trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "รุนแรง" พบ 24 ข้อมูล

อย่าใช้คำทำร้ายคนในครอบครัว

กว่า 70 % ของปัญหาครอบครัว เกิดขึ้นจากการสื่อสารด้วยคำพูดที่ไม่ดีต่อกัน ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องทำให้เกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและการหย่าร้าง ดังนั้น ทุกครอบครอบครัวควรให้ความสำคัญกับการใช้ “คำพูด” และการสื่อสารที่ดีต่อกัน คือ คิดก่อนพูด ฟังให้มากกว่าพูด พูดจาไพเราะ ให้กำลังใจ ชื่นชม รู้จักกล่าวคำขอบคุณ ขอโทษ และควรสื่อสารด้วยการคิดบวก หรือพูดเรื่องตลกขบขันบ้าง เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในครอบครัว

ครอบครัวเขา จะไปยุ่งทำไม

เพราะความรุนแรงไม่ใช่เรื่องภายในครอบครัว จากสถิติพบว่า ผู้หญิงถูกทำร้ายร่างกายกว่า 12,000 รายต่อปี เด็กถูกทารุณกรรมกว่า 19,000 รายต่อปี  ถูกข่มขืนกว่า 6,000 รายต่อปี และมีการค้ามนุษย์กว่า 110 รายต่อปี ดังนั้น หากวันนี้ถ้าเราพบเหตุการณ์ที่ไม่ชอบมาพากล เราสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ โดยการแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ประชาบดี โทร 1300 หรือมูลนิธิปวีณา โทร 1134   

สื่อกับการผลิตซ้ำความรุนแรงและอคติทางเพศ - ศึกษาละครซิทคอมในฟรีทีวี

สื่อละครโทรทัศน์ อาจเรียกได้ว่าเป็นโรงงานผลิตซ้ำอคติและภาพตัวแทนทางเพศ โดยการนำเสนอภาพตัวละครเอก ทั้งพระเอก นางเอก นางร้าย และตัวละครข้ามเพศซ้ำ ๆ โดยเฉพาะค่านิยมทางเพศในหลายมิติเช่น ชายเป็นใหญ่ วัฒนธรรมบริโภคฯลฯ ในขณะที่การเกิดขึ้นของละครอีกกลุ่มคือ ซิทคอม เป็นทางเลือกในการนำเสนอภาพตัวแทนของผู้หญิงยุคใหม่และบุคคลข้ามเพศ มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ทำการศึกษา ละครซิทคอมไทยกับค่านิยมด้านอดคติและค่านิยมทางเพศ โดยการศึกษาชิ้นนี้ได้ศึกษาละครซิทคอมไทยในช่วงเดือนกันยายน 2555 เทียบกับการศึกษาในปี 2550 เพื่อให้มองเห็นภาพการผลิตซ้ำความรุนแรงและอคติทางเพศในซิทคอมฟรีทีวีไทย

อินโฟกราฟิก การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น ปี 2560

ผลสรุปรายงานการศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่นปี 2560 แบบเข้าใจง่ายๆ ด้วยรูปแบบอินโฟกราฟิก ชี้ว่าการรังแกกันบนโลกออนไลน์ ทั้งการจับกลุ่มนินทา การส่งรูปภาพไปก่อกวน การคุกคามทางเพศ การแอบอ้างสวมรอย การลบหรือบล็อคผู้อื่นอย่างไม่มีเหตุผล พบเยาวชนไทยอายุ 13-18 ปี  เกิน 2 ใน 3 เคยเป็นผู้กระทำและผู้ถูกเคย ซึ่งเกิดผลกระทบทำให้เครียด กังวล หวาดกลัว และอับอาย  โดยทางแก้ไขจำเป็นต้องอาศัยทั้งตัวเยาวชน ผู้ปกครอง พ่อแม่ ค่อยเป็นหูเป็นตา สอดส่องให้ใช้งานสื่อโซเซียลอย่างสร้างสรรค์

การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น

งานวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบ การรับรู้ ผลกระทบและวิธีการจัดการปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นไทยในสื่อโซเชียลมีเดีย สืบเนื่องจากสถานการณ์การรับสื่อของวัยรุ่นที่เปลี่ยนไป เมื่อก่อนพ่อแม่ และผู้ปกครองมักจะวิตกกังวลเรื่องสื่อโทรทัศน์ ว่าจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก  ทว่าสื่อที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและวัยรุ่น ซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดในเวลานี้ คือสื่อ Social Media เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่าในยุคสื่อดิจิทัล ไม่มีเด็กคนไหนเลยที่ไม่เคยเล่นอินเทอร์เน็ต ดูสื่อต่างๆ ผ่านช่องทางนี้ ผลการศึกษาพฤติกรรมเด็กและวัยรุ่นครั้งนี้ เป็นการทำงานร่วมกับกลุ่มเด็กวัยรุ่น อายุ 14 – 16 ปี ด้วยข้อมูลทางเอกสาร และการสนทนากลุ่ม  เก็บความคิดเห็นมาเป็นเข็มทิศนำทางแบบ 360 องศา  เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและควบคุมรูปแบบสื่อต่าง ๆ ทาง Social Media ต่อไป

