trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ละคร" พบ 27 ข้อมูล

สื่อกับการผลิตซ้ำความรุนแรงและอคติทางเพศ - ศึกษาละครซิทคอมในฟรีทีวี

สื่อละครโทรทัศน์ อาจเรียกได้ว่าเป็นโรงงานผลิตซ้ำอคติและภาพตัวแทนทางเพศ โดยการนำเสนอภาพตัวละครเอก ทั้งพระเอก นางเอก นางร้าย และตัวละครข้ามเพศซ้ำ ๆ โดยเฉพาะค่านิยมทางเพศในหลายมิติเช่น ชายเป็นใหญ่ วัฒนธรรมบริโภคฯลฯ ในขณะที่การเกิดขึ้นของละครอีกกลุ่มคือ ซิทคอม เป็นทางเลือกในการนำเสนอภาพตัวแทนของผู้หญิงยุคใหม่และบุคคลข้ามเพศ มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ทำการศึกษา ละครซิทคอมไทยกับค่านิยมด้านอดคติและค่านิยมทางเพศ โดยการศึกษาชิ้นนี้ได้ศึกษาละครซิทคอมไทยในช่วงเดือนกันยายน 2555 เทียบกับการศึกษาในปี 2550 เพื่อให้มองเห็นภาพการผลิตซ้ำความรุนแรงและอคติทางเพศในซิทคอมฟรีทีวีไทย

การศึกษาวิเคราะห์ผังและเนื้อหารายการ ช่องโทรทัศน์ดิจิตอลสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เดือนมิถุนายน 2557

   หลังการประมูลทีวีดิจิทัล ประเทศไทยมีช่องโทรทัศน์สำหรับหมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวนทั้งสิ้น 3 ช่อง (ในขณะนั้น) คือ ช่อง 3 Family ช่อง MCOT Family และช่อง LOCA โดยทั้งนี้ กสทช.ประกาศว่าเนื้อหารายการของผู้ได้รับอนุญาตทั้ง 3 ช่อง จะต้องนำเสนอรายการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การศึกษา มีสาระประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชน และส่งเสริมสัมพันธ์อันดีของครอบครัว ไม่มีเนื้อหารุนแรง ผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย หรือใช้ภาษาหยาบคาย    งานวิจัยครั้งนี้ มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ลงไปศึกษาถึงผังและเนื้อหารายการของทีวีทั้ง 3 ช่องในช่วงการเริ่มออกอากาศจริงในวันที่ 5-12 มิ.ย.57 ว่ามีการวางผังและรูปแบบเนื้อหาตรงกับตามเกณฑ์ของ กสทช. และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่  

จริยธรรมสื่อโทรทัศน์กับผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก

จากข้อมูลปี 2558 ที่มีการสำรวจพบว่าเด็กไทยช่วงอายุ 6-14 ปีมีกิจกรรมทางกายลดลง พฤติกรรมเนือยนิ่งสูงมากขึ้น ใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรทัศน์สูงถึง 6 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า เด็กจำนวนหนึ่งได้รับผลกระทบจากเนื้อหาการนำเสนอในละครโทรทัศน์ โดยมองว่าการข่มขืนเป็นเรื่องธรรมดาที่สังคมยอมรับได้ ดังนั้น มีเดียมอนิเตอร์จึงทำการศึกษาวิจัยงานชิ้นนี้ขึ้น เพื่อศึกษาวิเคราะห์เนื้อหารายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็กในช่องดิจิทัลทั่วไป ช่วงเดือน ต.ค.57 ถึง ม.ค.58 เจาะลึกในกลุ่มรายการที่เหมาะกับเด็กวัย 10-15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สื่อมีอิทธิพลสูงต่อกระบวนการเรียนรู้และพัมนาการ เพื่อค้นหาถึงผลกระทบของสื่อที่มีต่อเด็ก จัดทำเป็นข้อเสนอแก่องค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อกำกับติดตามต่อไป

กลุ่มศิลปวัฒนธรรมละครชาตรี

ผลงาน กลุ่มศิลปวัฒนธรรมละครชาตรีได้ลงพื่นที่ชุมชนนางเลิ้ง จากการอบรมการเรียนรู้ทำ Mobile Journalism รู้เท่าทันสื่อและการถ่ายทำ ตัดต่อด้วย Smart Phone สนับสนุนโดย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส.

