trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ลวง" พบ 79 ข้อมูล

พี่ยังไหว : ทีมDark

1 ใน 11 ผลงานในโครงการประกวดคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยโทรศัพท์มือถือ หัวข้อ อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา ด้วยโจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เจ้าของผลงาน 1. ธนโชติ แซ่จู 2. พัทธนันท์ มหารักษ์ จาก : นักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 47 เดือนกรกฎาคม - เดือนสิงหาคม 2562

ศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 47 ประจำเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2562 นำเสนอโครงการ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา” ซึ่งเป็นกิจกรรมการสร้างสรรค์สื่อเพื่อสุขภาวะที่ตอบรับในยุคสื่อดิจิทัล เพราะเป็นการผลิตคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยโทรศัพท์มือถือ ภายใต้โจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีนิสิตนักศึกษาและเยาวชนที่สนใจเข้าร่วมมากมาย โดยนอกจากได้สื่อที่มีคุณภาพเพื่อเป็นรณรงค์ลดปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว ยังเป็นการสร้างความตระหนักรู้ให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อสกัดกั้นนักดื่มหน้าใหม่ต่อไป

สารคดีสูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน วิธีการป้องกันผู้สูงวัยการโดนหลอกลวงจากสื่อ

ผู้สูงวัย เป็นช่วงวัยที่มีเวลาว่างเยอะ สมาร์ทโฟนหรือโซเชียลมีเดียต่าง ๆ จึงเป็นสื่อรูปแบบใหม่ที่ผู้สูงวัยใช้คลายเหงาเป็นส่วนใหญ่  จึงเป็นสาเหตุของความเสี่ยงที่คนแปลกหน้าจะมาพูดคุย และหลอกลวงได้ ลูกหลานจึงต้องหาเวลาพูดคุยกับผู้สูงวัยเป็นประจำ เพื่อป้องกันภัยการหลอกลวงจากสื่อ ที่สำคัญเพื่อดูแลปู่ย่าตายายไม่ให้ใช้สื่อมากเกินไปจนส่งผลให้เสียสายตาและสุขภาพได้

ข่วงหลวงนี้ดีแต้

คลิปสปอตสรุปภาพงานมหกรรมข่วงหลวงนี้ดีแต้ งานนิทรรศการแสดงผลงานพื้นที่สร้างสรรค์ ณ บ้านพ้วงวัด อ.เมือง จังหวัดเชียงใหม่ เต็มไปด้วยวัฒนธรรมหลากหลาย งดงาม และอาหารอร่อย ๆ ที่จะทำให้คนผูกพันและเชื่อมโยงกับภูมิปัญญารากเหง้าของชุมชน

เรื่องเก่าเล่าใหม่ถึงหัวใจบางหลวง

เสน่ห์ของประวัติศาสตร์ คือ บทเรียนที่คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ เพื่อเข้าใจวิธีคิด การต่อสู้ ความอดทน ของ“คนสองวัย” ในบางหลวงที่ร่วมกันสืบสานและบันทึกตำนานรวมเรื่องเล่าย่านความหลัง ถ่ายทอดเป็นตำนาน “เสื่อผืน หมอนใบ” ของชาวจีนที่ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกับคนไทยและชาวลาว ที่บ้านบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ตั้งแต่ยุคสมัยรัตนโกสินทร์ จนเกิดเป็นแหล่งอารยธรรมผสมผสานระหว่างชาติพันธุ์ ไทย จีน ลาว ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของ ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความสามัคคี ความเรียบง่ายและวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่ผูกพันอยู่กับสายน้ำ ซึ่งเป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวจวบจนถึงปัจจุบัน

ร.๙ ในใจชน ตอน เรื่องเล่าชาวบางลำพู (ตอนที่ 1)

การได้เกิดและเติบโตในย่านบางลำพู ที่อยู่ใกล้พระบรมมหาราชวัง และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยังความปลาบปลื้มมาให้ผู้คนในชุมชนบางลำพู  ไม่ว่าจะเป็นการได้มีโอกาสถวายการต้อนรับเมื่อครั้งเสด็จนิวัติผ่านถนนจักรพงษ์  การรับเสด็จเมื่อครั้งพระองค์ทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร การสนับสนุนการแปลคัมภีร์อัลกุรอานให้เป็นภาษาไทย เพื่อเผยแพร่หลักคำสอนให้กับพี่น้องชาวไทยมุสลิม แม้กระทั่งการได้ถวายเสื้อเชิ้ตแด่พระองค์และทราบว่าพระองค์ทรงใช้สวมใส่อย่างคุ้มค่า รวมถึงการนำแนวพระราชดำริโครงการจักรยานเผินน้ำมาผสานกับโครงการกังหันชัยพัฒนา  เพื่อคืนความใสสะอาดให้กับคูคลองย่านบางลำพู  เหล่านี้คือความประทับใจและจิตวิญญาณของลูกหลานชาวบางลำพู  ที่จะดูแลชุมชนของตนเองให้เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่า และอยู่ในความทรงจำตลอดไป

