trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "รู้ทัน" พบ 149 ข้อมูล

พลเมืองเท่าทันสื่อ ต้องมี MIDL

เมื่อพูดถึงสื่อ ยุคนี้ไม่จำกัดแค่สื่อเดิมอย่าง วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ แต่ยังมีสื่อออนไลน์ ที่นับวันจะมีรูปแบบแปลกใหม่เกิดขึ้นอย่างมากมายและรวดเร็ว จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นยุคของสื่อหลอมรวม คุณพ่อคุณแม่จำต้องเรียนรู้เรื่องนี้ให้ทัน เพื่อช่วยเป็นหูเป็นตา สอดส่อง รวมถึงช่วยให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้สื่อในยุคดิจิทัลนี้ได้อย่างเท่าทันอีกด้วย

คู่มือบริโภคศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

คู่มือบริโภคศึกษา ฉบับมัธยมศึกษาตอนต้น  เล่มนี้ถูกออกแบบมาสำหรับผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้งานง่ายแม้เป็นผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะมีคำอธิบายขั้นตอนการสอนอย่างชัดเจน มีใบงานพร้อมใช้งาน อีกทั้งมีข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับผู้สนใจได้ทำการสอน รวมทั้งมีแบบฝึกหัดเพื่อให้ผู้สอนได้ใช้ประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละกิจกรรม  การจัดทำคู่มือชุดนี้ได้มีการพัฒนาและตรวจสอบการใช้ในบริบทของการเรียนการสอนจริงมา 3 ขั้นตอน เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหาและการนำไปใช้งานจริง

ชีวิตติดสื่อ

คลิปวิดีโอสรุปสถานการณ์ชีวิตติดสื่อของเด็กและเยาวชนไทย โลกดิจิทัลทำให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงสื่อ Social Media มากกว่าการอ่าน และการเรียนหนังสือในห้องเรียนไปเสียแล้ว ชีวิตติดสื่อจึงเป็นวิกฤติที่น่าเป็นห่วง เพราะใน Social Media เหล่านั้นมีการเผยแพร่กันทั้งเว็บอนาจาร ข่าวไม่จริง เนื้อหาที่สร้างค่านิยมผิดๆ เมื่อเด็กและเยาวชนเสพมากเกินไป จะส่งผลกระทบให้เกิดการลอกเลียนแบบ หากไม่มีการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ อยากรู้เท่าทันสื่อ

เอ๊ะก่อนอ๋อ รู้ให้ทันสื่อ

เรียนรู้หลัก '7 เอ๊ะ' ก่อน 'อ๋อ' เพื่อเรียนรู้การรู้เท่าทันสื่อ เพราะในชีวิตประจำวันของเราตลอด 24 ชั่วโมง แวดล้อมไปด้วยสื่อดิจิทัล การสื่อสารออนไลน์ทั้งชม แชท แชร์ ดังนั้นเราควรมีทักษะการคิด วิเคราะห์ แยกแยะสื่อที่ได้ชม ได้ฟังก่อนที่จะแชร์ ว่าสื่อหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่เราได้เห็น ได้ชมนั้นเป็นจริงหรือมีประโยชน์ต่อส่วนร่วมหรือไม่? เพื่อป้องกันไม่ให้เราและคนอื่น ๆ ในสังคมต้องตกเป็นเหยื่อในโลกออนไลน์

ขอตามเม้นท์ ทุกชาติ ทุกชาติไป

หนังสือ 'ขอตามเม้นท์ ทุกชาติ ทุกชาติไป' เป็นการระดมพลังนักเขียนการ์ตูนเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว เกี่ยวกับการบริโภคสื่อของเด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่ล้วนแต่มีอิทธิพลต่อความคิด พฤติกรรมของสมาชิกในครอบครัว โดยไม่รู้ตัว เช่น การ์ตูนเรื่อง “ไร้พรมแดน” ที่สะท้อนให้เห็นว่าเมื่อสมาชิกทุกคนติดหน้าจอ สนใจแต่สื่อสารทางออนไลน์จึงไม่สนใจคนที่อยู่เคียงข้างในขณะนั้น หรือ การ์ตูนเรื่อง “อยากเป็นหมอ” เด็กใฝ่ฝันที่อยากเป็นหมอ  แต่วันๆ เอาแต่กินยาบำรุงสมอง และเล่นเกม  แล้วจะสอบติดหมอได้อย่างไร?

การ์ตูนไทยสร้างสุข เรื่อง ลูกผู้ชายตัวปลอม

การ์ตูนไทยสะท้อนภาพเรื่องราวของการรู้ไม่ทันสื่อโฆษณา ผ่านเรื่องราวของน้าหลานคู่หนึ่ง ที่น้าชายเป็นพรีเซ็นเตอร์หนังโฆษณาเครื่องดื่มชูกำลัง สร้างความประทับใจให้กับเคโต้หลานชาย ถึงกับกระโดดเลียนแบบเพราะอย่างเป็นลูกผู้ชายตัวจริงแบบน้าชาย แต่สุดท้ายเคโต้ก็พบคำตอบว่า การดื่มเครื่องดื่มชูกำลังไม่ใช่ทำให้เราเก่งกาจ หาญกล้าอย่างในหนังโฆษณา เพราะนั้นเป็นเพียงเรื่องสมมติเท่านั้น

การ์ตูนไทยสร้างสุข เรื่อง ทางสว่างในความมืด

การ์ตูนไทยสร้างสรรค์สุขภาวะ สะท้อนภาพการไม่เท่าทันสื่อของคนในยุคปัจจุบัน ผ่านเรื่องราวของ แก้ว และ พี่วี คู่รักที่มีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งแบบชิงสุกก่อนห่าม ต่อมาเมื่อแก้วตั้งครรภ์ทางพี่วีจึงหลงเชื่อคำโฆษณา ซื้อยาทำแท้งมาให้แก้วกิน แก้วกินเข้าไปก็รู้สึกเจ็บปวดและทรมานมาก จนสลบไป พอตื่นมาก็พบว่าตนเองหลงไปอยู่ในเขตแดนที่น่ากลัว มืดมิด มีแต่ผีสางที่หลอกหลอน  คล้ายนี่คือบาปกรรมที่แก้วคิดจะทำแท้งลูกของตัวเอง

เท่าทันสื่อ อำนาจในมือพลเมืองดิจิทัล

หนังสือเรื่อง “เท่าทันสื่อ อำนาจในมือพลเมืองดิจิทัล” เป็นการเรียบเรียงมุมมอง แนวคิดและข้อเสนอของกลุ่มคนที่เห็นว่า ยุคเทคโนโลยีดิจิทัลเปิดช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายให้กับประชาชน ซึ่งการรู้เท่าทันสื่อฯ เป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างพลังจาก “ผู้ใช้เน็ต” สู่การเป็น “พลเมือง” ที่มีอำนาจในการสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลง

Hate Speech กับการสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล (MIDL)

"การใช้ hate speech อาจเกิดขึ้นโดยผู้ใช้อาจจะทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว เกิดขึ้นได้ท้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งอาจะเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งได้"   เปิดมุมมอง Hate Speech กับการสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล จาก ‘ครูโจ๊ก’ ณัฏฐเมธร์ ดุลคนิต Natthameth Dulkanit โรงเรียนราชวินิต มัธยม ครูในเครือข่าย MIDL School  

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.