นักกินคุณภาพ
เพราะการตระหนักเสมอว่าอาหารที่เรากินเข้าไปส่งผลต่อตัวเรา สังคม และสิ่งแวดล้อมยังไงบ้างก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งการอัพเกรดตัวเองให้เป็นนักกินคุณภาพที่ใส่ใจการกินอย่างรอบด้านก็ทำได้ไม่ยากเลย แค่ลองเปลี่ยนมาช้อปปิ้งวัตถุดิบที่ตลาดสีเขียว พูดคุยแลกเปลี่ยนกับเกษตรกรกันเยอะๆ เพื่อทำความเข้าใจเรื่องที่มาที่ไปของอาหารการกินของเรา ส่วนใครที่ไม่มีเวลาขนาดนั้นก็หันมาสนับสนุนร้านอาหารปรุงดี เลือกใช้วัตถุดิบสะอาดปลอดภัยกินแทนในชีวิตประจำวันก็ได้ และเมื่อเรากินดีแล้ว อย่าลืมชักชวนเพื่อนๆ มาร่วมกินดีไปกับเราเยอะๆ ด้วยนะ และสำหรับใครที่มีเครือข่ายรอบตัว รู้จักโรงเรียนหรือโรงพยาบาล ก็สามารถช่วยเข้าไปให้ความรู้ สนับสนุนองค์กรเหล่านี้ให้หันมาทำครัวสีเขียว ส่งต่ออาหารปลอดภัยให้คนรอบตัวได้กินด้วยก็ดี
มีใบไหม รู้จัก PGS ระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
ทำไมต้องมี PGS เพราะระบบการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานอิสระจากภายนอก เช่น IFOAM หรือ มกอช. (มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ Organic Thailand) นั้น มักจะมีระเบียบข้อกำหนดที่ค่อนข้างเข้มงวด สลับซับซ้อน และอาจไม่เหมาะกับเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์เพื่อขายในท้องถิ่นหรือเกษตรกรรายย่อย ทาง IFOAM จึงได้มีการพัฒนาระบบการรับรอง Participatory Guarantee System (PGS) ที่สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตและชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดข้อตกลงที่เหมาะสมกับเกษตรกรในพื้นที่ แต่ก็ยังมีตรวจสอบกระบวนการผลิตเป็นประจำ ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ถึงความปลอดภัย ขณะที่เกษตรกรรายย่อยก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอินทรีย์ได้เช่นกัน
คืนชีพผัก
ผักเหลือจากในครัวอย่าเพิ่งรีบทิ้ง! มาคืนชีพให้พวกมันกลับมาเติบโตต่อได้กันดีกว่า กะเพรา โหระพา แมงลัก หรือผักที่มีก้าน และเด็ดใบจนเกลี้ยงแล้ว สามารถนำก้านเหล่านั้นไปแช่น้ำให้พอมีรากอ่อนๆ เพื่อนำไปปักชำเป็นต้นที่เติบโตต่อไปได้ ส่วนผักจำพวกขึ้นฉ่าย ผักชีฝรั่ง และผักบุ้งที่เหลือรากให้ต้องทิ้งอยู่บ่อยๆ ลองเปลี่ยนมาตัดรากแบบเหลือลำต้นเอาไว้เล็กน้อย แล้วตัดแต่งรากให้ไม่ยาวเกินไปก็สามารถนำไปปักลงดินแล้วรดน้ำเพื่อปลูกต่อได้เช่นกัน ขนาดพืชหัวอย่างหอมหรือกระเทียม แค่นำกลีบหรือหัวไปปักลงดินแล้วรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ พวกมันก็จะโตขึ้นมาเป็นต้นให้เราเอาไปใช้ประโยชน์ต่อได้ไม่ยากเลย ใครที่ทำอาหาร คราวหน้าก็ลองนำวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะ ต่อไปเราจะได้ไม่ต้องมีเศษผักเหลือทิ้ง แล้วยังได้ผักต้นใหม่ไว้กินต่อฟรีๆ ด้วย
เด็กๆ ก็ต้องดูแลไต
โรคไตในเด็กอาจเกิดขึ้นได้แต่กำเนิดหรือจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม แต่ปัญหาคือโรคนี้มักไม่แสดงอาการ ทำให้ผู้ปกครองมักไม่รู้ จึงพาเด็กส่งถึงแพทย์ช้า และอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น เราจึงรวบรวมข้อมูลที่สำคัญมาให้ว่าผู้ใหญ่จะสังเกตอาการป่วยทางไตของเด็กๆ ผ่านพฤติกรรมการเลี้ยงดู และการสังเกตจากปัสสาวะของเด็กๆ ได้อย่างไรให้ทันท่วงที
