ ก็อาจจะนำเรื่องลบเข้ามาในชีวิตเราได้ ให้เราเปลี่ยนหรือพลิกวิธีคิดให้เป็นเรื่องดี ๆ สิ่งดี ๆ เหล่านั้นก็จะเข้ามาสู่ชีวิตเรา นั่นคือ การสร้างภูมิคุ้มใจที่ดีสำหรับทุกคนในยามที่ต้องเผชิญกับวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคร้าย
ลดความกังวลเรื่องโควิด-19 ด้วยการหาสิ่งที่เราควรใส่ใจ
ในสถาการณ์ของการแพร่ระบาดเชื้อโรคอุบัติใหม่อย่างไวรัสโควิด – 19 เราควรมีวิธีการดูแลสภาพจิตใจของตนเอง ให้แบ่งเรื่องออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ควบคุมไม่ให้ปล่อยว่าง และหันมาใส่ใจในเรื่องที่เราควบคุมได้ อย่างเช่นการดูแลสุขภาพตนเองกันดีกว่า
วิธีดูแลใจตนเองและคนรอบข้างในช่วงโควิด-19 โดย ทีปัก โจปรา
ดร. ทีปัก โจปรา หนึ่งในคุรุผู้โด่งดังด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย ได้ให้ข้อคิดในการรับมือความตื่นตระหนกจากวิกฤติโควิด 19 ไว้ดังนี้ ดูแลกายและใจให้รู้สึกดี , รับข่าวแต่พอดี , พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน , เท่าทันข้อมูลสถิติ และมีสติทุกเมื่อในการสื่อสาร
4 เรื่องที่ควรทำ และไม่ควรทำ เพื่อรักษากาย-ใจ ในสถานการณ์โควิด-19
ช่วงวิกฤติโควิด 19 คนไทยทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะดูแลตนเองทั้งกายและใจ เมื่อต้องอยู่บ้าน หรืออยู่รวม ด้วย 4 เรื่องที่ควรทำและไม่ควรทำ เอาเรื่องที่ควรทำเป็นหลักก่อน เราต้องดูแลสุขอนามัยให้ปลอดเชื้อ , ดูแลจิตใจให้ผ่อนคลาย , พูดจาอ่อนโยนให้กำลังใจกันและกัน และเมื่อมีโอกาสก็แบ่งปัน และช่วยเหลือกันและกัน
วิกฤติไวรัส ไม่น่ากลัวเท่าวิกฤติวัตถุนิยม นพ.ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล
ไวรัสโควิด 19 มีการแพร่ระบาดที่น่ากลัว และรวดเร็ว เช่นเดียวกับความตระหนก และความกลัวก็มีการติดต่อ หรือแพร่นะบาดด้วยเช่นกัน ในห้วงของวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดในครั้งนี้ เราต้องมีการดูแลทั้งสภาพจิตใจและร่างกาย เราต้องมี “สติ” เพื่อความคุมความรู้สึก ด้วยความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลร่างกายให้แข็งแรง เพื่อสร้างภูมิต้านทานต่อสู้กับเชื้อโรค และเยียวยาจิตใจให้มีภูมิคุ้มใจที่ดี