สูงวัยกับธรรมชาติและการรู้ทันสื่อ ICEM E-Bulletin: Vol.3
กรุณากดลิงค์เพื่อเข้าชมสื่อ E-Bulletin https://www.iceml.org/e-bulletin/Vol-03/ ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง กับเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารที่มากมายในโลกสื่อสารและโลกออนไลน์ สิ่งเหล่านี้ผู้สูงวัยต้องเตรียมพร้อมในการรับข้อมูล และเท่าทันสื่อในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะเกี่ยวกับ “ภัยพิบัติ” ที่มักมาพร้อมกับข่าวลวง หรือ Fake News เป็นจำนวนมาก เนื้อหาภายในเล่มจึงนำเสนอความรู้การสร้างสมดุลการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ตามหลักแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง – มีภูมิคุ้มกัน รู้เหตุรู้ผล และความพอประมาณ” พร้อมกับบทความเด่น ผู้สูงวัยกับการรู้เท่าทันสื่อ “ความเชื่อ ความจริง เรื่องดิน น้ำ ลมไฟ” และ “การรับมือภัยพิบัติอย่างปลอดภัยจากบทเรียนประเทศญี่ปุ่น” และพลาดไม่ได้กับบทความ “เกษียณสดใส ท่องเที่ยวไปอย่างเท่าทัน” เพื่อสร้างประสบการณ์การเที่ยวอย่างปลอดภัย ปลอดโควิด 19
หลักสูตรวัยเพชร รู้ทันสื่อ
วัยเพชร คือ วัยที่เปรียบได้ดั่ง ”เพชร”ที่ผ่านการเจียระไนด้วยประสบการณ์ แต่ด้วยความถดถอยทางร่างกายจึงทำให้วัยเพชร หรือผู้สูงอายุมีความรอบในการพิจารณาข้อมูลข่าวสารในโลกปัจจุบันน้อยลง "หลักสูตรวัยเพชรรู้เท่าทันสื่อ" เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติในโครงการสูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยงที่มีเนื้อหาสาระเรื่องการรู้เท่าทันสื่อและวิธีการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านกิจกรรม เนื้อหาและวิธีการสอนในแต่ละบทมีลักษณะสั้นกระชับเข้าใจง่าย เพื่อให้ง่ายต่อการเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อและภูมิคุ้มกันในการบริโภคสื่อให้กับผู้สูงอายุให้ปลอดภัยจากการเสพข้อมูลข่าวสารในแต่ละวัน
การดูแลผู้สูงวัยช่วงโควิด
อินโฟกราฟิก เคล็ด(ไม่)ลับสำหรับการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยช่วงโควิด19 กับหลายแนวทางง่ายๆ อยู่บ้านอย่างไรให้มีคุณภาพ เช่น ชวนกันออกกำลังกายเบาๆ ภายในบริเวณบ้าน เดินแกว่งแขน ปลูกต้นไม้ เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองและร่างกาย เลือกทานอาหารที่ปรุงสุก เน้นอาหารจำพวกโปรตีนและผักผลไม้หลากสีเพื่อสร้างภูมิคุ้นกัน ที่สำคัญคือ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่กังวลไปกับข่าวสารมากจนเกินไปและการ์ดอย่าตก ควรสวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่างจากคนที่มาเยี่ยมทุกครั้งและควรหมั่นล้างมือ
เทคนิครับมือข่าวร้ายและข่าวลวง
วิธีรับมือข่าวลวง (Fake News) และข่าวร้าย (Bad News) ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่เราถูกห้อมล้อมด้วยข่าวมากมาย สื่อภาพอินโฟกราฟิกนี้ รวบรวมเทคนิคการตรวจสอบข่าวและข้อมูลให้ชัวร์ก่อนแชร์ และเทคนิคการรับมือข่าวร้ายๆ ด้วยสุขภาวะทางปัญญา ทำให้ใจไม่เป็นทุกข์และร้อนรนไปกับข่าวสารที่ได้รับ
สารคดีชุด สูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน ทำไมสูงวัยต้องรู้ทันสื่อ
ในยุคของการสื่อสารดิจิทัล เครื่องมือการสื่อสารอย่างสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตกลายเป็นของคู่กายของผู้สูงวัย ในยามที่ลูกหลานไม่อยู่ไปทำงานหรือเรียนหนังสือ ผู้สูงวัยจะเข้าถึงสื่อออนไลน์มากขึ้น ซึ่งก็มีทั้งข้อดี คือ เป็นช่องทางการสื่อสารที่ได้พบเพื่อนเก่า เพื่อนใหม่ให้คลายเหงา มีข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ให้รับรู้และเข้าร่วม แต่ก็แฝงไว้ด้วยข้อเสีย เพราะเป็นความเสี่ยงที่มิจฉาชีพจะใช้เป็นช่องทางในการหลอกลวงผู้สูงวัยได้ ดังนั้นจำเป็นที่ผู้สูงวัยต้องเรียนรู้ และเท่าทันสื่อยุคใหม่
สารคดีชุด สูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน ผู้สูงวัยกับสื่อสมัยใหม่