ร.๙ ในใจชน ตอน ชุมชนนางเลิ้ง

ชุมชนนางเลิ้ง เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่พสกนิกรจากรุ่นสู่รุ่นต่างซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวง รัชกาลที่ 9 ด้วยทรงเสด็จมายกช่อฟ้าให้กับวัดแคหรือวัดสุนทรธรรมทาน ซึ่งเป็นเพียงวัดราษฎร์หรือวัดของชาวบ้านธรรมดาๆ  ทว่าเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ก็ทรงให้ความสำคัญเสด็จมาชุมชนนางเลิ้งแห่งนี้ เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต ชุมชนนางเลิ้งต่างโศกเศร้าและเสียใจใหญ่หลวงนักเฉกเช่นคนไทยทั่วประเทศ จึงได้จัดการแสดง ละครชาตรี ชุด นางร้องไห้ การแสดงพื้นบ้านซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนนางเลิ้ง ถวายแด่พระองค์ท่านเป็นครั้งสุดท้าย ขับร้องเพื่อส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย โดยมีเนื้อหาพรรณนาในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักยิ่งของคนไทยทั้งผอง

ร.๙ ในใจชน ตอน ถวายจงรักด้วยอักษรา (ตอน 2)

บทประพันธ์ร้อยกรองโดยคุณชมัยภร แสงกระจ่าง ประพันธ์ขึ้นจากใจที่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในรัชกาลที่ 9...ในยามที่บ้านเมืองต้องเผชิญปัญหาความขัดแย้งในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ  แต่ด้วยพระบารมีและพระมหากรุณาธิคุณของพ่อแห่งแผ่นดิน  ได้เรียกขวัญและสร้างความสมัครสมานสามัคคีกลับมาสู่แผ่นดินไทยอีกครั้ง  ..ทว่ากาลเวลาที่ล่วงผ่าน มิอาจทานกฎแห่งธรรมชาติได้ สิ่งที่คนไทยทั้งแผ่นดินไม่อยากได้ยิน...13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ในหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จสู่สวรรคาลัยแล้ว ต่อแต่นี้คนไทยต้องรักกัน  ดูแลกันและกัน ดูแลแผ่นดินของพ่อให้ดีงามดั่งที่พ่อเคยทำมา

ร.๙ ในใจชน ตอน เรื่องเล่าของในหลวงกับชายถอดเสื้อ

แนวทางคิดในทำงานของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ว่า  “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” อาจเสมือนคำพูดที่สวยหรู แต่เมื่อคุณเสถียร วิริยะพรรณพงศา ผู้ทำหน้าที่สื่อมวลชน ได้ลงพื้นที่ทำข่าว และมีโอกาสได้พูดคุยกับคุณลุงดิลก ศิริวิลลภ ล่ามประจำพระองค์ในหลวง รัชกาลที่ 9 จึงได้รับรู้เหตุการณ์ที่ในหลวงทรงลงพื้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังซ้ำซาก ทำมาหากินลำบาก ในหลวงทรงเข้าถึงชาวบ้านทุกชนชั้น แม้กระทั่งคุณลุงที่ไม่ได้สวมเสื้อ และวิ่งหนีเมื่อเห็นในหลวง  พระองค์ก็มิทรงถือสา และพูดคุยถึงปัญหาต่างๆ อย่างเข้าใจ เพื่อนำมาพัฒนา เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพราชดำริ จ.นราธิวาส ในการบรรเทาทุกข์ให้ประชากรได้มีพื้นที่ทำกินไม่ลำบากอีกต่อไป

ร.๙ ในใจชน ตอน หนังสือของพ่อ (ตอนที่ 1)

จากหนังสือที่พ่อมอบให้ในวันคล้ายวันเกิด เมื่อตอนเรียนอยู่ประถมศึกษาปีทื่ 6  หนังสือปกแข็ง สีแดงเข้ม รวบรวมบทเพลงพระราชนิพนธ์ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจด้านการดนตรีให้ คุณโตมร ศุขปรีชาในวัยเด็ก พัฒนา เติบโต เป็นความประทับใจภายใน  เมื่อนึกถึงหนังสือเล่มนั้น พระปรีชาสามารถด้านการดนตรีของพระองค์ และบทเพลงสายฝน ที่ตนเคยเล่นอิเล็กโทนเมื่อยังเยาว์ ก็จะเกิดความรู้สึก “ยำเยง ยกย่อง ทว่าเต็มตื้น และสดชื่นอย่างยิ่ง”

จุลสารศิลป์สร้างสุขฉบับที่ 34 เดือนตุลาคม 2560

จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับเดือนตุลาคม 2560 เนื้อหาวาระพิเศษครบรอบ 1 ปีการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พบกับเรื่องเล่าประทับใจและบทสัมภาษณ์ของศิลปินที่มีต่อพระมหากรุณาธิคุณของในหลวง ร.9 ที่มีต่อปวงชนชาวไทย สอดแทรกด้วยเรื่องราวศิลป์สร้างสุข กับโครงการดี ๆ ทั้งมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ที่ จ.พัทลุง กิจกรรมปั่นไปปลูกไปที่วิถีชุมชนท่ามะพร้าว และเรื่องราวสื่อสร้างสรรค์อีกมากมายตลอดทั้งเล่ม

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.