Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "รอ" พบ 522 ข้อมูล

9 วิธีดูแลลูกยุคไซเบอร์

9 วิธีการดูแลลูกในยุคไซเบอร์ ได้แก่ สร้างวินัยและความรับผิดชอบ, รู้จักแบ่งเวลา, ควบคุมการใช้จ่าย, ฟังและพูดดีต่อกัน, ชื่นชมให้กำลังใจ, มีกฎกติกาอยู่ร่วมกัน, สร้างรอยยิ้ม, มีความเข้าใจลูก และการมีเวลาดี ๆ ร่วมกันในครอบครัว

ลูกติดเกม เกมที่ครอบครัวต้องช่วยกันแก้

ผลสำรวจเด็กไทย “ติดเกม เล่นออนไลน์” ปี 2556 สูงถึง 2.7 ล้านคน จากเยาวชน 18 ล้านคน พบอาการเด็กติดเกม 4 ระดับ คือ แสวงหาการเล่น ชินชาการเล่น ขาดการเล่นไม่ได้ และเล่นจนเสียการทำหน้าที่หลัก ทว่าพ่อแม่สามารถแก้ไขได้ เพียงหาเวลาและกิจกรรมดี ๆ ทำร่วมกันกับลูก

รายการ อุ้ยตายว้ายกรี๊ด ตอน อุ๊บส์ จะเลือกอะไรอ่ะ

รายการอุ๊ยตายว้ายกรี๊ด ตอน อุ๊บส์...จะเลือกอะไรอ่ะ? น้อง ๆ พิธีกรสาวหน้าใส จะพาไปพูดคุยกับคนดี 10 ที่ค่ายสิรินธร จ.ปทุมธานี พร้อมกับโจทย์สำคัญ ถ้าให้เลือกได้จะเลือกดื่มอะไรระหว่าง 'น้ำเปล่า' และ 'น้ำอัดลม' พร้อมทั้งสรุปข้อดีข้อเสียของน้ำเปล่าและน้ำอัดลมไว้อย่างน่าสนใจ ไปติดตามน้อง ๆ กัน

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)

คลิปวิดีโอประมวลกิจกรรมของคุณครูและเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์) ภายใต้แนวคิด 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองตื่นรู้ เท่าทันสื่อ เท่าทันตนเอง เท่าทันสังคม

การสำรวจสัดส่วนเวลาการออกอากาศรายการวิทยุ สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว

ข้อมูลสถิติการสำรวจสัดส่วนเวลาการออกอากาศรายการวิทยุ สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว ระหว่างวันที่ 25 เมษายน - 31 พฤษภาคม 2550 ครอบคลุมการกระจายเสียง ทั้งในระบบเอฟเอ็ม จำนวน 40 สถานี ระบบเอเอ็ม จำนวน 36 สถานี จำแนกตารางผลสำรวจตามกลุ่มเป้าหมายและจำแนกตามรายสถานี (แสดงเวลาการออกอากาศรายการเป็นนาทีต่อสัปดาห์)

รายงานการวิจัยสถานภาพปัจจุบันของการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็กและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย

บทสรุปและอภิปรายผลจากงานวิจัยเรื่อง "สถานภาพปัจจุบันของการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็กและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย" ของ อ.มรรยา อัครจันทโชติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรูปแบบของไฟล์ข้อมูล นำเสนอข้อมูลสรุปของสัดส่วนการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็ก รูปแบบรายการวิทยุสำหรับเด็กและการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาสื่อวิทยุเพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพและสุขภาวะของเด็กไทยต่อไปในอนาคต

นิทานภาพ กระต่ายน้อยไม่ตื่นตูม

'กระต่ายไม่ตื่นตูม' เป็น 1 ในผลงานจากโครงการหนังสือนิทานภาพและการ์ตูนชุด 'ฉลาดรู้ทันสื่อดิจิทัล' เนื้อเรื่องสะท้อนให้เห็นบทบาทสำคัญของครอบครัวในการช่วยสนับสนุนและส่งเสริมทักษะรู้ทันสื่อให้กับเด็ก นำเสนอผ่านเรื่องราวของครอบครัวกระต่าย เมื่อคุณแม่กระต่ายเปิดนิทานออนไลน์ให้ลูกดู แล้วต้องเจอโฆษณาชวนเชื่อออนไลน์ ทำให้ลูกกระต่ายน้อยเกือบหลงเชื่อ แต่โชคดีที่คุณแม่และคุณพ่อกระต่ายสอนให้ลูกรู้เท่าทันสื่อ ลูกกระต่ายจึงไม่ตกเป็นเหยื่อของโฆษณา 

กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 6

สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลและบทบาทผู้ที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนกลไกการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กและเยาวชน โดยประกอบด้วยครอบครัว โรงเรียนและสถาบันการศึกษา และภาคส่วนต่าง ๆ การตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตัวเอง รวมถึงการบูรณาการทำงานร่วมกัน จะช่วยให้ระบบการเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัลในเยาวชนสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 5

สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลการพัฒนาพลเมืองให้รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล (MIDL) ให้ประชาชนแต่ละช่วงวัยที่มีความแตกต่างกัน โดยแบ่งพลเมืองเป็น 5 กลุ่มอายุ คือ 1-5 ปี 6-12 ปี 13-18 ปี 18-25 ปี และ 25 ปีขึ้นไป โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 3 ด้านสำคัญคือ คุณลักษณะ ความรู้ และทักษะ เพื่อเป็นแนวทางและกรอบแนวคิดสำหรับผู้ทำงานด้านความรู้เท่าทันสื่อได้นำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 4

สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอกรอบแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL) เน้นการพัฒนาใน 4 มิติคือ การรู้ตนเองและทักษะชีวิต การอยู่ร่วมกันในยุคสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล การอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย และการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยแบ่งการพัฒนาพลเมืองเป็น 3 แบบ คือ พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ พลเมืองที่มีส่วนร่วม พลเมืองมุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม 

กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 3

สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลเจาะลึกการสร้างพลเมืองประชาธิปไตย ที่เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL) โดยแบ่งพลเมืองออกเป็น 3 แบบ คือ พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ พลเมืองที่มีส่วนร่วม พลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม เรียนรู้รายละเอียดของพลเมืองแต่ละแบบผ่านแนวคิดหลัก แนวปฏิบัติ และตัวอย่างเชิงเปรียบเทียบที่ช่วยให้เข้าใจได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม

กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 2

อินโฟกราฟิกที่จะช่วยสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ว่าทำไมเราต้องรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล  รวมถึงความหมายและความสำคัญของคำว่า รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล หรือ MIDL 

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.