trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "รอ" พบ 522 ข้อมูล

การร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาโรงเรียนบ้านเค็ง จังหวัดศรีสะเกษ

พาไปเรียนรู้การร่วมมือของชุมชนจากกรณีตัวอย่างโรงเรียนบ้านเค็ง จ.ศรีสะเกษ เป็นโรงเรียนที่อยู่พื้นที่แห้งแล้ง ห่างไกลความเจริญ ทางโรงเรียนและชุมชนจึงได้ร่วมมือกันโดยนำเกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียงมาพัฒนาการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ในโรงเรียน การเชื่อมโยงความช่วยเหลือจากนักศึกษา ม.ราชภัฏศรีสะเกษ และชุมชน จนทำให้โรงเรียนทำได้สำเร็จและขยายต่อเป็นองค์ความรู้ไปยังหมู่บ้านข้างเคียงต่อไปด้วย

รายการครอบครัวข่าวเด็ก ตอน เกษตรอินทรีย์วิถีพลเมือง บ้านกระเดาอุ่มแสง

รายการครอบครัวข่าวเด็ก พาไปรู้จักผลงานของโรงเรียนบ้านกระเดาอุ่มแสง หนึ่งในภาคีเครือข่ายโครงการศรีสะเกษติดยิ้ม ทางโรงเรียนเน้นการใช้ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิตมาพัฒนานักเรียน มีศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง ให้เด็ก ๆ ได้รู้จักการพึ่งพาตนเอง มีรายได้ในระหว่างเรียนและพัฒนาไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคต เป็นพื้นฐานในการก้าวสู่การเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ

รายการครอบครัวข่าวเด็ก ตอน หนังสือเล่มเล็กสอนเด็กรักอ่าน โรงเรียน บ้านน้ำอ้อมน้อย

รายการครอบครัวข่าวเด็ก พาไปดูกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่โรงเรียนบ้านน้ำอ้อมน้อย จ.ศรีสะเกษ หนึ่งในภาคีเครือข่ายโครงการศรีสะเกษติดยิ้ม ทางโรงเรียนเห็นความสำคัญของการอ่าน ได้ริเริ่มโครงการการทำหนังสือเล่มเล็กเพื่อเป็นกลยุทธ์ให้เด็กรักการอ่าน ส่งผลให้เด็กมีทักษะการอ่านเขียนที่ดีขึ้น ที่สำคัญยังเป็นการเรียนรู้อย่างมีความสุข  

รายการครอบครัวข่าวเด็ก ตอน สืบสานลายผ้า โรงเรียนบ้านโทะ จังหวัด ศรีสะเกษ

รายการครอบครัวข่าวเด็ก พาไปดูเด็ก ๆ ที่ชมรมฮักนะบ้านโทะ โรงเรียนบ้านโทะ จ.ศรีสะเกษ หนึ่งในโครงการศรีสะเกษติดยิ้ม ที่ภูมิใจกับการเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน ผ่านการสืบสานลายผ้าเอกลักษณ์ของบ้านพะโทะ มีทั้งการมัดย้อมผ้า ปักผ้า ทำให้เด็ก ๆ มีจินตนาการสร้างสรรค์ และยังสนุกกับการสืบต่อเอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนอีกด้วย

รายการครอบครัวข่าวเด็ก ตอน สำนักข่าวเด็ก ศรีสะเกษติดยิ้ม

รายการครอบครัวข่าวเด็ก สำนักข่าวเด็ก โครงการศรีสะเกษติดยิ้ม พาไปที่โรงเรียนอนุบาลบ้านห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ เด็ก ๆ ที่นี่เรียนรู้เรื่องการทำขนมพื้นบ้าน เป็นรายได้ระหว่างเรียน เกิดเงินออม เป็นทุนการศึกษาระหว่างเรียน เด็ก ๆ ยังเรียนรู้การออกกำลังกาย และการเรียนรู้วิชาชีพรวมถึงเกษตรพอเพียงอย่างหลากหลาย เป็นวิถีชีวิตสุขภาวะของนักเรียนทุกคนในโรงเรียน

รายงานการวิจัย ถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนดีจังอีสานตุ้มโฮม อุดรธานี

