Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "รู้เท่าทัน" พบ 59 ข้อมูล

รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 5 กลุ่มแชท แหล่งเพาะพันธุ์ข่าวปลอม

การแพร่ระบาดของข่าวปลอมบางครั้งมีความรวดเร็วและกระจายไปในวงกว้างมากกว่าข่าวจริงเสียอีก  โดยเฉพาะในกลุ่มการสื่อสารแบบปิด หรือ กลุ่มแชททางสื่อออนไลน์ อย่าง Line Group  ที่พอคนหนึ่งแชร์เข้ามา ทุกคนก็จะเชื่อว่าเป็นความจริงเป็นทุนเดิม  เพราะเป็นกลุ่มญาติ และเพื่อนกัน จึงเกิดการแชร์ต่อ  หรือบางครั้งหลงเชื่อทำให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพและทรัพย์สิน ดังนั้นเมื่อได้รับข่าวข้อมูลใด ๆ ควรเช็คดูข้อเท็จจริงจากแหล่งอ้างอิงก่อน และดูว่าแหล่งข่าวมีความน่าเชื่อถือหรือไม่

รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 4 ตามติดชีวิตนักข่าว การสื่อข่าวที่แท้จริงคืออะไร

การนำเสนอข่าวอย่างรอบด้าน ไม่ด่วนสรุป  มีการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข่าวต้นทาง ซึ่งบางครั้งได้จากการสัมภาษณ์ข้อเท็จจริง และค้นคว้าจากแหล่งข่าวอ้างอิงที่เชื่อได้  จะช่วยทำให้ข่าวที่เรานำเสนอมีความน่าเชื่อถือ และมีประโยชน์ให้กับสังคม

รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 3 แม้จะมาเป็นภาพ แต่ก็ยังเชื่อไม่ได้

ข่าวปลอม และข่าวลวง (Fake News)  ไม่ได้มาเพียงแค่เนื้อหาเท่านั้น เรื่องของรูปภาพก็เป็นอีกสิ่งที่ผู้ติดตามข่าวทางสื่อออนไลน์ต้องระวัง  เพราะด้วยเทคนิคการแต่งภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อีกทั้งแอพพลิเคชั่นในมือถือก็ทำให้ภาพที่เราเห็นตามโพสต์ต่าง ๆ มีการปลอมแปลงได้ 

รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 2 เรื่องจริงเกี่ยวกับข่าวปลอม และการรู้เท่าทัน

ในและวันที่เราเข้าสื่อออนไลน์เราต้องระมัดระวังในการเสพสื่อ  เพราะวันนี้มีการสร้างข่าวลวงหรือข่าวปลอม(Fake News) มาโพสต์มากมาย การหลงเชื่อข่าวปลอมเป็นภัยต่อสุขภาพและทรัพย์สินได้  ดังนั้นเวลาเราอ่านข่าวหรือข้อมูลใด ๆ ต้องมีการเช็คข่าวนั้นก่อนเสมอ ว่าข่าวนั้นแจ้งที่มาของแหล่งข่าวไหม  มีการแจ้งแหล่งอ้างอิงทางวิชาการไหม  และดีที่สุดควรมีการเช็คข้อมูลเทียบเคียงในข่าวเดียวกันจากเว็บไซต์อื่น ๆ ประกอบด้วย                            

รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 1 คลิกเบท วิธีการเรียกไลค์ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

คลิกเบท (Clickbait) คือ วิธีการเรียกไลค์จากผู้อ่าน หรือชวนให้ผู้อ่านบทความทางสื่อออนไลน์คลิกเข้าไปอ่าน ยิ่งคลิกอ่านเยอะ  ยิ่งกดไลค์มาก ก็จะนำรายได้มาสู่คนโพสต์ รูปแบบของการคลิกเบท จะมีทั้งรูปภาพ หรือข้อความพสดหัวเรื่อง มีลักษณะกระตุ้นความอยากและอารมร์ , การจัดอันดับ TOP TEN, การพูดเกินจริง เป็นต้น