เมื่อกระแสการผลิตและการรับชมสื่อในยุคปัจจุบันเปลี่ยนไป จากสื่อดั้งเดิมในกระแสหลักอย่างวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ได้เกิดการหลอมรวมเป็นสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงผู้รับชมได้ทุกที่ ทุกเวลา ผู้สูงอายุจำเป็นต้องเรียนรู้และปรับตัว เพื่อนำเทคโนโลยีในการสื่อสารยุคดิจิทัลมาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายทางภูมิปัญญา ศิลปะวัฒนธรรม เพื่อสร้างศักยภาพให้กับตนเอง
สารคดีสูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน วิธีการป้องกันผู้สูงวัยการโดนหลอกลวงจากสื่อ
ผู้สูงวัย เป็นช่วงวัยที่มีเวลาว่างเยอะ สมาร์ทโฟนหรือโซเชียลมีเดียต่าง ๆ จึงเป็นสื่อรูปแบบใหม่ที่ผู้สูงวัยใช้คลายเหงาเป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นสาเหตุของความเสี่ยงที่คนแปลกหน้าจะมาพูดคุย และหลอกลวงได้ ลูกหลานจึงต้องหาเวลาพูดคุยกับผู้สูงวัยเป็นประจำ เพื่อป้องกันภัยการหลอกลวงจากสื่อ ที่สำคัญเพื่อดูแลปู่ย่าตายายไม่ให้ใช้สื่อมากเกินไปจนส่งผลให้เสียสายตาและสุขภาพได้
สารคดีชุด สูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน คาถาสูงวัยรู้ทันสื่อ
ผู้สูงอายุ ที่ใช้ชีวิตหลังเกษียณอยู่บ้าน บางครั้งก็จะถูกสื่อต่างโฆษณาเชิญชวนให้มีความอยากซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ เกินความจำเป็น ผู้สูงอายุจึงต้องมีคาถาในการรู้เท่าทันสื่อทั้งหลาย ว่า จำเป็นไหม...ไปหาข้อมูลก่อน...เดือดร้อนใครหรือไม่ ท่องไว้ให้ดีก่อนที่จะจ่ายเงินในการซื้อสินค้าและบริการตามคำโฆษณา
พลเมืองเท่าทันสื่อ ต้องมี MIDL
เมื่อพูดถึงสื่อ ยุคนี้ไม่จำกัดแค่สื่อเดิมอย่าง วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ แต่ยังมีสื่อออนไลน์ ที่นับวันจะมีรูปแบบแปลกใหม่เกิดขึ้นอย่างมากมายและรวดเร็ว จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นยุคของสื่อหลอมรวม คุณพ่อคุณแม่จำต้องเรียนรู้เรื่องนี้ให้ทัน เพื่อช่วยเป็นหูเป็นตา สอดส่อง รวมถึงช่วยให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้สื่อในยุคดิจิทัลนี้ได้อย่างเท่าทันอีกด้วย
คู่มือบริโภคศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
คู่มือบริโภคศึกษา ฉบับมัธยมศึกษาตอนต้น เล่มนี้ถูกออกแบบมาสำหรับผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้งานง่ายแม้เป็นผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะมีคำอธิบายขั้นตอนการสอนอย่างชัดเจน มีใบงานพร้อมใช้งาน อีกทั้งมีข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับผู้สนใจได้ทำการสอน รวมทั้งมีแบบฝึกหัดเพื่อให้ผู้สอนได้ใช้ประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละกิจกรรม การจัดทำคู่มือชุดนี้ได้มีการพัฒนาและตรวจสอบการใช้ในบริบทของการเรียนการสอนจริงมา 3 ขั้นตอน เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหาและการนำไปใช้งานจริง
ชีวิตติดสื่อ
คลิปวิดีโอสรุปสถานการณ์ชีวิตติดสื่อของเด็กและเยาวชนไทย โลกดิจิทัลทำให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงสื่อ Social Media มากกว่าการอ่าน และการเรียนหนังสือในห้องเรียนไปเสียแล้ว ชีวิตติดสื่อจึงเป็นวิกฤติที่น่าเป็นห่วง เพราะใน Social Media เหล่านั้นมีการเผยแพร่กันทั้งเว็บอนาจาร ข่าวไม่จริง เนื้อหาที่สร้างค่านิยมผิดๆ เมื่อเด็กและเยาวชนเสพมากเกินไป จะส่งผลกระทบให้เกิดการลอกเลียนแบบ หากไม่มีการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ อยากรู้เท่าทันสื่อ
เอ๊ะก่อนอ๋อ รู้ให้ทันสื่อ
เรียนรู้หลัก '7 เอ๊ะ' ก่อน 'อ๋อ' เพื่อเรียนรู้การรู้เท่าทันสื่อ เพราะในชีวิตประจำวันของเราตลอด 24 ชั่วโมง แวดล้อมไปด้วยสื่อดิจิทัล การสื่อสารออนไลน์ทั้งชม แชท แชร์ ดังนั้นเราควรมีทักษะการคิด วิเคราะห์ แยกแยะสื่อที่ได้ชม ได้ฟังก่อนที่จะแชร์ ว่าสื่อหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่เราได้เห็น ได้ชมนั้นเป็นจริงหรือมีประโยชน์ต่อส่วนร่วมหรือไม่? เพื่อป้องกันไม่ให้เราและคนอื่น ๆ ในสังคมต้องตกเป็นเหยื่อในโลกออนไลน์