รายการ เสือเล่าเช้านี้ โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
TV Scoop โดยมีเสือและกวาง เป็นนักรายงานข่าว ในรายการพูดถึงความรู้ในเรื่องของป่าตะวันตก ระบบนิเวศน์ คือน้ำ 1 แก้ว สามารถทำอะไรได้ยิ่งใหญ่กว่าที่คิด และภัยพิบัติที่เกิดจากการทำลายป่า รุกรานสัตว์ป่า รายการมีความสนุกสนาน แต่มีคำพูดและบางช่วงที่เป็นตลกเสียดสี สาเหตุที่ทำในเชิงสนุกสนาน เสียดสี เพราะว่า ข้อมูลของเรื่องนี้มันเยอะมากๆ จึงทำให้ต้องใช้ความสนุกเข้ามาเล่าเรื่อง เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของความรักป่า เสริมสร้างความรู้ให้กับคนเมืองว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว มัน สามารถเกิดผลกระทบต่อตัวพวกเขาได้ และให้ทุกคนมีความตระหนักต่อป่า สัตว์ป่า และธรรมชาติมากขึ้น
รายการครอบครัวข่าวเด็ก ตอน เกษตรอินทรีย์วิถีพลเมือง บ้านกระเดาอุ่มแสง
รายการครอบครัวข่าวเด็ก พาไปรู้จักผลงานของโรงเรียนบ้านกระเดาอุ่มแสง หนึ่งในภาคีเครือข่ายโครงการศรีสะเกษติดยิ้ม ทางโรงเรียนเน้นการใช้ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิตมาพัฒนานักเรียน มีศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง ให้เด็ก ๆ ได้รู้จักการพึ่งพาตนเอง มีรายได้ในระหว่างเรียนและพัฒนาไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคต เป็นพื้นฐานในการก้าวสู่การเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ
รายการครอบครัวข่าวเด็ก ตอน หนังสือเล่มเล็กสอนเด็กรักอ่าน โรงเรียน บ้านน้ำอ้อมน้อย
รายการครอบครัวข่าวเด็ก พาไปดูกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่โรงเรียนบ้านน้ำอ้อมน้อย จ.ศรีสะเกษ หนึ่งในภาคีเครือข่ายโครงการศรีสะเกษติดยิ้ม ทางโรงเรียนเห็นความสำคัญของการอ่าน ได้ริเริ่มโครงการการทำหนังสือเล่มเล็กเพื่อเป็นกลยุทธ์ให้เด็กรักการอ่าน ส่งผลให้เด็กมีทักษะการอ่านเขียนที่ดีขึ้น ที่สำคัญยังเป็นการเรียนรู้อย่างมีความสุข
รายการครอบครัวข่าวเด็ก ตอน สืบสานลายผ้า โรงเรียนบ้านโทะ จังหวัด ศรีสะเกษ
รายการครอบครัวข่าวเด็ก พาไปดูเด็ก ๆ ที่ชมรมฮักนะบ้านโทะ โรงเรียนบ้านโทะ จ.ศรีสะเกษ หนึ่งในโครงการศรีสะเกษติดยิ้ม ที่ภูมิใจกับการเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน ผ่านการสืบสานลายผ้าเอกลักษณ์ของบ้านพะโทะ มีทั้งการมัดย้อมผ้า ปักผ้า ทำให้เด็ก ๆ มีจินตนาการสร้างสรรค์ และยังสนุกกับการสืบต่อเอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนอีกด้วย
รายการครอบครัวข่าวเด็ก ตอน สำนักข่าวเด็ก ศรีสะเกษติดยิ้ม
รายการครอบครัวข่าวเด็ก สำนักข่าวเด็ก โครงการศรีสะเกษติดยิ้ม พาไปที่โรงเรียนอนุบาลบ้านห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ เด็ก ๆ ที่นี่เรียนรู้เรื่องการทำขนมพื้นบ้าน เป็นรายได้ระหว่างเรียน เกิดเงินออม เป็นทุนการศึกษาระหว่างเรียน เด็ก ๆ ยังเรียนรู้การออกกำลังกาย และการเรียนรู้วิชาชีพรวมถึงเกษตรพอเพียงอย่างหลากหลาย เป็นวิถีชีวิตสุขภาวะของนักเรียนทุกคนในโรงเรียน
รายงานสรุปการจัดเสวนาโต๊ะกลม ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย ทำอย่างไรให้รอดและรุ่ง
เอกสารสรุปประเด็นและข้อมูลสำคัญจากการจัดงานเสวนาโต๊ะกลม ระดมความคิดเห็นเรื่อง "ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย : ทำอย่างไรให้รอดและรุ่ง" โดยได้เชิญนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ผลิตรายการเด็กจากองค์กรต่าง ๆ มาร่วมระดมความคิดเห็นต่อสถานการณ์ปัญหาและทางออกของการผลิตรายการเด็กในประเทศไทย เนื้อหาในเอกสารมีการสรุปประเด็นความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมเสวนาแต่ละท่าน พร้อมสรุปประเด็นสำคัญ และสร้างสรรค์เป็นภาพอินโฟกราฟิก เพื่อเป็นข้อมูลในการนำไปต่อยอดและการขับเคลื่อนงานด้านสื่อสำหรับเด็กและเยาวชนต่อไป
รายงานการวิจัย เรื่อง บทบาทของผู้ปกครองในการกํากับดูแล การเปิดรับรายการในสื่อดิจิทัลของเด็กและเยาวชน