รายงานวิจัยเชิงคุณภาพ โครงการเด็กอุดรรักษ์บ้าน เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและอุปสรรคปัญหา ที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนเครือข่าย ดีจังอีสานตุ้มโฮม ในพื้นที่เมืองอุดรธานี ภายใต้แนวคิด ๓ ดี วิถีพลเมือง ผ่านกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผลิตสื่อสร้างสรรค์และมหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ให้แก่เยาวชนและชุมชน เพื่อให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ รู้เท่าทันในการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม สร้างสรรค์สื่อให้มีประโยชน์และมีความรับผิดชอบร่วมกัน โดยใช้ภูมิปัญญาของทุกฝ่ายในชุมชน สร้างความตระหนักรักในศิลปวัฒนธรรมและคุณค่าในภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งยังส่งเสริมให้แกนนำเยาวชนนักสื่อสาร มีจิตอาสาเพื่อชุมชนอีสาน มีความรับผิดชอบและความเข้าใจในงานที่ทำ เพื่อพัฒนาเป็นนักสื่อสารมวลชนที่มีคุณภาพต่อไป

รายงานสรุปการจัดเสวนาโต๊ะกลม ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย ทำอย่างไรให้รอดและรุ่ง

เอกสารสรุปประเด็นและข้อมูลสำคัญจากการจัดงานเสวนาโต๊ะกลม ระดมความคิดเห็นเรื่อง "ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย : ทำอย่างไรให้รอดและรุ่ง" โดยได้เชิญนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ผลิตรายการเด็กจากองค์กรต่าง ๆ มาร่วมระดมความคิดเห็นต่อสถานการณ์ปัญหาและทางออกของการผลิตรายการเด็กในประเทศไทย เนื้อหาในเอกสารมีการสรุปประเด็นความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมเสวนาแต่ละท่าน พร้อมสรุปประเด็นสำคัญ และสร้างสรรค์เป็นภาพอินโฟกราฟิก เพื่อเป็นข้อมูลในการนำไปต่อยอดและการขับเคลื่อนงานด้านสื่อสำหรับเด็กและเยาวชนต่อไป

รายงานการวิจัย เรื่อง บทบาทของผู้ปกครองในการกํากับดูแล การเปิดรับรายการในสื่อดิจิทัลของเด็กและเยาวชน

สิ่งที่มาพร้อมกับการสื่อสารที่รวดเร็วเปิดกว้างให้กับคนทุกเพศทุกวัย นำมาซึ่งความเสี่ยงในการสื่อสารด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ตาม นอกจากการกำกับดูแลของภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว การส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กมีบทบาทสำคัญในการหนุนเสริมให้เข้าใจและรู้เท่าทันสื่อ เพื่อช่วยคัดกรองการเปิดรับสื่อของเด็กเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง งานวิจัยชิ้นนี้ จึงได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับรายการจากสื่อดิจิทัลของเด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง รวมถึงความคิดเห็นและแนวทางการเสริมสร้างบทบาทของผู้ปกครองในการดูแลการเปิดรับรายการในสื่อดิจิทัลของเด็ก ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการหาแนวทางเสริมสร้างบทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อในเด็กและเยาวชนต่อไป

ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย ทำอย่างไรให้รอดและรุ่งเรือง

เด็ก คือทรัพยากรที่สำคัญของสังคม การดูแลบ่มเพาะทัศนคติ พฤติกรรมและค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสม จึงเป็นพันธกิจสำคัญของผู้ใหญ่ในสังคม ”ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย ทำอย่างไรให้รอดและรุ่งเรือง” รายงานสรุปการจัดเสวนาโต๊ะกลมซึ่งมีผู้เข้าร่วมการเสาวนาประกอบด้วย ตัวแทนหน่วยงานด้านนโยบายสื่อ สถานีโทรทัศน์ ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก นักวิชาการด้านสื่อและกลุ่มเยาวชน โดยมีประเด็นสำคัญ เรื่องความจำเป็นของการมีรายการโทรทัศน์และสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชน ปัญหาและอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นกับรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชน รวมถึงแนวทางการส่งเสริมรายการโทรทัศน์และสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพ และสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.