ใจดีสู้สื่อ ประกาศศักดาหน้าสื่อ 15Feb13

ใจดีสู้สื่อ ตอน ประกาศศักดาหน้าสื่อ นำเสนอประเด็นความรุนแรงผ่านสื่อทั้งออฟไลน์และออนไลน์ เจาะลึกถึงเหตุผลทำไมถึงต้องปลดปล่อยความรุนแรง ทั้งภาพ ตัวอักษร เหตุการณ์ทำร้ายกันผ่านหน้าจอสื่อโซเชียล ด้วยความไม่รู้เท่าทันทั้งสื่อและอารมณ์ ทำให้เยาวชนส่วนหนึ่งกลายเป็นผู้ผลิตสื่อรุนแรง ลอกเลียนแบบ และส่งผลร้ายต่อเยาวชนด้วยกันเอง ทั้งหมดล้วนเกิดด้วยความรู้ไม่เท่าทัน  

ใจดีสู้สื่อ สื่อเกม เท่าทันได้ 3May13

ใจดีสู้สื่อ ตอน สื่อเกม เท่าทันได้ พาคนดูทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไปเปิดใจสู้สื่อเกม ที่วันนี้กำลังเข้ามายึดครองพื้นที่ชีวิตของเด็กและเยาวชนไทย เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องรู้เท่าทันถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเล่นเกมมากเกินไป ทั้งต่อสุขภาพกาย ใจ สังคม รวมถึงปัญหาความรุนแรงที่เกิดจากเกม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวคนเล่นเอง ครอบครัว รวมถึงสังคมในวงกว้างด้วย

ใจดีสู้สื่อ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ฝันอะไรในสื่อ 26Apr13

ใจดีสู้สื่อ ตอน เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ฝันอะไรในสื่อ นำเสนอการใช้ข้อความรุนแรงสร้างความเข้าใจ ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่มีต่อเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ผ่านการใช้สื่อ ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ละเมิดสิทธิ์ สร้างอคติแบบเหมารวม เราควรจะรู้เท่าทัน ทำความเข้าใจเรื่องนี้ใหม่ให้ถูกต้อง เพื่อให้ทุกเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข  

ระวังพฤติกรรรมไม่เหมาะสมจากสื่อร้ายในทีวี

รายการโทรทัศน์ที่ดีจะเป็นสื่อช่วยเด็ก ๆ เรียนรู้ แต่รายการโทรทัศน์ที่ไร้คุณภาพ อาจเป็นสื่อที่ทำให้เด็ก ๆ มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ทั้งก้าวร้าว พูดคำหยาบ แสดงความรุนแรง จำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจ คอยตรวจตรา เท่าทันสื่อที่เด็ก ๆ ของเรากำลังดู เพื่อไม่ให้เด็กซึมซับจนนำสู่พฤติกรรมร้าย ๆ ในที่สุด

stop motion "รู้เท่าทัน Game"

คลิปวิดีโอ Stop motion ตอน รู้เท่าทัน Game ฝีมือการผลิตโดยน้อง ๆ โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม เรื่องราวสะท้อนถึงปัญหาความรุนแรงของเกมที่เด็ก ๆ เล่น เมื่อรู้ไม่เท่าทันสื่อ ก็เกิดการเลียนแบบ ก่ออาชญากรรม จนสุดท้ายต้องเสียอนาคตเพราะขาดภูมิรู้เท่าทันสื่อ

การ์ตูนชุดสิทธิและการปกป้องคุ้มครองเด็ก ตอน สอนวินัยในเชิงบวก งดใช้ความรุนแรง

เมื่อเด็กกระทำความผิด การดุด่า เฆี่ยนตีด้วยความรุนแรงกับเด็ก ไม่ใช่ทางออกที่ดี เพราะเด็ก ๆ จะจดจำพฤติกรรมที่ก้าวร้าวนั้นไปใช้ ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองควรใช้วินัยเชิงบวก สอนเด็ก ๆ ด้วยความรักและเข้าใจ เปิดใจรับฟัง และชี้แนะสิ่งที่ถูกต้อง งดใช้ความรุนแรงคือทางเลือกที่ดีที่สุด

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.