ร.๙ ในใจชน ตอน ชุมชนนางเลิ้ง

ชุมชนนางเลิ้ง เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่พสกนิกรจากรุ่นสู่รุ่นต่างซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวง รัชกาลที่ 9 ด้วยทรงเสด็จมายกช่อฟ้าให้กับวัดแคหรือวัดสุนทรธรรมทาน ซึ่งเป็นเพียงวัดราษฎร์หรือวัดของชาวบ้านธรรมดาๆ  ทว่าเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ก็ทรงให้ความสำคัญเสด็จมาชุมชนนางเลิ้งแห่งนี้ เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต ชุมชนนางเลิ้งต่างโศกเศร้าและเสียใจใหญ่หลวงนักเฉกเช่นคนไทยทั่วประเทศ จึงได้จัดการแสดง ละครชาตรี ชุด นางร้องไห้ การแสดงพื้นบ้านซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนนางเลิ้ง ถวายแด่พระองค์ท่านเป็นครั้งสุดท้าย ขับร้องเพื่อส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย โดยมีเนื้อหาพรรณนาในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักยิ่งของคนไทยทั้งผอง

ขบวนการนกกระจิ๊ด ตอน เพื่อนใหม่

เรียนรู้เรื่องการยอมรับความหลากหลายผ่านแอนิเมชั่นน่ารัก ๆ เรื่องขบวนการนกกระจิ๊ด ตอนนี้ขบวนการนกกระจิ๊ด ได้เพื่อนใหม่เพิ่มขึ้น เมื่อวันหนึ่งคุณครูพาเพื่อนใหม่ น้องปอแก้ว ชาวเขาจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน  มาแนะนำให้เพื่อน ๆ ที่ห้องเรียน ชั้น ป.4 ได้รู้จัก  แต่กลับถูกเพื่อนล้อเลียนและถามคำถามที่ไม่เหมาะสม เพราะไปติดกับภาพลักษณ์การพูดไม่ชัด สำเนียงชาวเขาจากละครมา ร้อนถึงคุณครูต้องกล่าวตักเตือนไม่ให้กระทำเช่นนี้อีก

ตัวละครกับการผลิตซ้ำความเป็นอื่น

สื่ออินโฟกราฟิก สรุปประเด็นจากรายงานการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การพัฒนาแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL) และแนวคิดพหุวัฒนธรรมกับการสร้างพลเมืองประชาธิปไตย ชี้ประเด็นรู้เท่าทันสื่อในละครไทยกับภาพการผลิตซ้ำที่เรามักพบเป็นรูปแบบประจำ  คือ พระเอก หล่อ รวย ดี นางเอก  สวย น่าสงสาร แต่ก็สู้คน นางอิจฉาร้ายกาจทำทุกทางให้ได้พระเอกมา และคนรับใช้ที่ยอมนายเสมอ  ซึ่งภาพจำเหล่านี้ของตัวละคร ก่อให้เกิดอัตลักษณ์ทางความคิด การด่วนตัดสินคุณค่าของคน เลือกปฏิบัติ ลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในสังคม เพราะฉะนั้นทั้งผู้ผลิตและผู้ชมละครต้องหันมาสร้างและเสพสื่ออย่างสร้างสรรค์ เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเห็นอกเห็นใจกัน

ละครสร้างนักอ่าน

แนะนำเทคนิคการส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กและเยาวชนด้วยการใช้สื่อ 'ละครสร้างนักอ่าน' หรือ Readers Theatre เพื่อเป็นสะพานนำการอ่านไปสู่เด็ก ๆ ให้เกิดความเพลิดเพลิน สนุก และรักการอ่านผ่านการเล่นไปโดยไม่รู้ตัว หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับคุณครูและผู้ดูแลเด็กที่สนใจนำกิจกรรมละครไปสร้างนิสัยรักการอ่านให้เด็ก เพราะเนื้อหาในหนังสือครอบคลุมตั้งแต่แนวคิด การเตรียมการ ขั้นตอน ไปจนถึงการประเมินผล รวมถึงประสบการณ์ของเด็ก ๆ และโรงเรียนที่เคยใช้เทคนิคนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลครบและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

จุลสารศิลป์สร้างสุข เดือนสิงหาคม-กันยายน 2558

เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นำหลัก 3 ดีมาช่วยในการพัฒนาเด็กปฐมวัย นำสู่สุขภาวะที่ดีครบทุกมิติ ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จากนั้นพาไปรู้จักสินไซหรือสังข์ศิลป์ชัย ศิลปะพื้นบ้านท้องถิ่นภาคอีสานที่กำลังจะสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนและสังคม รวมถึงบทบาทของละครที่จะช่วยสร้างสุขภาวะ ปรับเปลี่ยนทั้งร่างกายและจิตใจ

การสำรวจสัดส่วนเวลาการออกอากาศรายการวิทยุ สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว

ข้อมูลสถิติการสำรวจสัดส่วนเวลาการออกอากาศรายการวิทยุ สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว ระหว่างวันที่ 25 เมษายน - 31 พฤษภาคม 2550 ครอบคลุมการกระจายเสียง ทั้งในระบบเอฟเอ็ม จำนวน 40 สถานี ระบบเอเอ็ม จำนวน 36 สถานี จำแนกตารางผลสำรวจตามกลุ่มเป้าหมายและจำแนกตามรายสถานี (แสดงเวลาการออกอากาศรายการเป็นนาทีต่อสัปดาห์)

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.