หนูอยากกินอะไร
หนึ่งในปัญหาของเด็กไทยทุกวันนี้ คือการได้กินนมแม่ในระยะเวลาอันสั้นกว่าที่ควรจะเป็น โดยมีตัวเลขพบว่าเด็กไทยได้กินนมแม่ถึง 6 เดือนเพียง 23.1% เท่านั้น โดยครอบครัวไทยส่วนใหญ่ให้เด็กเล็กกินนมผงทดแทนนมแม่ เป็นเหตุให้เด็กไม่แข็งแรง หรือมีพัฒนาการไม่สมวัย ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วในนมแม่นั้นมีคุณค่ามากมาย
ขบวนการกินกู้โลก
ปัจจุบันนี้การกินของเรานั้นไม่ยั่งยืนสักเท่าไหร่ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน เราอาจนึกไม่ถึงว่าก๊าซเรือนกระจกถูกปล่อยมาจากระบบอุตสาหกรรมอาหารมีสัดส่วนมากกว่าก๊าซเรือนกระจกจากโรงงานอุตสาหกรรมหนักที่เรามองว่าเป็นตัวร้าย หรือการกินของยังทำให้ระบบนิเวศถูกทำลาย เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า สัตว์สูญพันธ์ุ และปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกมากมาย การกอบกู้โลกจากวิกฤตสิ่งแวดล้อมในทุกวันนี้จะเป็นไปไม่ได้เลย หากเราไม่ปรับเปลี่ยนวิถีการกิน
กินผักครบรส อร่อยไม่ต้องพึ่งผงชูรส
รู้หรือไม่ว่าผักไทยๆ เรามีรสชาติที่หลากหลายมากถึง 9 รส ไม่ว่าจะเป็น 6 รสชาติพื้นฐาน คือ เปรี้ยว เค็ม หวาน ขม เผ็ด มัน และอีก 3 รสชาติที่เราอาจไม่คุ้นหูกันสักเท่าไหร่อย่าง หอมเย็น ฝาดเฝื่อน และเมาเบื่อ
กินผักสีมงคล
ใส่เสื้อสีมงคลจะมงคลจริงหรือเปล่าไม่รู้ แต่ถ้ากินผักให้หลากหลายครบ 5 สีได้ยิ่งดีในทุกวัน รับรองว่ามงคลมาถึงชีวิตแน่ๆ เพราะสุขภาพร่างกายจะดีขึ้นเพราะได้รับวิตามินและแร่ธาตุหลากหลาย ได้คุณประโยชน์มากมายจากผักหลากสีสัน อีกทั้งยังได้เพิ่มไฟเบอร์และกากใยที่ไปช่วยลำไส้ให้ทำงานแข็งขันอีกต่างหาก
ไหวไหม ถามไตเธอดู
อาหารรายล้อมรอบตัวเรา มีโซเดียมสูงมาก และบางชนิดก็สูงเกินมาตรฐานที่ควรบริโภคต่อวันด้วยซ้ำ! หากเรารู้ว่าเมนูใกล้ตัวมีโซเดียมแฝงอยู่เท่าไหร่ การเลี่ยง หรือเลือกทำอาหารกินเองเพื่อปรุงน้อยลง ลดอาหารแปรรูปที่โซเดียมสูงลงด้วย ก็ช่วยให้ร่างกายไม่ได้รับโซเดียมมากเกินไป ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของโรคไตนั่นเอง
เรื่องคิดไม่ถึง ชวนให้คิดไม่ถุง
ช่วงนี้ เรื่องเพลาๆ การใช้ถุงพลาสติกของคนส่วนใหญ่อาจจะการ์ดตกลงบ้าง แต่อันที่จริง การลดใช้ถุงพลาสติกแค่ 1 ใบ ไม่เพียงแค่ช่วยลดขยะพลาสติกที่กำลังจะล้นโลกแต่ยังช่วยรักษาทรัพยากรและสิ่งมีชีวิตได้อีกมากมาย แล้วลองชั่งใจดูว่า การ ‘ใช้แค่’ หนึ่งใบ กับการ ‘ลดแค่’ หนึ่งใบ มันส่งผลกระทบอย่างไรกับเราและโลก
กินให้หมด
กินอาหารไม่หมดคือสาเหตุหนึ่งที่สร้างขยะให้โลก เพราะหลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ขยะที่ถูกทิ้งบนโลก เกินครึ่ง เป็นขยะอาหาร ขยะอาหารคิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณอาหารที่ผลิตได้ แถมประเทศไทยสร้างขยะอาหารถึงปีละ 26.77 ล้านตัน! เราจึงอยากชวนมาช่วยกันกู้โลกด้วยวิธีกินต่อไปนี้
ด้วยรักและห่วงไต
ใครที่เผชิญกับปัญหาโรคไตหรือต้องดูแลผู้ป่วยโรคนี้ ยิ่งต้องระมัดระวังการกินให้ดี เพราะมีพืชผักหลายชนิดทีเดียวที่มีโพแทสเซียมสูง ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไตให้ระวัง