สิ่งที่มาพร้อมกับการสื่อสารที่รวดเร็วเปิดกว้างให้กับคนทุกเพศทุกวัย นำมาซึ่งความเสี่ยงในการสื่อสารด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ตาม นอกจากการกำกับดูแลของภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว การส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กมีบทบาทสำคัญในการหนุนเสริมให้เข้าใจและรู้เท่าทันสื่อ เพื่อช่วยคัดกรองการเปิดรับสื่อของเด็กเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง งานวิจัยชิ้นนี้ จึงได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับรายการจากสื่อดิจิทัลของเด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง รวมถึงความคิดเห็นและแนวทางการเสริมสร้างบทบาทของผู้ปกครองในการดูแลการเปิดรับรายการในสื่อดิจิทัลของเด็ก ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการหาแนวทางเสริมสร้างบทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อในเด็กและเยาวชนต่อไป
ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย ทำอย่างไรให้รอดและรุ่งเรือง
เด็ก คือทรัพยากรที่สำคัญของสังคม การดูแลบ่มเพาะทัศนคติ พฤติกรรมและค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสม จึงเป็นพันธกิจสำคัญของผู้ใหญ่ในสังคม ”ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย ทำอย่างไรให้รอดและรุ่งเรือง” รายงานสรุปการจัดเสวนาโต๊ะกลมซึ่งมีผู้เข้าร่วมการเสาวนาประกอบด้วย ตัวแทนหน่วยงานด้านนโยบายสื่อ สถานีโทรทัศน์ ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก นักวิชาการด้านสื่อและกลุ่มเยาวชน โดยมีประเด็นสำคัญ เรื่องความจำเป็นของการมีรายการโทรทัศน์และสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชน ปัญหาและอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นกับรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชน รวมถึงแนวทางการส่งเสริมรายการโทรทัศน์และสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพ และสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน
การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มทางฟรีทีวี ในช่วงเวลารายการเด็กและเยาวชน
ในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก มีโฆษณาสินค้าปรากฎอยู่ในหลายรูปแบบ ทั้งการโฆษณาจริงและโฆษณาแฝง หากแต่ยังไม่เคยมีการสนับสนุนแนวทางการจัดการกับสิ่งที่โฆษณาส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชน มีเดียมอนิเตอร์จึงศึกษาประเด็นดังกล่าว โดยได้สำรวจการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มทางฟรีทีวี ในช่วงวันและเวลารายการสำหรับเด็กและเยาวชน ระหว่างวันที่ 24 มี.ค. - 7 เม.ย.57 ทั้งนี้เพื่อนำผลที่ได้ไปสนับสนุนแนวทางการจัดการกับผลกระทบต่อเยาวชนและขับเคลื่อนมาตรการและนโยบายด้านการควบคุมการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มต่อไป
การศึกษาวิเคราะห์ผังและเนื้อหารายการ ช่องโทรทัศน์ดิจิตอลสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เดือนมิถุนายน 2557
หลังการประมูลทีวีดิจิทัล ประเทศไทยมีช่องโทรทัศน์สำหรับหมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวนทั้งสิ้น 3 ช่อง (ในขณะนั้น) คือ ช่อง 3 Family ช่อง MCOT Family และช่อง LOCA โดยทั้งนี้ กสทช.ประกาศว่าเนื้อหารายการของผู้ได้รับอนุญาตทั้ง 3 ช่อง จะต้องนำเสนอรายการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การศึกษา มีสาระประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชน และส่งเสริมสัมพันธ์อันดีของครอบครัว ไม่มีเนื้อหารุนแรง ผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย หรือใช้ภาษาหยาบคาย งานวิจัยครั้งนี้ มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ลงไปศึกษาถึงผังและเนื้อหารายการของทีวีทั้ง 3 ช่องในช่วงการเริ่มออกอากาศจริงในวันที่ 5-12 มิ.ย.57 ว่ามีการวางผังและรูปแบบเนื้อหาตรงกับตามเกณฑ์ของ กสทช. และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่