รู้เท่าทันหรือยัง

พฤติกรรมการบริโภคข่าวสารในปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก เนื่องจากมีช่องทางสื่อสารมากมาย แม้ว่าจะทำให้ได้รับข่าวสารได้รวดเร็ว แต่อาจขาดการกลั่นกรองความถูกต้อง และส่งต่อกันไปอย่างกว้างขวาง และเป็นช่องทางให้กับผู้ไม่หวังดีสร้างข่าวปลอมมาปะปนให้คนหลงเชื่อ เรามาดูกันซิว่า ข่าวปลอมคืออะไร และมีลักษณะแบบไหน เพื่อที่เราจะได้รู้เท่าทันข่าวปลอม ก่อนตัดสินใจเชื่อข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกเผยแพร่ในโลกออนไลน์

รู้เท่าทันข่าว (News Literacy)

ในยุคของการสื่อสารแบบหลอมรวม ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคข่าวสารของผู้คนเปลี่ยนไป คนใช้สื่อออนไลน์หรือสื่อโซเชียลมีเดียในการสื่อสารกันมากขึ้น ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือ ไลน์  และเรามิได้เป็นเพียงผู้อ่านหรือรับชมสื่อเท่านั้น ในคน ๆ หนึ่งเป็นได้ทั้งผู้ผลิตและผู้รับสารในคร่าวเดียวกัน เราเน้นการแชร์ การส่งต่อ และการกระจายข่าวออกแบบรวดเร็ว ขาดการตรวจสอบ จึงทำให้เกิดปัญหาข่าวลวง ข่าวปลอมเกิดขึ้นมากมาย ด้วยรูปแบบการสื่อสารในสังคมยุคนี้ เราทุกคนจึงกลายเป็น “พลเมืองดิจิทัล” ที่ต้องเรียนรู้และมีทักษะในการรู้เท่าทันข่าว หรือ News Literacy  คือ มีความรอบรู้ คิดวิเคราะห์ และเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์    

สังคมอริยะชน Part 1 โดย พระอาจารย์สมทบ ปรักกโม

สนทนาธรรมกับ พระอาจารย์ สมทบ ปรกฺกโม ช่วงที่หนึ่ง เรื่องหนทางสู่การเป็น “อริยะชน” หรือ ผู้ที่เข้าถึงคุณธรรม รู้เท่าทันตนเอง มีสติและฉลาดในการจัดการ โดยการนำหลักอริยะวิถีมาประยุกต์ใช้และฝึกฝนในชีวิตประจำวัน เพื่อพัฒนาศักยภาพในตัวเราให้มีคุณสมบัติของอริยะชน คือ รู้เท่าทันตนเอง มีความเพียรและใฝ่รู้ รู้จักการเสียสละไม่ยึดถือ มีสติปัญญาในการจัดการที่ดีและมีความเชื่อมั่นในการพัฒนาตนเองในการทำสิ่งที่ดีงามได้ รวมถึงประพฤติตนให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและสามารถนำพาชีวิตของตนเองไปสู่จุดหมายได้อย่างมีความสุขจากภายในที่แท้จริง

แนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา (Short Version บทบรรยายไทย)

คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Short Version / มีบทบรรยายไทย) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’

รู้ทันโฆษณาอาหารเสริม

เช็ค..ก่อนเชื่อ โฆษณาอาหารเสริม ความจริงที่ต้องรู้และใช้วิจารณญาณในการเลือกบริโภค อีกทั้งในเรื่องการใช้เครื่องหมาย อย. มาเสริมโฆษณาให้ดูน่าเชื่อถือเกินจริงเพราะเครื่องหมาย อย. มีหน้าที่รับรองเฉพาะส่วนผสม สถานที่ผลิต และระบบการผลิตแต่ไม่ได้รับรองสรรพคุณ อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เพราะอาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค

เอ๊ะก่อนอ๋อ รู้ให้ทันสื่อ

เรียนรู้หลัก '7 เอ๊ะ' ก่อน 'อ๋อ' เพื่อเรียนรู้การรู้เท่าทันสื่อ เพราะในชีวิตประจำวันของเราตลอด 24 ชั่วโมง แวดล้อมไปด้วยสื่อดิจิทัล การสื่อสารออนไลน์ทั้งชม แชท แชร์ ดังนั้นเราควรมีทักษะการคิด วิเคราะห์ แยกแยะสื่อที่ได้ชม ได้ฟังก่อนที่จะแชร์ ว่าสื่อหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่เราได้เห็น ได้ชมนั้นเป็นจริงหรือมีประโยชน์ต่อส่วนร่วมหรือไม่? เพื่อป้องกันไม่ให้เราและคนอื่น ๆ ในสังคมต้องตกเป็นเหยื่อในโลกออนไลน์

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.